วัดน้ำปาด
วัดน้ำปาด | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดน้ำปาด, วัดเฉลียงงาม |
ที่ตั้ง | ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดน้ำปาด เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก
วัดน้ำปาดตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2382 ปรากฏหลักฐานในแผนที่เมืองพิษณุโลก กรมแผนที่ได้จัดทำไว้เมื่อ พ.ศ. 2461 ได้ระบุวัดและตำแหน่งที่ตั้งวัดไว้ ชาวบ้านเรียกว่า วัดเฉลียงงาม เพราะบริเวณวัดมีต้นเฉลี่ยงงามอายุประมาณ 100 กว่าปี อยู่ในบริเวณที่ดินของวัด ชื่อนี้ปรากฏอยู่ในเอกสารหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก) เลขที่ 182 ออกวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2520 แต่ผู้ให้ข้อมูลจึงเอาชื่อต้นไม้ดังกล่าวเป็นชื่อ "วัดเฉลียงงาม" แต่จริง ๆ แล้วเป็นวัดน้ำปาดกับวัดเฉลียงงามเป็นวัดเดียวกัน[1] กรมศาสนาได้สำรวจและขึ้นทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติเมื่อ พ.ศ. 2475 วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2550[2]
อุโบสถมหาอุดของวัดสร้างจากอิฐ ไม่ใช้เหล็ก ไม่มีเสา[3] มีพระประธานรูปหล่อสำริด โดยรอบทั้งด้านในและด้านนอกมีจิตรกรรมซึ่งวาดโดยช่างพื้นบ้าน เป็นเรื่องราวการทำความดีความชั่ว ความเชื่อของชาวบ้านและวิถีชาวบ้านในยุคนั้น เช่น การทำบาปจะตกนรก ภาพรถไฟกรุงเทพเชียงใหม่ เป็นต้น ภาพน่าจะวาดในสมัยรัฐนิยม สมัยรัฐบาลจอมพลป.[4]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ภายในอุโบสถกลังเดิมของวัดน้ำปาด
-
จิตรกรรมบนผนังภายนอกอุโบสถกลังเดิมของวัดน้ำปาด
-
จิตรกรรมบนผนังภายนอกอุโบสถกลังเดิมของวัดน้ำปาด
-
จิตรกรรมบนผนังภายนอกอุโบสถกลังเดิมของวัดน้ำปาด
-
จิตรกรรมบนผนังภายนอกอุโบสถกลังเดิมของวัดน้ำปาด
-
จิตรกรรมบนผนังภายนอกอุโบสถกลังเดิมของวัดน้ำปาด
-
จิตรกรรมบนผนังภายในอุโบสถกลังเดิมของวัดน้ำปาด
-
จิตรกรรมบนผนังภายในอุโบสถกลังเดิมของวัดน้ำปาด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "วัดน้ำปาด ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง พิษณุโลก". ทัวร์วัดไทย.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "วัดน้ำปาด". สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
- ↑ "ชมจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างพื้นบ้าน วัดน้ำปาด ต.ชมพู อายุกว่า 100 ปี".
- ↑ "จิตรกรรมฝาผนังวัดน้ำปาด เนินมะปราง พิษณุโลก".[ลิงก์เสีย]