วัดท้ายตลาด (จังหวัดอุตรดิตถ์)

พิกัด: 17°38′32″N 100°06′47″E / 17.642098°N 100.112947°E / 17.642098; 100.112947
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดท้ายตลาด
แผนที่
ชื่อสามัญวัดท้ายตลาด
ที่ตั้งสำราญรื่น ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท มหานิกาย
เจ้าอาวาสพระครูสังฆรักษ์สิน ฐิตธมฺโม
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดท้ายตลาด หรือชื่อที่ชาวบ้านเรียก วัดท้ายตลาด (ชื่อเดิม วัดท่าทราย) ถนนสำราญรื่น บ้านท่าอิฐ ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดเขตการปกครองคณะสงฆ์ตำบลท่าเสา ตัววัดมีเนื้อที่ 19 ไร่ 1 งาน 50 ตารางวา

ปัจจุบันวัดท้ายตลาด เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างและวัดพัฒนาดีเด่น มี พระครูสังฆรักษ์สิน ฐิตธมฺโม เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน[1]

ประวัติ[แก้]

ศาลาการเปรียญวัดท้ายตลาดหลังเก่า

วัดท้ายตลาด เป็นวัดที่ถูกย้ายมาสร้างขึ้นใหม่ เพราะเดิมนั้นวัดตั้งอยู่ที่บ้านท่าอิฐล่าง ติดแม่น้ำน่าน ด้านฝั่งทิศตะวันตก เดิมชื่อว่า “วัดท่าทราย” เป็นวัดเก่าแก่ที่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด สืบถามจากคนเก่าแก่ที่มีอายุมาก บอกว่าวัดถูกภัยธรรมชาติ คือน้ำเซาะตลิ่งพังลงมาเรื่อย ๆ นานเข้าก็ถึงกุฏิ และศาลาการเปรียญ ท่านเจ้าอาวาส รูปแรกคือพระอุปัชฌาย์หรั่ง สุวณฺโณ จึงได้ย้ายวัดท่าทรายมาสร้างใหม่ที่ท้ายตลาดท่าเสา ห่างจากแม่น้ำน่านประมาณ 100 เมตร ประชาชนมักนิยมเรียกวัดที่ย้ายมาสร้างใหม่ว่า “วัดท้ายตลาด” [1]

ได้รับพระบรมราชานุญาตให้สร้างวัด ตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 เมื่อปี พ.ศ. 2401 มีพระบรมราชโองการพระราชทานวิสุงคามสีมา ( อุโบสถหลังก่า ) ปี พ.ศ. 2446 มีพระบรมราชโองการพระราชทานวิสุงคามสีมา ( อุโบสถหลังใหม่ ) ปี พ.ศ. 2526

ที่ดินเฉพาะบริเวณที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ 5 ไร่ 2 งาน 33 ตารางวา โดยมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นโฉนด เลขที่ 328 กรรมสิทธิ์ที่ดินป็นของวัด[1]

รายนามเจ้าอาวาส ตั้งแต่รูปแรกจนถึงปัจจุบัน[แก้]

  • รูปที่ 1. พระอุปัชฌาย์หรั่งสุวณฺโณ พ.ศ. 2437 ถึง พ.ศ. 2456
  • รูปที่ 2. อาจารย์ เย็น อุ่นมิ้ม สัทธิวิหาริกของหลวงปู่ เป็นเจ้าอาวาสแทน
  • รูปที่ 3. พระอาจารย์โด้ และได้ลาสิกขา พ.ศ. 2471
  • รูปที่ 4. พระอธิการหนุน คล้ายมี พ.ศ. 2471 ถึง พ.ศ. 2473 พระอธิการหนุนลาออกจากตำแหน่ง เพราะย้ายไปอยู่ที่อื่น
  • รูปที่ 5. พระมหาแถม อตฺตโม (วิเวกจวง) ป.ธ.3 สำนักวัดระฆังโฆสิตาราม และเริ่มตั้งสำนักเรียนมาจนถึงปัจจุบัน พระมหาแถมได้ลาสิกขา พ.ศ. 2476
  • รูปที่ 6. หลวงพ่อถม รุ่งเรืองแสง และได้ลาสิกขา เมื่อปลายปี 2476
  • รูปที่ 7. พระอาจารย์ปลั่ง จนฺโท (จันทร์หอม) และได้ลาสิกขา พ.ศ. 2479
  • รูปที่ 8.พระอาจารย์ผัน จิตฺสุตฺโต (สังข์บัวแก้ว) และได้ลาสิกขา พ.ศ. 2485
  • รูปที่ 9. พระราชประสิทธิคุณ ( ทองคำ ปริสุทฺโธ) อยู่คุ้ม พ.ศ. 2486 ถึง พ.ศ. 2536
  • รูปที่ 10. พระครูปิยธรรมกิจ (สุวรรณ กนฺตธมฺโม) แซ่ด่าน พ.ศ. 2536 ถึง พ.ศ. 2554
  • รูปที่ 11. พระครูสังฆรักษ์ประจวบ เขมธมฺโม (จีนอยู่) พ.ศ. 2554 ถึง พ.ศ. 2557
  • รูปที่ 12. พระครูสังฆรักษ์สิน ฐิตธมฺโม (ห้องพ่วง) พ.ศ. 2558 ถึงปัจจุบัน

