ข้ามไปเนื้อหา

วัดบางเตย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดบางเตย
แผนที่
ชื่อสามัญวัดบางเตย
ที่ตั้งซอยนวมินทร์ 60 ถนนนวมินทร์ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 10240
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท มหานิกาย
เจ้าอาวาสพระครูพัฒนการโกวิท (เทพฤทธิ์ ยสธมฺโม)
กิจกรรมศาสนสถานในพระพุทธศาสนาที่มีกิจกรรมเชิงพุทธตลอดปี
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดบางเตย เป็นวัดพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่ในซอยนวมินทร์ 60 (วัดบางเตย) ถนนนวมินทร์ (สุขาภิบาล 1) แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร เป็นวัดที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนย่านบึงกุ่ม โพธิ์แก้ว และนวมินทร์ เป็นวัดที่ส่งเสริมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาหลายด้าน เช่น การบวชปฏิบัติธรรม พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และงานบริการชุมชนทางด้านต่าง ๆ ทางศาสนา เป็นต้น ที่วัดมีเสาหงส์ที่เป็นเอกลักษณ์และมีประวัติความเป็นมาในการก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2475

ประวัติ

[แก้]

วัดบางเตย ปรากฏหลักฐานว่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2371 (ต้นรัชกาลที่ 3) เมื่อพื้นที่ดังกล่าวมีชุมชนได้เข้ามาอยู่อาศัย และมีการตั้งวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ และปฏิบัติตามหลักศาสนา ดังปรากฏมีหลักฐานเป็น อุโบสถ (หลังเก่า) ทรงจีน ก่ออิฐถือปูน เสาไม้ หลังคามุงด้วยกระเบื้อง สี่เหลี่ยม มีขนาดเล็กจุคนได้ประมาณ 30 คน ซึ่งเป็นที่นิยมสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 จนกระทั่งมีการสลับสับเปลี่ยนเจ้าอาวาสไปตามช่วงเวลา และวัดก็มีพัฒนาการต่อเนื่องเป็นศูนย์กลางของชุมชนทางศาสนานับแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน

ลำดับเจ้าอาวาส

[แก้]
  • หลวงปู่ท้วม
  • พระป๋อ
  • พระนิ่ม
  • พระเพิ่ม
  • พระชม
  • พระเอม
  • พระไสว
  • พระครูธรรมกิจวรคุณ (ฟู ปุญฺญกังโข)
  • พระครูประภัสร์ธรรมพิสุทธิ์ (สกล ปภสฺสโร) พ.ศ.๒๕๔๔-๒๕๕๗
  • พระครูพัฒนการโกวิท (เทพฤทธิ์ ยสธมฺโม) พ.ศ.๒๕๕๗-ปัจจุบัน

ศาสนาสถานในวัด

[แก้]
  • พระอุโบสถ มีขนาดกว้าง 14 เมตร ยาว 28 เมตร ลักษณะทรงไทยประยุกต์สมัยพระเจ้าปราสาททอง สร้างเมือ พ.ศ. 2512
  • ศาลาการเปรียญ
  • ฌาปนสถาน/ศาลาคู่ฌาปนสถาน
  • อาคารหอปริยัติ
  • หอระฆัง
  • ศาลาท่าน้ำ
  • เสาหงส์

กิจกรรมสำคัญในวัด

[แก้]
  • โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ช่วงเดือนเมษายน
  • โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
  • โรงเรียนสอนพระปริยัติธรรม (แผนกธรรม)
  • โรงเรียนสอนเด็กก่อนเกณฑ์ (เด็กก่อนวัยเรียน)
  • ฌาปนสงเคราะห์

อ้างอิง

[แก้]

กรมการศาสนา. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 1. กรุงเทพฯ : การศาสนา, 2525, หน้า 93-94.