วัดวงษ์ฆ้อง
วัดวงษ์ฆ้อง | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดวงษ์ฆ้อง, วัดโรงฆ้อง |
ที่ตั้ง | ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดวงษ์ฆ้อง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วัดวงษ์ฆ้อง เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดโรงฆ้อง สร้างเป็นวัดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น พ.ศ. 1920 ชาวบ้านแถบบริเวณวัดนี้ แต่เดิมมีอาชีพปั้นหม้อดิน อิฐ และกระเบื้องดินเผา มีคลองสระบัวเป็นทางสัญจรและตลาดการค้าทางน้ำ ต่อมาวัดทรุดโทรมลงและได้รับการบูรณะพัฒนาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้ริเริ่มดำเนินการ[1] วัดวงษ์ฆ้องได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณ พ.ศ. 1930[2]
อุโบสถหันหน้าไปทางแม่น้ำตามคตินิยมการสร้างวัดก่อนสมัยอยุธยา มีเจดีย์ทรงลังกาตั้งอยู่คู่กันทางด้านขวาของอุโบสถ สันนิษฐานได้ว่าวัดนี้อาจสร้างก่อนหน้านั้นและคงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. 1920 แต่เดิมวัดวงษ์ฆ้องมีบริเวณกว้าง แต่ปัจจุบันถูกถนนตัดผ่านกลางแยกเขตสังฆาวาสให้อยู่ค่อนไปทางริมแม่น้ำลพบุรีหรือคลองคูเมืองเดิม ส่วนเขตพุทธาวาสจะอยู่ลึกเข้าไปอีกฟากหนึ่งของถนน โดยมีเจดีย์ขนาดย่อม 2 องค์[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ กรมศิลปากร. "วัดวงษ์ฆ้อง" ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 6 มิถุนายน 2566. เข้าถึงจาก http://gis.finearts.go.th/fineart/
- ↑ "วัดวงษ์ฆ้อง". สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
- ↑ "วัดวงษ์ฆ้อง (วัดโรงฆ้อง)". แหล่งศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์ - สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม.