วัดประสิทธิเวช

พิกัด: 14°09′52″N 100°56′12″E / 14.1644061°N 100.9365936°E / 14.1644061; 100.9365936
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดประสิทธิเวช
แผนที่
ที่ตั้งรังสิต - องครักษ์ (คลอง 15) ตำบลบางปลากด อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
ประเภทวัดราษฏร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธรูปสำคัญหลวงพ่อใหญ่อุดมโชค มงคลลาภ
ความพิเศษวัดเป็นพุทธสถานคามวาสี
เวลาทำการ06.00 น. - 18.00 น.
จุดสนใจพระธาตุ, หลวงพ่อใหญ่อุดมโชค มงคลลาภ (อายุ330ปี)
กิจกรรมทำบุญถวายสังฆ์ฑาน อาบน้ำมนต์
การถ่ายภาพ5
เว็บไซต์https://watprasitthiwech.wordpress.com/
หมายเหตุ0
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดประสิทธิเวช เป็นวัดราษฎร์และโบราณสถาน ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 ตำบลบางปลากด อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก

ประวัติวัด[แก้]

วัดประสิทธิเวช ชาวบ้านมักเรียกกันติดปากว่า ”วัดเก่า” หรือ “วัดบางปรากฏ” เพราะสมัยแรกชื่อจริงชื่อวัดบางปรากฏ ชื่อตามหมู่บ้าน แล้วมาเปลี่ยนชื่อทีหลังว่าวัดประสิทธิเวช เปลี่ยนเมื่อ พ.ศ. ใดไม่ทราบ ไม่มีหลักฐาน ปัจจุบันวัดประสิทธิเวช ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 ตำบลบางปลากด อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ในเนื้อที่ตั้งวัด 22 ไร่ 2 งาน 25 ตารางวา แล้วได้ซื้อที่ตั้งวัดเพิ่มเติมอีก 118 ไร่ 3 งาน 74 ตารางวารวมเป็น 141 ไร่ 1 งาน 99 ตารางวา ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอองครักษ์ ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร ได้เริ่มก่อตั้งสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2223 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2233 ต่อมาอุโบสถหลังเก่าชำรุดทรุดโทรม ไม่สามารถจะบูรณะซ่อมแซมได้ จึงได้รื้อถอนออก และได้สร้างอุโบสถหลังใหม่ในที่เดิมเมื่อ พ.ศ. 2530 และได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมาอุโบสถหลังใหม่เมื่อ พ.ศ. 2532 และได้จัดทำพิธีผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิตอุโบสถหลังใหม่เมื่อ พ.ศ. 2534

วัดประสิทธิเวชนี้ มีผู้เล่าสืบต่อๆ กันมาว่า แต่เดิมมีอุบาสกผู้ใจบุญผู้หนึ่งชื่อว่า นายสิทธิ ภรรยาชื่อนางเวช ได้เป็นผู้นำริเริ่มก่อสร้างมาเป็นครั้งแรก วัดจึงมาเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “วัดประสิทธิเวช” เปลี่ยนตามชื่อเจ้าของผู้ริเริ่มก่อสร้างมาถึงปัจจุบันนี้ สำหรับเจ้าอาวาสที่ปกครองวัดไม่ทราบแน่ชัดมาแต่แรก ว่าองค์ก่อนๆ ที่ปกครองวัดมีผู้ใดบ้าง ไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัด เพราะประวัติวัดและหลักฐานใดๆก็ไม่มีมาทราบภายหลังเท่าที่จำได้สมัยหลวงพ่อทา (พระครูศรัทธาภินันท์) อดีดเจ้าคณะแขวงอำเภอองครักษ์ ท่านได้บันทึกหลักฐานไว้เท่าที่จำได้แต่องค์ก่อนๆ ไม่ทราบมาทราบองค์หลังๆ

ผลงานที่ได้รับการยกย่อง[แก้]

  • พ.ศ. 2536 ได้รับการยกย่องเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง จากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2537 ได้รับการยกย่องเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น จากกรมการการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับพระราชทานพัดเชิดชูเกียรติ และเกียรติบัตรจากสมเด็จพระสังฆราช
  • พ.ศ. 2538 วัดได้รับยกย่องเป็นอุทยานการศึกษา
  • พ.ศ. 2540 วัดได้รับยกย่องให้เป็นลานวัด ลานใจ ลานกีฬา เพื่อยกเลิกยาเสพติด

สังกัดคณะสงฆ์[แก้]

มหานิกาย

รายนามเจ้าอาวาส[แก้]

รายนามเจ้าอาวาสวัดประสิทธิเวช
ลำดับ ชื่อ ตำแหน่ง วาระการดำรงตำแหน่ง
1. พระอาจารย์ไม้ เจ้าอาวาส ไม่ทราบ
2. พระอาจารย์กุ้ย เจ้าอาวาส ไม่ทราบ
3. พระอาจารย์เจียม เจ้าอาวาส ไม่ทราบ
4. พระอาจารย์โป้ย เจ้าอาวาส ลาสิกขาบท พ.ศ. 2440
5. พระครูศรัทธาภินันท์ (ทา จนฺทปญฺโญ) เจ้าอาวาส พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2482 (มรณภาพ)
6. พระปลัดหร่าย พรหมโชโต เจ้าอาวาส พ.ศ. 2482 - พ.ศ. 2495 (มรณภาพ)
7. พระครูประสิทธิศีลวัฒน์ (ปล้อง อุตฺตโร) เจ้าอาวาส พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2535 (ลาออกจากตำแหน่ง)
8. พระราชสิทธิวราจารย์ (อุดม สุทฺธสีโล) เจ้าอาวาส พ.ศ. 2536 - ปัจจุบัน

ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันเจ้าอาวาสวัดประสิทธิเวชเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านและลูกศิษย์จากทั่วสารทิศมากมาย

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

14°09′52″N 100°56′12″E / 14.1644061°N 100.9365936°E / 14.1644061; 100.9365936