วัดศาลาแดง (จังหวัดสระบุรี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดศาลาแดง
ไฟล์:.JPG
แผนที่
ชื่อสามัญวัดศาลาแดง
ที่ตั้งตั้งอยู่เลขที่ 486 บ.ศาลาแดง ถ.พิชัยญรงค์สงคราม ต.ปากเพรียว อ.เมืองสระบุรี จ.สระบุรี
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย (เถรวาท)
พระประธานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 59 นิ้ว สูง 74.5 นิ้ว
เจ้าอาวาสพระครูสันตจิตตากร(กมล)
จุดสนใจพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดศาลาแดง ตั้งอยู่เลขที่ 486 บ้านศาลาแดง ถนนพิชัยญรงค์สงคราม ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีฐานะเป็นวัดราษฎร์ พื้นที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 6 ไร่ 3 งาน 52 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 7741[1]

อาณาเขต[แก้]

  • ทิศเหนือ จดแม่น้ำป่าสัก
  • ทิศใต้ จดถนนพิชัยรณรงค์สงคราม
  • ทิศตะวันออก จดอนามัยเทศบาลเมืองสระบุรี
  • ทิศตะวันตก จดถนนพิชัยรณรงค์สงคราม ซอย 40
  • ที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 2 ไร่ 40 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 180

ประวัติ[แก้]

วัดศาลาแดงตั้งเมื่อ พ.ศ. 2311 เดิมเรียกว่า วัดแก่งม่วง โดยมีต้นมะม่วงใหญ่ยืนต้นอยู่บนแก่งเป็นสัญลักษณ์ ต่อมาน้ำได้พัดเอาแก่งและต้นมะม่วงจมหายไปกับน้ำหมดสภาพไป คงเหลือแต่ศาลาหลังหนึ่งมีหลังคามุงกระเบื้องสีแดงซึ่งใช้เป็นที่พักสำหรับคนเดินทางไปนมัสการรอยพระพุทธบาท และพระพุทธฉาย จังหวัดสระบุรี จึงได้เรียกเป็นนามวัดว่า "วัดศาลาแดง" จนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป วัดศาลาแดงได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2518 มีเขตวิสุงคามสีมากว้าง 15 เมตร ยาว 35 เมตร[2]

อาคารเสนาสนะ[แก้]

  • 1. อุโบสถ กว้าง 15 เมตร ยาว 35 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2519 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2518 มีเขตวิสุงคามสีมากว้าง 15 เมตร ยาว 35 เมตร
  • 2. ศาลาการเปรียญ กว้าง 14 เมตร ยาว 40 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2518 เป็นอาคาคอนกรีตเสริมเหล็ก
  • 3. กุฏิสงฆ์ จำนวน 6 หลัง เป็นอาคารไม้ 4 หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ 1 หลัง และเป็นอาคาคอนกรีตเสริมเหล็ก 1 หลัง
  • 4. วิหาร กว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2518 เป็นอาคาคอนกรีตเสริมเหล็ก
  • นอกจากนี้ยังมี หอระฆัง 1 หลัง หอกลอง 1 หลัง โรงครัว 1 หลัง โรงเก็บพัสดุ 1 หลัง[3]

ปูชนียวัตถุ[แก้]

  • 1. พระประธานในอุโบสถปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 59 นิ้ว สูง 74.5 นิ้ว สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2464
  • 2. พระประธานในศาลาการเปรียญ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 35 นิ้ว สูง 449 นิ้วสร้างเมื่อ พ.ศ. 2518[4]

การบริหารและการปกครอง[แก้]

ลำดับเจ้าอาวาส[แก้]

  • รูปที่ 1 พระอธิการบุญ พ.ศ. 2440 ถึง พ.ศ. 2478
  • รูปที่ 2 พระครูวัตรโสภณ พ.ศ. 2478 ถึง พ.ศ. 2490
  • รูปที่ 3 พระครูสรการพิศิษฐ์ (เฉื่อย) พ.ศ. 2490 ถึง พ.ศ. 2502
  • รูปที่ 4 พระครูสังวรวุฒิคุณ (ออน) พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2521
  • รูปที่ 5 พระครูวิมลธรรมรัต (หลาบ) พ.ศ. 2521 ถึง พ.ศ. 2550
  • รูปที่ 6 พระครูสันตจิตตากร (กมล) พ.ศ. 2550 ถึง ปัจจุบัน[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552:461.
  2. หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552:462.
  3. หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552:461.
  4. หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552:462.
  5. หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552:462.