วัดแจ้งแสงอรุณ (อำเภอเมืองสกลนคร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดแจ้งแสงอรุณ
แผนที่
ชื่อสามัญวัดแจ้งแสงอรุณ, วัดแจ้ง
ที่ตั้งตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดแจ้งแสงอรุณ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ที่ดินตั้ววัดมีเนื้อที่ 6 ไร่ 3 งาน 52 ตารางวา ปัจจุบันมีพระครูศรีปริยัตยาลังการ (สุวรรณ อาจารสุโภ) เป็นเจ้าอาวาส[1]

วัดแจ้งแสงอรุณ หรือชาวบ้านเรียกว่า วัดแจ้ง เพราะตั้งอยู่ใกล้เมืองมีอากาศโปร่ง เป็นที่โล่ง[2] ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2422 โดยพระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ พรหมสาขา ณ สกลนคร) เป็นผู้สร้าง สมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองสกลนคร (คนที่ 3) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2529 และโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี เปิดสอน เมื่อ พ.ศ. 2530[3] เดิมที่ดินวัดมีเนื้อที่มากกว่านี้ โดยมีเนื้อที่ 8 ไร่ 3 งาน 52 ตารางวา ภายหลังได้แบ่งที่ดินทางทิศตะวันตกสร้างถนน วัดจึงเหลือพื้นที่ 6 ไร่เศษ[4] ได้รับฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2545[5]

รายนามเจ้าอาวาส[แก้]

ลำดับ นาม ดำรงตำแหน่ง (พ.ศ.)
1. พระครูสี 2422
2. พระอธิการกาสินธิ์ ติณฺณปงฺโก 2492–2504
3. พระมหาสนธิ์ สุปญฺโญ 2504–2508
4. พระเทพสิทธิโสภณ (สุรสีห์ กิตฺติโสภโณ) 2508–2553
รักษาการ พระสิริพัฒนาภรณ์ (วินัย สจฺจวํโส) 2553–2557
5. พระพิศาลวชิราภรณ์ (สุวรรณ อาจารสุโภ) 2557–2565
6. พระครูศรีสกลกิจจาภรณ์ (มีชัย ชินปุตฺโต) 2566-ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

  1. "เสนอแต่งตั้ง พระครูศรีปริยัตยาลังการ ให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดแจ้งแสงอรุณ พระอารามหลวง จังหวัดสกลนคร". มติมหาเถรสมาคม.
  2. "วัดแจ้งแสงอรุณ". ระบบฐานข้อมูลพระกฐินพระราชทาน.
  3. "อธิบดี พด. นำผู้บริหาร ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ณ วัดแจ้งแสงอรุณ สกลนคร". สยามรัฐ.
  4. "Sakonnakhonn". SBL Magazine. p. 114.
  5. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ยกวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวง [วัดแจ้งแสงอรุณ]". คลังสารสนสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ.