วัดโขลงสุวรรณคีรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดโขลงสุวรรณคีรี
แผนที่
ชื่อสามัญวัดโขลงสุวรรณคีรี
ที่ตั้ง120 หมู่ที่ 6 ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท
เจ้าอาวาสพระครูใบฎีกาสุพจน์ ธีรวํโส
กิจกรรมศาสนสถานในพระพุทธศาสนาที่มีกิจกรรมเชิงพุทธตลอดปี/
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดโขลงสุวรรณคีรี เป็นวัดในพระพุทธศาสนา สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่ที่ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ตั้งมาประมาณ 59 ปี เป็นวัดที่มีความสำคัญในฐานะเป็นศูนย์กลางของชาวพุทธในบริเวณตำบลคูบัว

ประวัติ[แก้]

วัดโขลงสุวรรณคีรี ตั้งเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 เมื่อ พ.ศ. 2498 หลวงพ่อธรรม สิริจนฺโท ได้ไปสร้างที่พักสงฆ์ มูลดินลักษณะคล้ายภูเขาขนาดย่อม (ปัจจุบันคือโบราณสถานสมัยทวาราวดี หมายเลข 18) สภาพเดิมมีต้นไม้ขึ้นปกคลุม รกทึบ มีพระพุทธรูปหินแดง 3 องค์ ประดิษฐานอยู่บนแท่นปูน มีเสาไม้แก่นเก่าๆ ไม่มีหลังคา ชาวบ้านเรียกสถานนี้ว่า “วัดโขลง” มาแต่เดิม พระพุทธรูป 3 องค์ นี้สัณฐานตามพุทธลักษณะแล้วอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น จึงสันนิษฐานว่า “วัดโขลง” น่าจะเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นด้วยเช่นกัน แต่ตอนที่หลวงพ่อธรรมไปสร้างที่พักสงฆ์นั้น มีพระพุทธรูปเหลือเพียงองค์เดียว ชาวบ้านเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อแดง” หลังจากหลวงพ่อธรรม สิริจนฺโท ได้สร้างที่พักสงฆ์ และจำพรรษาอยู่ที่วัดโขลงสุวรรณคีรีแล้วจึงได้มีพระสงฆ์มาจำพรรษาเพิ่มขึ้น

จนกระทั่ง พ.ศ. 2504 กรมศิลปากร ได้ค้นพบโบราณสถานบ้านคูบัว จึงได้ดำเนินการขุดแต่ง และบูรณะโบราณสถานบ้านคูบัวทั้งหมด หลวงพ่อธรรม พร้อมด้วยชาวบ้านจึงได้เคลื่อนย้ายสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งตั้งอยู่บนมูลดินซาก โบราณสถานลงมาปลูกบนพื้นราบรอบๆ โบราณสถาน พร้อมได้เคลื่อนย้าย “หลวงพ่อแดง” ลงมาประดิษฐานไว้ในวิหาร วัดได้เจริญขึ้นตามลำดับมีสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้น หลวงพ่อธรรม สิริจนฺโท ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระครูเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท ที่ “พระครูสิริธรรมาภิรักษ์” จนถึง พ.ศ. 2534 ท่านได้มรณภาพ ต่อจากนั้นเจ้าคณะจังหวัดราชบุรีได้แต่งตั้ง “พระครูสิทธิวชิราธร” เป็นเจ้าอาวาสวัดโขลงสุวรรณคีรี ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบัน

เนื่องจากวัดนี้เป็นวัดร้างมาก่อน โดยมาเริ่มฟื้นฟูเป็นที่พักสงฆ์เมื่อปี พ.ศ. 2498 ซึ่งอายุของวัดนับได้เพียง 59 ปีเท่านั้น กอปรกับสถานที่ตั้งวัดอยู่ห่างจากหมู่บ้าน ทำให้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในวัดไม่อยู่ในสภาพที่ถาวรและสวยงามเท่าที่ควร แต่ชาวบ้านต่างก็ภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการช่วยอนุรักษ์ ดูแลโบราณสถานสำคัญ คือ โบราณสถานสมัยทวาราวดี ทางวัดได้มอบที่ดินของวัดส่วนหนึ่งใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน โดยประชาชนชาวคูบัวร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรีร่วมกันก่อสร้าง

เจ้าอาวาส[แก้]

ข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลผู้บริหาร, สมภาร, เจ้าอาวาสที่ปกครองวัดสืบต่อกันมาเท่าที่ทราบนามของวัดโขลงสุวรรณคีรีจากอดีตจนถึงปัจจุบันมีดังนี้

  • 1) พระครูสิริธรรมาภิรักษ์ พ.ศ. 2498-2534
  • 2) พระครูสิทธิวชิราธร พ.ศ. 2534-2549
  • 3) พระครูใบฎีกาสุพจน์ ธีรวํโส พ.ศ. 2550 ถึงปัจจุบัน

ศาสนาสถานในวัด[แก้]

