วัดสันติการาม (จังหวัดน่าน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดสันติการาม
วิหารวัดสันติการาม (วัดบ้านพร้าว)
สถานศักดิ์สิทธิ์คู่หมู่บ้านพร้าว
แผนที่
ชื่อสามัญวัดสันติการาม(วัดบ้านพร้าว)
ที่ตั้งเลขที่ 2 หมู่ 8 ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน 55140
ประเภทวัดราษฎร์ สามัญ[1]
นิกายมหานิกาย
พระพุทธรูปสำคัญ
ความพิเศษสถานสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่หมู่บ้าน
เวลาทำการทุกวัน
(08:00 - 19:00 น.)
จุดสนใจ
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดสันติการาม หรือวัดบ้านพร้าว ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 2 หมู่ 8 ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2400 เป็นวัดราษฎร์ ประเภทมหานิกาย

ประวัติวัดสันติการาม[แก้]

วัดสันติการาม หรือ(วัดบ้านพร้าว) สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2400[2]เป็นวัดราษฎร์ ประเภทมหานิกาย ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 2 หมู่ 8 ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ประวัติวัดบ้านพร้าว วัดพร้าว หรือวัดสันติการาม ตำบลยม อำเภอปัว(ในขณะนั้น) จังหวัดน่าน ได้ก่อตั้งอารามเมื่อปี พ.ศ. 2400 ผู้เฒ่าผู้แก่ และราษฎร ก็มีน้อย แต่มีใจศรัทธาที่จะสร้างวัด จึงพร้อมใจกันหาที่ดินสร้างวัด แรกสร้างนั้นยังมีพื้นที่ที่คับแคบมาก จึงได้พากันแผ้วถางปรับพื้นที่เรียบร้อย ก็ได้หาไม้เปาหนุ่มมาสร้าง ฝาสานด้วยไม่ไผ่ หลังคามุงด้วยหญ้าคา พื้นปูด้วยดิน แท่นพระเจ้าใช้สร้างเป็นขาตีเป็นโต๊ะวาง สำหรับเคารพกราบไว้บูชาในวันพระ ซึ่งในสมัยนั้นมีนายเมืองคำ พรมวังขวา เป็นผู้ใหญ่บ้าน

  • ต่อมาในปี พ.ศ. 2470 ได้บูรณปฏิสังขรณ์ ใหม่อีกครั้ง ได้วางรางฐาน ก่ออิฐขนาดแผ่นใหญ่ ล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน ใช้ดินเผือกทุ่งนามาก่อ ซึ่งในขณะนั้นไม่มีปูนขาว และปูนซีเมนต์ ขนาดกว้าง 3 ห้อง หลังผลัดมุงด้วยหญ้าคา มีหน้าต่างประตู ช่างที่มารับเหมาก่อสร้างวิหาร เป็นคนเมืองพงษ์มาสร้างจนเสร็จเรียบร้อย ซึ่งในขณะนั้นมีนายเสาร์ ไชยเพ็ชร เป็นผู้ใหญ่บ้าน
  • ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 ได้รื้อ และปฏิสังขรณ์ พระวิหารเสียใหม่ โดยใช้ไม้ประดู่มาทำเป็นเสา หลังคามุงด้วยไม้แป้นเกร็ด ช่างที่มารับเหมาคือ ผู้ใหญ่หวัน พลจร บ้านดอนมูล ตำบลศิลาเพชร ซึ่งในขณะนั้นมีนายอิ่นแก้ว ต๊ะผัด เป็นผู้ใหญ่บ้าน
  • ต่อมาวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2504 ได้รื้อ และปฏิสังขรณ์ ใหม่ ดังนี้

1. ขุดเอาเสาไม้ประดู่ออก
2. รื้อไม้แป้นเกร็ดออก
3. ได้รื้อทุบฝาผนังขยายเนื้อที่ออก ให้กว้างกว่าเดิม
4. ได้ก่อเสาอิฐมี 12 เหลี่ยม
5. ได้ตัดหลังคาใหม่เป็น 3 ชุด
6. หลังคามุงแป้นเกร็ด
7. ขยายประตูหน้าต่าง ยกหลังคา โดยช่างสมบรูณ์ ถาวงค์ เป็นผู้ทำ
8. ช่างก่อปูน นายขาว บ้านต้นแหล๋ง อำเภอปัว เป็นช่างก่อสร้าง
ซึ่งในขณะนั้นมีนายคำมุง จันทร์สุข เป็นผู้ใหญ่บ้าน

  • ต่อมาวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ซึ่งในขณะนั้นมีนายคำมุง จันทร์สุข เป็นผู้ใหญ่บ้าน
  • ต่อมาวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2532 ผู้ใหญ่บ้าน และราษฎรในบ้านพร้าว ได้บูรณะปฏิสังขรณ์ และซ่อมแซม พระวิหาร มีรายการดังต่อไปนี้

1. ขุดเสาก่ออิฐ 12 เหลี่ยมออก
2. รื้อไม้
3. แป้นเกร็ดออก
4. ได้ยกหลังคาใหม่
5. ได้หล่อเสาซีเมนต์
6. ได้มุงสังกะสีแดงแทน
7. ได้ยกช่อฟ้า ใบระกาใหม่ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2533

พระราชทานวิสุงคามสีมา[แก้]

วัดสันติการาม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันจันทร์ ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 (แรม 10 ค่ำ เดือน 6 ) ในสมัย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี

ใบพระราชทานวิสุงคามสีมา

สิ่งสำคัญภายในวัด[แก้]

บุคคลที่สร้างพระเจ้าวัดสันติการาม

  • พระเจ้าองค์ใหญ่ ปู่น้อย มอญ ปัญโญ ท่านเป็นคนสร้างไว้
  • ส่วนพระเจ้าทันใจองค์น้อย พ่อหม่อน ธรรมชัย เป็นคนปั้นภายใน 1 วัน โดยขายนา 1 บ่อน (ไร่) เพื่อมาสร้างพระเจ้าทันใจ
  • พระเจ้าด้านข้าง 4 องค์ ผู้ใหญ่สงค์ คำแสน บ้านเสี้ยวเป็นคนสร้างไว้กับวัดสันติการาม
  • พระพุทธรูปไม้โบราณ สันนิฐานว่ามีอายุเก่าแก่ ถึง 200 ถึง 300 ปี มีอักษรล้านนาจารึกใต้ฐานพระพุทธรูป แต่อักษรปรากฏไม่ชัดเจน
  • ธรรมมาสน์ไม้โบราณ สร้างขึ้นปี พ.ศ. 2509 ศรัทธา พ่อแสน - แม่แก้ว พรมวังขวา

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-21. สืบค้นเมื่อ 2019-12-11.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-21. สืบค้นเมื่อ 2019-12-11.