วิกิพีเดีย:การเลือกตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ ธันวาคม 2556/เลือกผู้สมัคร/การแก้ไขนโยบายฯ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข้อเสนอแก้ไขนโยบาย[แก้]

หมายเหตุ นโยบายเก่าอยู่ที่ วิกิพีเดีย:การอนุญาโตตุลาการ/นโยบาย และนโยบายส่วนที่แก้ไขอยู่ที่หน้าผู้สมัครว่าด้วยการขอแก้ไขนโยบาย ขอให้ผู้ลงคะแนนศึกษานโยบายดังกล่าว และโปรดระบุด้วยว่าท่านเห็นด้วยหรือคัดค้านส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด ทั้งนี้อาจเสนอข้อแก้ไขได้หากจำเป็น

ทั้งฉบับ[แก้]

สนับสนุน[แก้]

  1. เห็นด้วย เป็นการปรับโครงสร้างปลีกย่อยทั่วไปที่เปิดโอกาสให้ คอต. ทำงานได้ดีขึ้น รวมถึงเปิดโอกาสในการเปิดรับโครงการพี่น้องเข้ามาร่วมกระบวนการ --Taweethaも (พูดคุย) 22:18, 2 ธันวาคม 2556 (ICT)
  2. เห็นด้วย --Sasakubo1717 (พูดคุย) 20:45, 19 ธันวาคม 2556 (ICT)

คัดค้าน[แก้]

เฉพาะส่วน[แก้]

สนับสนุน[แก้]

(โปรดระบุส่วนที่สนับสนุน)

  1. คะแนนเสียงของ octahedron80 --奥虎 ボンド 16:58, 3 ธันวาคม 2556 (ICT)
    1. เห็นด้วย การปรับแก้ข้อความปกิณกะ อ่านง่ายขึ้น สาระสำคัญก็ไม่ได้ต่างจากเดิมมาก
    2. เห็นด้วย การระบุว่าไกล่เกลี่ยในนามของตัวเองโดยไม่ผูกพันกับ คอต. เป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากข้อนี้จะเป็นเครื่องป้องกัน คอต. ไม่ให้ถูกถอดถอนหรือถูกฟ้องร้องทั้งคณะด้วยเหตุที่ คอต. คนใดคนหนึ่งเข้าไกล่เกลี่ยเสียก่อน แล้วมีความไม่ชอบธรรมเกิดขึ้น สิ่งนี้เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายด้วยในบางกรณี
  2. คะแนนเสียงของ G(x) --∫G′(∞)dx 19:51, 3 ธันวาคม 2556 (ICT)
    1. เห็นด้วย กับการแก้ไขเล็กน้อยในนโยบาย

คัดค้าน[แก้]

(โปรดระบุส่วนที่คัดค้าน)

  1. คะแนนเสียงของ Aristitleism --Aristitleism (พูดคุย) 15:44, 3 ธันวาคม 2556 (ICT)
    1. ไม่เห็นด้วย กับข้อเสนอที่ให้แก้ไขเพิ่มเติมนิยาม "ประชาคม" ให้หมายความรวมถึง ประชาคมในโครงการอื่นด้วย เพราะเป็นการนอกเหนืออำนาจ (ultra vires) โครงการวิกิมีเดียแต่ละโครงการอยู่ในระนาบเดียวกัน ข้อเสนอเช่นนั้นจะทำให้วิกิพีเดียภาษาไทยมีสถานะเหนือโครงการอื่น และสามารถออกข้อบังคับมาใช้แก่โครงการอื่น ซึ่งไม่สามารถทำได้ นอกจากนี้ กำหนดเผื่อไว้ ก็ยังไม่แน่ว่า สมาชิกโครงการอื่นจะรับด้วยหรือไม่ แต่เหนือสิ่งอื่นใด คือ ไม่มีอำนาจ ต้องทำเป็นนโยบายภายในของแต่ละโครงการไป
    2. ไม่เห็นด้วย กับข้อเสนอที่ให้สมาชิก คอต. ได้สิทธิผู้ดูแลระบบโดยอัตโนมัติ เพราะคุณสมบัติและความเหมาะสมในการเป็นสมาชิก คอต. และผู้ดูแลระบบต่างกัน วัตถุประสงค์ในการเลือกตั้งก็ต่างกัน ที่เลือกผู้ดูแลระบบเพราะต้องการผู้ดูแลระบบ ไม่ได้ต้องการผู้วินิจฉัยข้อพิพาท เป็นคนละเรื่องกัน ต้องพิจารณาแยกกัน
    3. ไม่เห็นด้วย กับข้อเสนอที่ให้สมาชิก คอต. ไกล่เกลี่ยได้ เพราะไม่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อระบุว่า ให้ทำในนามส่วนตัว และไม่ผูกพัน คอต. ด้วยแล้ว ก็ยิ่งไม่จำเป็นต้องมีข้อนี้ในนโยบายเลย ข้อเสนอนี้เหมือนกับให้ใครก็ได้ไกล่เกลี่ย นอกจากนี้ การสร้างความสัมพันธ์อันดี การประสานงาน ฯลฯ ก็เป็นเรื่องที่ควรทำกันอยู่แล้ว และสามารถทำได้ทุกคนอยู่แล้ว แม้ไม่กำหนดไว้ คอต. ก็ทำได้ ฉะนั้น ในเมื่อไม่เกี่ยวข้องกับ คอต. และ คอต. สามารถทำได้อยู่แล้ว ก็ไม่เห็นเหตุที่จะต้องกำหนดไว้
  2. คะแนนเสียงของ octahedron80 --奥虎 ボンド 16:58, 3 ธันวาคม 2556 (ICT)
    1. ไม่เห็นด้วย นิยามประชาคม เหตุผลเหมือนข้างบนโดย Aristitleism
    2. ไม่เห็นด้วย สิทธิผู้ดูแลระบบ เหตุผลเหมือนข้างบนโดย Aristitleism
    3. ไม่เห็นด้วย จำนวน คอต. ด้วยการนับวิธีแบบคุณ Taweetham เนื่องจากยุ่งยากและไม่มีความชัดเจน
  3. คะแนนเสียงของ G(x) --∫G′(∞)dx 19:35, 3 ธันวาคม 2556 (ICT)
    1. ไม่เห็นด้วย กับข้อเสนอเกี่ยวกับการแก้ไขคำว่า "ประชาคม" เนื่องจากตามลักษณะ activity ของโครงการที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย การระงับข้อพิพาทน่าจะสามารถกระทำได้ในระดับระหว่างกันเองอยู่แล้ว ต่างจากวิกิพีเดียที่มีผู้ใช้ active มากกว่าและมี conflict มากกว่า และเห็นพ้องกับความเห็นของ Aristitleism ข้างต้น
  4. คะแนนเสียงของ Timekeepertmk (พูดคุย) 19:43, 3 ธันวาคม 2556 (ICT)
    1. ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมคำว่า "นิยามประชาคม"

งดออกเสียง[แก้]

