ข้ามไปเนื้อหา

วัดฝายหิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดฝายหิน
ไฟล์:Fai1.jpg
วัดฝายหิน (ในความอุปถัมภ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
แผนที่
ที่ตั้งบ้านฝายหิน (หลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
ประเภทวัดราษฏ์
เจ้าอาวาสพระครูสมุห์วิษุวัตร วรกิจโจ
ความพิเศษเคยเป็นที่สถิตของพระอภัยสาระทะ อดีตสังฆราชาแห่งล้านนาไทย
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดฝายหิน ตั้งอยู่ ณ หมู่บ้านฝายหิน เลขที่ 67 หมู่ 1 ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดในความอุปถัมภ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพ หมู่บ้านฝายหิน ด้านหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และถนนทางขึ้นสถานีส่งโทรทัศน์ช่อง 7 ทางเดียวกันกับทางขึ้นสวนสัตว์เชียงใหม่ด้านประตูหลัง วัดฝายหินเป็นวัดโบราณ เคยเป็นที่สถิตของพระอภัยสาระทะสังฆปาโมกข์ (ครูบาอุ่นเรือน โสภโณ) อดีตสังฆราชาแห่งล้านนา ในปี พ.ศ. 2512 ได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการโยกย้ายบ้านเรือนชาวบ้านรอบมหาวิทยาลัย วัดฝายหินจึงได้อยู่ในความอุปถัมภ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา วัดแห่งนี้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งนี้วัดฝายหินยังเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ของคณาจารย์ นักศึกษา และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยด้วย ปัจจุบันทางวัดได้อนุเคราะห์พระภิกษุสามเณรทั้งจากประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน ให้มีโอกาสได้ศึกษาพระพุทธศาสนา โดยได้เปิดสำนักเรียน ธรรม-บาลี และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา ทางวัดได้เปิดโรงเรียนแผนกสามัญศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยความร่วมมือระหว่างวัดฝายหิน และ โรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ วัดสวนดอก

การสร้างวัด

[แก้]

ในสมัยพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. 1985-2031) วัดแห่งนี้เคยมีฐานะเพียงหนึ่งในสำนักสงฆ์สาขาของรตนมหาวิหาร (วัดป่าแดง มหาวิหาร) ซึ่งในขณะนั้นเป็นวัดฝ่ายอรัญวาสี เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระไตรปิฎก นับถือคำสอนลัทธิสิงหลใหม่ (พระพุทธศาสนาซึ่งรับมาจากประเทศศรีลังกา)

งานประจำปี

[แก้]

ในวันที่ 21 เมษายน ของทุกปี ทางวัดจะเปิดโอกาสให้สาธุชน ได้รดน้ำรูปปั้นครูบาพระอภัยสาระทะ ซึ่งเป็นประเพณีประจำปีของวัด อยู่ในช่วงวันสุดท้ายของการบวชสามเณรภาคฤดูร้อน เพื่อเป็นสิริมงคล แก่สาธุชน และสามเณร ก่อนลาสิกขา

กิจกรรมของวัดที่มีต่อชุมชน

[แก้]
  • ได้จัดให้มีกิจกรรม รถด่วนขบวนพิเศษ โดยอาราธนาพระสงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิมาแสดงธรรม โดยกลุ่มหนุ่มสาวจังหวัดเชียงใหม่
  • จัดให้มีกิจกรรมการบวชสามเณรภาคฤดูร้อน อบรมค่ายธรรมจักรลีลาและการแข่งขันตอบปัญหา
  • จัดงานตักบาตรเทโวร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทุกปี ในวันหลังจากออกพรรษา คือแรม 1 ค่ำทุกปี
  • มีการวนเวียนทุกวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นงานประจำปีมีผู้มาร่วมประชุมพิธีทำบุญฟังเทศน์ประมาณ 200 คน
  • จัดตั้งกลุ่มโครงการตั้งกลุ่มพุทธมากะ กลุ่มหนุ่มสาว พร้อมทั้งแนะนำการดำรงตนให้ถูกต้องตามสมบัติของอุบาสก-อุบาสิกา
  • ให้ที่พักอาศัยแก่พระภิกษุสามเณรที่มาศึกษาในเขตจังหวัดเชียงใหม่
  • ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ปรับปรุงธรรมสถานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการอบรมและสอนวิธีการปฏิบัติกรรมฐานของสำนักต่างๆและได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถานปฏิบัติธรรมนานาชาติ ซึ่งได้ทำการเปิดดำเนินการตั้งแต่ปี 2544
  • ร่วมกับคณะกรรมการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์คณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ สถานีวิทยุพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ระบบ เอฟ. เอ็ม. ความถี่ 104.50 เมกเฮิรตซ์ กำลังส่ง 30 วัตต์
  • ให้การสนับสนุนกิจกรรมนักศึกษาโดยอนุเคราะห์ให้ยืมอุปกรณ์ต่างๆแก่นักศึกษา

ลำดับเจ้าอาวาสวัดฝายหิน

[แก้]
  1. ครูบามารวิชัย (อดีต - พ.ศ. 2398)
  2. พระอภัยสารทสังฆปาโมกข์ หรือครูบาอุ่นเรือน โสภโณ (2399- 2457)
  3. พระปลัดคำซาว อินทนนฺโท (2458- 2493)
  4. พระอธิการศรีมูล ญาณวโร (2494- 2509)
  5. ครูบาแดง (2510- 2519)
  6. พระศรีธรรมบัณฑิต (2520- 2530)
  7. พระอธิการสิงห์แก้ว (2530- 2532)
  8. พระมหาทองรัตน์ รตนวณฺโณ (2532- 2535)
  9. พระครูใบฎีกาสุรัตน์ ฐานิสฺสโร (2535- 2538)
  10. พระครูปริยัตยานุศาสตร์ (พระมหา ดร. ไสว เทวปุญฺโญ) ดำรงตำแหน่ง รองเจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงใหม่ (2539- 2562)
  11. พระครูสมุห์วิษุวัตร วรกิจโจ (2566- ปัจจุบัน)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]