วัดเมตารางค์
วัดเมตารางค์ | |
---|---|
![]() | |
ชื่อสามัญ | วัดเมตารางค์, วัดปากคลองเชียงรากน้อย |
ที่ตั้ง | ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
เจ้าอาวาส | พระสมุห์บวรพจน์ |
![]() |
วัดเมตารางค์ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ในตำบลเชียงรากน้อย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี มีเนื้อที่ประมาณ 12 ไร่
วัดเมตารางค์สร้างเมื่อ พ.ศ. 2364 ปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เดิมชื่อ วัดปากคลองเชียงรากน้อย เปลี่ยนเป็น "วัดเมตารางค์" มีชื่อวัดภาษามอญ เภียมิตรัง ภายหลังได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2391[1] ใครเป็นผู้อุทิศ ได้มาอย่างไร ไม่ทราบแน่ชัด เริ่มสร้างมีกุฏิ 3 หลัง ศาลาการเปรียญ 1 หลัง หอสวดมนต์ 1 หลัง อุโบสถ 1 หลัง สร้างศาลาการเปรียญคู่กับหลังเก่าอีก 1 หลัง และซ่อมแซมศาลาที่ทรุดโทรม[2]
ภายในมีเจดีย์แบบชเวดากองเป็นรูปแปดเหลี่ยม ยอดเจดีย์มีฉัตรทำด้วยทองเหลืองเป็นลายเทพนม หอสวดมนต์พื้นไม้สัก เสาไม้แก่นกลมศาลาการเปรียญ มีเสาหงส์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวัดมอญ มีรูปหงส์อยู่บนยอดเสา และพระพุทธรูปต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นในสมัยพระอธิการสง่า[3]
รายนามเจ้าอาวาส
[แก้]- พระอริยมหาเถร พ.ศ. 2317–2365
- พระครูอุตตโม พ.ศ. 2370–2445
- พระอธิการสง่า พ.ศ. 2447–2492
- พระครูสมุห์สงบ พ.ศ. 2494–2516
- พระอาจารย์บุญส่ง พ.ศ. 2519–2521
- พระอาจารย์กุญชร พ.ศ. 2521–2539
- พระครูปทุมธรรมสิริ พ.ศ. 2540–2560
- พระสมุห์บวรพจน์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "วัดเมตารางค์". แหล่งศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์ - สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม.
- ↑ "วัดเมตารางค์". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.
- ↑ "วัดเมตารางค์". การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.).