  1. คะแนนเสียงของ Aristitleism --Aristitleism (พูดคุย) 15:44, 3 ธันวาคม 2556 (ICT)
    1. งดออกเสียง เกี่ยวกับข้อเสนอของ Aristitleism ทั้งหมด
    2. งดออกเสียง เกี่ยวกับข้อเสนอเรื่องสมาชิก คอต. 1 คนต่อผู้ใช้ 100 คน เพราะไม่มีความเห็น และไม่เข้าใจ
  2. คะแนนเสียงของ G(x) --∫G′(∞)dx 19:49, 3 ธันวาคม 2556 (ICT)
    1. เป็นกลาง เข้าใจว่านโยบายที่ว่าอนุญาตให้สิทธิผู้ดูแลระบบในตัวจะตีความไปในทำนองว่า "เพื่อประโยชน์แห่งการปฏิบัติหน้าที่ตุลาการ ตุลาการอาจได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องมือผู้ดูแลระบบเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงเฉพาะที่เกี่ยวกับข้อพิพาทดังกล่าว" (เป็น case-by-case) เพื่อให้ผู้ดูแลสามารถใช้เครื่องมือผู้ดูแลในการตรวจสอบสิ่งที่ผู้ใช้ทั่วไปอาจตรวจสอบไม่ได้ (เช่น Revision Delete, หน้าที่ถูกลบ) แต่เนื่องจากในปัจจุบันผู้ดูแลสิทธิแต่งตั้งยังไม่มีอำนาจในการถอนสิทธิผู้ดูแลระบบด้วยตนเอง (ดูสิทธิกลุ่มผู้ใช้ และหน้าอ้างอิงผู้ดูแลสิทธิแต่งตั้ง) จึงอาจก่อให้เกิดความล่าช้าในการ desysop หลังจากเสร็จข้อพิพาทที่ต้องพิจารณาแล้ว
    2. เป็นกลาง เกี่ยวกับข้อเสนอจำนวน คอต. ต่อผู้ใช้ เนื่องจากยังไม่มีความเห็นเพิ่มเติม แม้ว่าจะเป็นการดีที่กำหนดจำนวน คอต. ให้ flexible กับ activity ของผู้ใช้ แต่ระยะเวลาเพียงเดือนเดียวอาจน้อยไป อาจเป็นเฉลี่ยสองหรือสามเดือน
    3. เป็นกลาง เกี่ยวกับ dispute resolution เนื่องจากเห็นพ้องกับความเห็นทั้ง Octahedron80 และ Aristitleism ข้างต้น

อภิปราย[แก้]

