วัดทัพหลวง (จังหวัดนครปฐม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดทัพหลวง
แผนที่
ชื่อสามัญวัดทัพหลวง, วัดแปดโรง
ที่ตั้งตำบลทัพหลวง อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดทัพหลวง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลทัพหลวง อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

วัดทัพหลวง เดิมชื่อ วัดแปดโรง ตามชื่อของหมู่บ้านซึ่งมีชาวบ้านมาปลูกสร้างเป็นแบบบ้านหลังคามุงแฝกอยู่ 8 หลัง ส่วนชื่อวัดทัพหลวงตามชื่อตำบลที่ฝ่ายบ้านเมืองตั้งให้ สันนิษฐานว่าในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (พ.ศ. 2310-2315) ได้ยกกองทัพมาถึง ณ ที่ตำบลทัพหลวง และคงได้หยุดไพร่พล ณ ที่แห่งนี้ ซึ่งใกล้กับบริเวณวัด[1] สภาพพื้นที่ของวัดทัพหลวงในขณะนั้น เป็นพื้นที่แห้งแล้ง ไม่มีระบบชลประทานเหมือนในปัจจุบันนี้ การเพาะปลูกในขณะนั้นจึงไม่ได้ผลผลิต เป็นเหตุให้ประชาชนยากจน พระภิกษุที่จำพรรษาในวัดทัพหลวงต้องทนลำบากเพราะขาดแคลนน้ำ อยู่ในสภาพอดยาก อันเนื่องมาจากการทำบุญใส่บาตรของประชาชนน้อยลงเพราะความยากจนของชาวบ้าน เป็นเหตุให้พระภิกษุในวัดทัพหลวงย้ายไปจำพรรษาวัดอื่น

วัดทัพหลวงเริ่มก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2460 โดยมีนายอ่อน แป้นห้วยไผ่ อุทิศที่ดินถวายประมาณ 15 ไร่ ในระยะแรกได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้น 1 หลัง ต่อมาถูกไฟไหม้ ต่อมาพระภิกษุนาค ได้ชักชวนชาวบ้านดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญขึ้นใหม่และได้ปกครองวัดมาอีก 1 ปี ต่อมา พ.ศ. 2461 วัดนี้ต้องถูกยุบ เนื่องจากไม่ได้ขออนุญาตสร้างวัดต่อคณะสงฆ์อย่างถูกต้อง จน พ.ศ. 2462 นายอ่อน แป้นห้วยไผ่ ได้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงชักชวนประชาชนดำเนินการก่อสร้างวัดขื้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง และได้ขออนุญาตตั้งวัดอย่างถูกต้องต่อคณะสงฆ์ซึ่งก็ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งได้ ชาวบ้านได้นิมนต์ พระภิกษุเรียบ จากวัดหนองปลาหมอ อำเภอบ้านโปร่ง จังหวัดราชบุรี มาเป็นผู้ปกครองวัด ในสมัยพระภิกษุเกิด จนฺทสโร เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้เริ่มก่อสร้าง ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอฉัน ศาสนสถานและศาสนวัตถุต่าง ๆ ยังเป็นผู้ริเริ่มสร้างโรงเรียนประชาบาลวัดทัพหลวงในปัจจุบัน วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2471[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. "วัดทัพหลวง". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.
  2. "พระวิหารการโกวิท (เกิด จนฺทสโร) วัดทัพหลวง".