วัดหนองพะอง (จังหวัดสมุทรสาคร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดหนองพะอง
แผนที่
ชื่อสามัญวัดหนองพะอง, วัดใหม่หนองพะอง
ที่ตั้งเลขที่ 64 หมู่ที่ 7 ซอยเพชรเกษม 91 ถนนพุทธสาคร ตำบลสวนหลวง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74110
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระครูสีลาธิการี
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดหนองพะอง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 7 บ้านหลักสี่ ตำบลสวนหลวง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 15 ไร่ 1 งาน 57 ตารางวา บริเวณวัดยังมีตลาดน้ำหนองพะอง[1]

วัดหนองพะองสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2425 ชาวบ้านเรียกว่า วัดใหม่หนองพะอง โดยนางเปาะ จุลสิงห์ เป็นผู้ถวายที่ดินให้สร้างวัด ต่อมานายไล้และนางเพี้ยน คุณรักษา ได้ถวายเพิ่มขึ้นอีก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคมาขึ้นพักที่ศาลาท่าน้ำของวัด ในกาลนั้นได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อสร้างอุโบสถเป็นจำนวนเงินห้าร้อยบาทถ้วน วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2493 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร

อาคารเสนาสนะประกอบด้วยอุโบสถ กว้าง 15.50 เมตร ยาว 29 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2437 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ภายในประดิษฐานพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางขัดสมาธิเพชร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2437 ศาลาการเปรียญ กว้าง 14 เมตร ยาว 40 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2506 เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปเนื้อทองเหลือง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2506 กุฏิสงฆ์ จำนวน 3 หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ วิหาร กว้าง 9 เมตร ยาว 11 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2525 ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง 13 เมตร ยาว 21 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2543 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 1 หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก[2]

รายนามเจ้าอาวาส[แก้]

  • พระคง
  • พระทอง
  • พระกล่อม
  • พระพูล พ.ศ. 2439–2446
  • พระเหนี่ยง พ.ศ. 2446–2451
  • พระท้วม พ.ศ. 2451–2454
  • พระแห พ.ศ. 2454–2473
  • พระครูสุตาธิการี พ.ศ. 2473–2526
  • พระครูสีลาธิการี พ.ศ. 2526–ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

  1. "ชวนไป "ตลาดน้ำหนองพะอง" เดินช้อป ชิล อิ่มท้อง เที่ยวหย่อนใจไม่ไกลกรุงเทพฯ". ผู้จัดการออนไลน์. 8 มีนาคม 2562.
  2. "วัดหนองพะอง". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.