วัดตายม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดตายม
แผนที่
ชื่อสามัญวัดตายม, วัดสองแคว
ที่ตั้งตำบลวัดตายม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดตายม เป็นชื่อของตำบลวัดตายม และเป็นวัดประจำตำบลวัดตายม เป็นที่ประดิษฐานองค์ หลวงพ่อยม พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองชาวบ้านวัดตายมและชาวพิษณุโลก

ประวัติ[แก้]

วัดตายมตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2100[1] ที่ตั้งวัดมีร่องรอยของชุมชนโบราณที่กระจัดกระจายกันตามแหล่งน้ำ วัดตายมคงถูกปล่อยทิ้งร้างมานาน เสนาสนะต่าง ๆ อย่าง อุโบสถ ศาลา กุฏิ ล้วนเป็นสิ่งสร้างใหม่[2] วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2548

หลวงพ่อยม[แก้]

หลวงพ่อยมเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ ปางมารวิชัย มีพุทธลักษณะพุทธศิลป์ที่งดงาม หน้าตักกว้าง 4 ศอก 1 คืบ ความสูงจากฐานกลีบบัวถึงยอดพระเกศ 5 ศอก เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัย (มีพุทธลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปะอู่ทองกับสุโขทัยเข้าไว้ด้วยกัน เช่นมีวงหน้าเป็นรูปไข่ มีพระโขนงโกง พระนาสิกเป็นสันและงุ้มลงสวยงามอย่างสุโขทัย แย้มพระโอษฐ์อย่างพระสุโขทัย แต่มีไรพระศกเล็กอย่างศิลปะอู่ทอง รูปร่างค่อนข้างอ้วนท้วนสมบูรร์อย่างอู่ทอง โดยรวมแล้วมีความเป็นไปได้อย่างมากที่จะอยู่ในช่วงสุโขทัยตอนต้น ที่ได้รับอิทธิพลของทั้งสองแคว้นที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาผสมผสานเข้าไว้ด้วยกัน)

สันนิษฐานว่าสร้างก่อนสมัยพระมหาธรรมราชา (ลิไท) กรมศิลปากรตรวจสอบและขึ้นทะเบียนแล้ว[3] ยืนยันว่าอายุขององค์หลวงพ่อยม น่าจะไม่ต่ำกว่า 750 ปี หรือสร้างก่อนพระพุทธชินราช ที่เมืองพิษณุโลก (ชาวบ้านสมัยก่อนมักพูดกันเสมอว่า หลวงพ่อยมเป็นพี่หลวงพ่อพระพุทธชินราช ด้วยในความหมายว่า ถ้าพระพุทธชินราชมีความเก่าแก่ มีความศักดิ์สิทธิ์ มีความสวยงาม เพียงใดแล้ว หลวงพ่อยมก็มีครบตามนั้นไม่แพ้กัน เป็นนัยว่าจะบอกลูกหลานให้ช่วยกันปกปักรักษาคุ้มครองดูแลสมบัติของบ้านเกิดเมืองนอนเรากันสืบต่อไปให้ดีๆ ) นอกจากองค์หลวงพ่อยมแล้ว เบื้องหน้าของหลวงพ่อยมยังมี พระพุทธรูปองค์เล็กอีก 3 องค์ ปางมารวิชัย สร้างขึ้นใหม่ภายหลัง ราว 150 ปีที่ผ่านมา จากคำบอกเล่าของคนที่มีอายุเกือบร้อยปีในปัจจุบันนี้ ให้การว่ารุ่นพ่อรุ่นแม่ของพวกท่านได้บอกไว้เองว่า เป็นคนสร้างเพิ่มขึ้นมาเอง ด้วยชาวบ้านเห็นว่าองค์หลวงพ่อยม ไม่มีเพื่อน อยู่โดดเดี๋ยวในเพิงวิหารในป่าที่รกทึบ จึงได้ให้ช่างมาปั้นเพิ่มขึ้นในภายหลังราว ๆ 150 ปี ล่วงมานี้

อ้างอิง[แก้]

  1. "วัดตายม". สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
  2. "ชุมชนโบราณบ้านวัดตายม". แหล่งศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์ - สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม.
  3. "บันทึกประเทศไทย - จังหวัดพิษณุโลก ฉบับที่ 84".