  1. ข้อเสนอของผม คือ ให้บุคคลที่ดำรงตำแหน่งตุลาการ ทำหน้าที่ "ไกล่เกลี่ยอย่างเป็นทางการ" ตามขั้นตอนใน วิกิพีเดีย:การระงับข้อพิพาท ได้
    • ไม่ได้หมายความว่า บุคคลนั้นมีอำนาจตุลาการในการทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย ฉะนั้นจึงไม่เป็นปัญหาที่จะต้องฟ้องร้องหรือถอดถอนออกจาก คอต.
    • การทำหน้าที่ดังกล่าวมีขั้นตอนปฏิบัติ จึงไม่ใช่หน้าที่ที่ใครจะมาทำก็ได้ (ซึ่งจะไปตรงกับ "ความเห็นที่สาม" หรือ "การไกล่เกลี่ยอย่างไม่เป็นทางการ") ผมเสนอให้ตุลาการมาทำหน้าที่นี้ เพราะเห็นว่าเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับ มิฉะนั้นจะหาบุคคลอื่นมาทำหน้าที่แทนก็ได้ แต่คงหาได้ยาก
    • เจตนารมณ์ คือ ให้การระงับข้อพิพาทไม่ข้ามขั้นตอน จะได้มีความพยายามระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอื่นก่อน แล้วค่อยพึ่งการวินิจฉัยของ คอต. อันเป็นที่พึ่งสุดท้าย --Horus | พูดคุย 02:52, 5 ธันวาคม 2556 (ICT)
  2.  ความเห็น --Aristitleism (พูดคุย) 11:18, 5 ธันวาคม 2556 (ICT)
    • การให้ตุลาการไกล่เกลี่ยได้ด้วยนั้น ผมขอให้พิจารณาให้รอบด้าน ต้องอย่าลืมว่า แม้ไม่ได้ไกล่เกลี่ยในฐานะตุลาการ แต่ถ้าภายหลังมีเรื่องสืบเนื่องกันขึ้นมาให้ คอต. พิจารณา ตุลาการผู้นั้นจะถูกคัดค้าน (judicial disqualification) ตามนโยบายได้ ซึ่งอาจทำให้ คอต. ขาดเสียงข้างมาก (unable to obtain a majority) หรือขาดองค์ประชุม (lack of quorum) และไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ในที่สุด (เพราะตามข้อเท็จจริง สมาชิก คอต. วิกิพีเดียไทยก็น้อยอยู่ด้วย)
    • เหตุที่ถูกคัดค้าน เพราะการขัดกันของผลประโยชน์ซึ่งอาจกระทบต่อความเที่ยงธรรมในการวินิจฉัยคดี การวินิจฉัยคดีต้องไม่สามารถคาดเดาผลของคดีได้ แต่ถ้าให้คนเดียวกันทำคดีเดียวกันอีก ก็ย่อมเดาธงได้ (ในทางวิชาการเรียกว่า มีส่วนได้เสียในประเด็นแห่งคดี ตรงข้ามกับส่วนได้เสียในคู่ความ เช่น เป็นพ่อแม่พี่น้องญาติสนิทมิตรสหายของคู่ความ หรือเจ้านาย เจ้าหนี้ ลูกหนี้ ผู้ปกครอง ฯลฯ ของคู่ความ)
    • โดยหลักการข้างต้น ในชีวิตจริง จึงมีบัญญัติไว้ในกฎหมายของหลาย ๆ ประเทศว่า ห้ามตุลาการปฏิบัติหน้าที่ ถ้าเคยมีบทบาทในคดีเดียวกันนั้นมาก่อน เช่น
      • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของญี่ปุ่น มาตรา 23 ว่า
        "In the following cases, a judge shall be disqualified from performing his/her duties...
        "(iv)   Where a judge has served as a witness or expert witness in the case.
        "(v)   Where a judge is or was a party's agent or assistant in court in the case.
        "(vi)   Where a judge has participated in making an arbitral award in the case or participated in making a judicial decision in the prior instance against which an appeal is entered."
      • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของเยอรมัน มาตรา 41 ว่า
        "A judge is disqualified by law from exercising judicial office...
        "4.   In all matters in which he was appointed as attorney of record or as a person providing assistance to a party, or in which he is or was authorised to make an appearance as a legal representative of a party;
        "5.   In all matters in which he is examined as a witness or expert;
        "6.   In all matters in which he assisted, at a prior level of jurisdiction or in arbitration proceedings, in entering the contested decision, unless this concerns activities of a judge correspondingly delegated or requested."
    • ข้อห้ามทำนองนี้ยังปรากฏในส่วนอื่นของกระบวนพิจารณาอีก เช่น ในการจ่ายคดีให้องค์คณะ ถ้าไม่มีองค์คณะชำนัญพิเศษหรือองค์คณะซึ่งรับผิดชอบท้องที่นั้น ๆ แล้ว จะต้องจ่ายคดีในลักษณะที่ไม่อาจคาดเดาได้ว่า ใครจะรับผิดชอบ ทั้งนี้ เพื่อรักษาความเป็นกลางของศาล
    • ในทางปฏิบัติ ถ้ามีการไกล่เกลี่ยหรือชำระข้อพิพาทนั้นในทางอื่นมาก่อนมีคดี และผู้ไกล่เกลี่ยหรือผู้ชำระเป็นผู้วินิจฉัยคดีด้วย เขาก็จะต้องถูกห้ามทำหน้าที่ตามที่กล่าวมาแล้ว หรือถ้าจะต้องไกล่เกลี่ยเมื่อมีคดีแล้ว บุคคลภายนอก (third party) ก็จะเป็นผู้ไกล่เกลี่ย (mediator) บุคคลภายนอกหมายความว่าจะเป็นผู้มีส่วนในประเด็นแห่งคดีนั้นไม่ได้ เช่น เป็นผู้วินิจฉัยคดีเองไม่ได้ และเป็นคู่ความเองก็ไม่ได้ (กรณีหลังนี้จะขัดกับหลัก nemo iudex in causa sua)
    • ฉะนั้น ข้อที่ผมขอให้คำนึง ก็คือ สมาชิก คอต. เป็นผู้ไกล่เกลี่ยได้ แต่ถ้าเป็นแล้ว ต่อมา มีคดีสืบเนื่องกันขึ้นสู่ คอต. สมาชิก คอต. ผู้นั้นสามารถถูกคัดค้าน และอาจส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ คอต. ได้
    • ขอบคุณสำหรับความเห็นครับ --Horus | พูดคุย 16:12, 6 ธันวาคม 2556 (ICT)
    • เข้ามาดูครับ ผมนึกว่าศาลรัฐธรรมนูญ ที่นี่มันดูน่ากลัวมาก --Supotmails (พูดคุย) 06:24, 16 ธันวาคม 2556 (ICT)