[1]

อาณาเขตที่ตั้งวัด[แก้]

พื้นที่ตั้งของวัดมีลักษณะเป็นพื้นที่ราบอยู่ติดกับชุมชนนอกจากนี้มีโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด (กวีธรรมสาร) ตั้งอยู่ในที่ดินของวัด เนื้อที่ 6ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา และสถานีอนามัยมีเนื้อที่ 2 ไร่

ที่กัลปนาวัด มี 3 แปลงรวมเนื้อที่ทั้งสิ้น 16 ไร่ 3 งาน 189 ตารางวา คือ แปลงที่ 1 ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ มีเนื้อที่ 8ไร่ 48ตารางวาหนังสือกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของ นายเป้า พุทธรักษ์ขิต เลขที่ 9935 แปลงที่ 2 ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ มีเนื้อที่ 5 ไร่ 72ตารางวาหนังสือกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของ นายเป้า พุทธรักษ์ขิต เลขที่ 9936 และแปลงที่ 3 ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ มีเนื้อที่ 3 ไร่ 3 วา 9 ตารางวา หนังสือกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของ นางมัชฌิมา เดชวรรณธนะ เลขที่ 9925 (ใช้จัดประโยชน์สงเคราะห์ เป็นที่อยู่อาศัยของประชาชน)[1]

ศาสนสถาน-ถาวรวัตถุ[แก้]

วิหารพระพุทธชินราชจำลอง
  • อุโบสถ สร้างเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2524 กว้าง 40 เมตรยาว 80 เมตร พระประธานในอุโบสถ หน้าตักกว้าง 69 นิ้ว สูง 99 นิ้ว (ชาวบ้านเรียกว่าหลวงพ่อเพชรจิรกิตติคุณ) มีพระโมคคัลลานะ ในพระอุโบสถ 2 องค์ สูง 74 นิ้ว
  • วิหารพระพุทธชินราชจำลอง ภายในประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลอง หน้าตักกว้าง 59 นิ้ว พระโมคคัลลานะ ในพระอุโบสถ 2 องค์ สูง 120 นิ้ว
  • ศาลาการเปรียญ กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2444
  • วิหารประดิษฐานหลวงปู่อุปัชฌาย์หรั่ง สุวณฺโณ (อดีตเจ้าอาวาสรูปแรก) ลักษณะทรงไทยประยุกต์ ยกพื้นมีบันได พื้นปูหินอ่อน หลังคาจัตุรมุข กว้าง 8 เมตร ยาว 12 เมตร
  • กุฏิสงฆ์ (สำนักงานสงฆ์จังหวัด อาคารกึ่งไม้ ลักษณะไทยประยุกต์ 2 ชั้น กว้าง 8 เมตร ยาว 15 เมตร จำนวน 1 หลัง โรงเรียนพระปริยัติธรรม จำนวน 1 หลัง
  • ศาลาพระราชประสิทธิคุณ (ทองคำ ปริสุทฺโธ) ทรงไทยประยุกต์ พื้นคอนกรีตหลังคามุงกระเบื้อง กว้าง 15 เมตร ยาม 18 เมตร
  • โรงเรียนพระปริยัติธรรม จำนวน 1 หลัง กว้าง 5 เมตร ยาว 15 เมตร
  • ศาลาเอนกประสงค์ กว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร ครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้น
  • ศาลาเทียมจันทร์ เหมาะประสิทธิ์ ลักษณะทรงไทย พื้นปูกระเบื้อง กว้าง 10 เมตร ยาว 15 เมตร
  • กุฏิกรรมฐานหลังเดี่ยว กว้าง 4 เมตร ยาว จำนวน 10 หลัง
  • กุฏิแถว 10 ห้อง จำนวน 1 หลัง[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 พระประกิต สุทธิธฺมโม (ชัยสิทธิ์) และพระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี. (2559). โครงการบันทึกข้อมูลท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย จังหวัดอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์ : หน่วยวิทยบริการวัดหมอนไม้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

17°38′32″N 100°06′47″E / 17.642098°N 100.112947°E / 17.642098; 100.112947