วัดเทพประทาน (จังหวัดจันทบุรี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดเทพประทาน
แผนที่
ที่ตั้งตำบลทรายขาว อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดเทพประทาน เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลทรายขาว อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี

วัดเทพประทาน แต่เดิมเป็นป่าไม้รกร้างอยู่ในความดูแลของสหกรณ์โป่งน้ำร้อน ต่อมาได้จัดสรรพื้นที่ป่าเป็นที่ทำกินให้แก่ชาวบ้านผู้ยากไร้ จนเมื่อ พ.ศ. 2515 นายเจริญ มาศจันทร์ อาชีพครู ย้ายถิ่นฐานมาจาก จังหวัดร้อยเอ็ด ได้บุกเบิกพื้นที่ทำสวนผลไม้และครอบครองที่ดิน 100 ไร่[1] ได้แบ่งที่ราบเชิงเขาประมาณ 18 ไร่ สร้างเป็น สำนักสงฆ์โพนสวรรค์ และต่อมาพระอาจารย์ธาตุ อธิปํญโญได้จำพรรษาอยู่ประจำ มีพระภิกษุ แม่ชี ญาติโยมประจำและได้เปลี่ยนชื่อจากสำนักงานสงฆ์โพนสวรรค์ตั้งเป็น "วัดเทพประทาน" ตั้งเป็นวัดอย่างถูกต้องเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2543[2]

สิ่งก่อสร้างในวัดได้แก่ อาคารฐานพระสมเด็จองค์ปฐม "พระพุทธเมตตา" โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถทรงวางศิลาฤกษ์ อาคารเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธเมตตา ซึ่งสร้างด้วยนิลรัตนะทั้งองค์ มีขนาดหน้าตักกว้าง 29 เมตร สูง 45 เมตร (สูงเท่ากับตึก 15 ชั้น)[3] เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และยังมี อาคารปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ 84 พรรษา ปี พ.ศ. 2550 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์[4][5]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ทอดผ้าป่าสามัคคีมหากุศลสร้างพระใหญ่ พระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐม'พระพุทธเมตตา'". เดลินิวส์.
  2. "วัดเทพประทาน". สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
  3. "รองปลัดมท. และ อดีตอธิบดีกรมปชส.ติดตามคืบหน้าก่อสร้างพระสมเด็จองค์ปฐม"พระพุทธเมตตา"ที่วัดเทพประธาน อ.สอยดาว จ.จันทบุรี". สยามรัฐออนไลน์.
  4. "วัดเทพประทาน". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.
  5. "องคมนตรีเป็นประธานทอดผ้าป่ามหากุศล วัดเทพประทาน จันทบุรี". ผู้จัดการออนไลน์.