  • 1) อุโบสถ อุโบสถ กว้าง 22.09 เมตร ยาว 27.09 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2524 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงจตุรมุข
  • 2) ศาลาเอนกประสงค์ ศาลาเอนกประสงค์ กว้าง 10.30 เมตร ยาว 18.30 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2530 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
  • 3) หอสวดมนต์ หอสวดมนต์ กว้าง 14.60 เมตร ยาว 18.20 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2542 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
  • 4) กุฏิสงฆ์ กุฏิสงฆ์ จำนวน 6 หลัง เป็นอาคารไม้
  • 5) วิหารพุทธสิริสุวัณณภูมิ
  • 6) โบราณสถานหมายเลข 18 (วัดโขลงสุวรรณคีรี) ตั้งอยู่กลางเมืองคูบัวและมีขนาดสูงใหญ่ที่สุดในโบราณสถานทั้งหมดของเมืองโบราณคูบัว สร้างด้วยอิฐขนาดใหญ่ เนื้ออิฐผสมด้วยแกลบข้าวเหนียวเมล็ดใหญ่ แล้วใช้ดินเหนียวเนื้อละเอียดผสมยางไม้หรือน้ำอ้อยเป็นดินสอหรือตัวประสาน นับเป็นอาคารพุทธศาสนสถานเนื่องในลัทธิมหายานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง โดยจากเค้าโครงหลักฐานที่ปรากฏร่องรอยให้เห็น ทำให้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฐานของวิหาร เนื่องจากมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีบันไดขึ้นไปสู่ลานประทักษิณชั้นบนทาง ด้านทิศตะวันออก เปรียบเทียบได้กับสถูปที่เมืองนาลันทา ประเทศอินเดีย ที่มีเครื่องบนเป็นเจดีย์ทรงกลมขนาดใหญ่ที่กึ่งกลาง โดยมีเจดีย์ทรงกลมขนาดเล็กเป็นบริวารที่มุมทั้งสีเข่นเดียวกัน ซึ่งมีลักษณะเป็นศิลปะทวารวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2502
  • 7) หอระฆัง-หอกลอง
  • 8) วิหารหลวงพ่อแดง
  • 9) โรงครัว กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ใกล้จะเสร็จสมบูรณ์
  • 10) ศาลาเก็บรถ
  • 11) ศาลาปฏิบัติธรรม
  • 12) ศาลาบำเพ็ญกุศล
  • 13) ฌาปนสถาน
  • 14) กำแพงวัด
  • 15) ศาลปู่โสมเมม
  • 16) ศาลเจ้าแม่ทิพย์เกสร
  • 17) แท๊งน้ำที่รอน้ำฝน
  • 18) แท๊งน้ำบาดาล
  • 19) ห้องน้ำ-ห้องสุขา
  • 20) พิพิธภัณฑ์จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว

เอกลักษณ์พิเศษวัดโขลงสุวรรณคีรี[แก้]

เอกลักษณ์พิเศษของวัดโขลงสุวรรณคีรีนั้น มีดังต่อไปนี้

  • 1) หลวงพ่อแดง เป็นพระพุทธรูปศักดิ์ประจำวัดที่เก่าแก่ ที่ประชาชนตำบลคูบัวสักการบูชา และให้ความเคารพนับถือมายาวนาน
  • 2) อุโบสถจัตุรมุขประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของวัด เป็นอุโบสที่สวยงามมากที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าเยี่ยมชมและสักการะพระประธานในอุโบสถได้ทุกวัน
  • 3) พุทฺธสิริสุวณฺณภูมิ เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่สีดำที่มีนักท่องเที่ยว ประชาชนทั่วไปเมื่อวิ่งรถผ่านก็จะมองเห็นได้ชัดเจนเป็นที่สะดุดตา และที่ฐานด้านล่างพระพุทธสิริสุวรรณภูมินี้ก็ยังมีสถานที่ทำบุญ และมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์วัตถุมงคลของวัด ที่ประชาชนและนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปเยี่ยมชมและสักการะได้ตามสะดวก
  • 4) พระพุทธศรีสุวรรณภูมิ จำลองอยู่ด้านล่างของฐานพระพุทธสิริสุวรรณภูมิที่ให้ประชาชนทั่วไป และนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในวัดได้สักการะบูบูชาและปิดทองบูชา
  • 5) พิพิธภัณฑ์จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว จิปาถะภัณฑ์บ้านคูบัว ตั้งอยู่ในบริเวณวัดโขลงสุวรรณคีรี ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จิปาถะภัณฑ์บ้านคูบัวเป็น

กิจกรรมในวัด[แก้]

  • เวียนเทียนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา มาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา เป็นต้น
  • วันสำคัญทางราชการ เช่น 12 สิงหา และ 5 ธันวา
  • ทำบุญตักบาตร ประจำวันพระ 8, 14 และ15 ค่ำ ตลอดปี
  • งานประเพณีสงกรานต์ ไทย-ยวน วัดโขงสุวรรณคีรี (THE OLD ราชบุรีแฟร์) 13-15 เมษายน ทุกปี

อ้างอิง[แก้]