วัดดอนหญ้านาง
หน้าตา
วัดดอนหญ้านาง | |
---|---|
ที่ตั้ง | เลขที่ 28 บ้านดอนหญ้านาง หมู่ที่ 3 ตำบลดอนหญ้านาง อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย (เถรวาท) |
พระประธาน | พระพุทธรูป ปางมารวิชัย ขนาดพระเพลา กว้าง 60 นิ้ว สูง 79 นิ้ว |
เจ้าอาวาส | พระสมุห์สายัณห์ อตฺตสิโน |
ความพิเศษ | พระพุทธรูปปางสมาธิ พระนามหลวงพ่อดำ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2300 ขนาดพระเพลา กว้าง 23 นิ้ว สูง 30 นิ้ว |
เวลาทำการ | เปิดทุกวัน |
จุดสนใจ | สักการบูชารูปเหมือนหลวงพ่อเสาร์ |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดดอนหญ้านาง ตั้งอยู่เลขที่ 28 บ้านดอนหญ้านาง หมู่ที่ 3 ตำบลดอนหญ้านาง อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีฐานะเป็นวัดราษฎร์ พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 8 ไร่ 5 ตารางวา.[1]
ประวัติ
[แก้]วัดดอนหญ้านาง ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2440 โดย มีขุนศรีภู่ มากบดี ได้บริจาคที่ดินและดำเนินการสร้างวัด ต่อมา นายผล มากบดี ซึ่งเป็นบุตร พร้อมด้วยญาติพี่น้องและชาวบ้าน ได้ให้การอุปถัมภ์ บำรุงวัดสืบมา ต่อมาเมื่อวัดทรุดโทรมลง ในปี พ.ศ. 2495 ได้มีผู้ใหญ่เชย จำเนียรกาล เข้ามาอุปถัมภ์วัดผู้หนึ่ง วัดดอนหญ้านางซึ่งบางคนเรียกสั้น ๆ ว่า "วัดดอนนาง" อุโบสถหลังเก่า ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2450 อุโบสถหลังใหม่ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2535 มีฐานะเป็นวัดราษฎร์.[2]
ศาสนสถาน
[แก้]- 1.1 อุโบสถหลังเก่า สร้างเมื่อ พ..ศ. 2450 กว้าง 6 เมตร ยาว 13 เมตร
- 1.2 อุโบสถหลังใหม่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2528 กว้าง 8 เมตร ยาว 20 เมตร
- 1.3 วิหารหลวงพ่อเสาร์ ประดิษฐานพระแก้วมรกต สร้างเมื่อ พ.ศ. 2556 กว้าง 6 เมตร ยาว 9 เมตร .[3]
ศาสนวัตถุ
[แก้]- 1.1 พระประธานในอุโบสถหลังเก่า พุทธลักษณะ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ พระนามหลวงพ่อดำ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2300 ขนาดพระเพลา กว้าง 23 นิ้ว สูง 30 นิ้ว
- 1.2 พระประธานในอุโบสถหลังใหม่ พุทธลักษณะ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดพระเพลา กว้าง 60 นิ้ว สูง 79 นิ้ว
- 1.3 พระแก้วมรกต ประดิษฐานในวิหารหลวงพ่อเสาร์ ขนาดพระเพลา กว้าง 39 นิ้ว สูง 49 นิ้ว
- 1.4 รูปหล่อหลวงพ่อเสาร์ ประดิษฐานในวิหารหลวงพ่อเสาร์ ขนาดหน้าตัก กว้าง 29 นิ้ว สูง 32 นิ้ว .[4]
เสนาสนะ
[แก้]- 1.1 ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2511 กว้าง 18 เมตร ยาว 34 เมตร
- 1.2 กุฏิสงฆ์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2509 กว้าง 6 เมตร ยาว 51 เมตร
- 1.3 กุฏิเจ้าอาวาส สร้างเมื่อ พ.ศ. 2501 กว้าง 7 เมตร ยาว 9 เมตร
- 1.4 ศาลาบำเพ็ญกุศล สร้างเมื่อ พ.ศ. 2545 กว้าง 15 เมตร ยาว 30 เมตร
- 1.5 ฌาปนสถาน เมรุ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2531 กว้าง 6 เมตร ยาว 15 เมตร
- นอกจากนี้ยังมี หอระฆัง ซุ้มประตูวัด โรงเก็บพัสดุ โรงครัว และห้องสุขา .[5]
การบริหารและการปกครอง
[แก้]ลำดับเจ้าอาวาส
[แก้]- 1. พระอาจารย์ชะเอ็ม
- 2. พระอาจารย์ลิ่ว
- 3. พระอาจารย์เปลี่ยน
- 4. พระครูพินิตสังฆการ (หลวงพ่อเสาร์)
- 5. พระสมุห์สายัณห์ อตฺตสิโน พ.ศ. 2554 ถึง ปัจจุบัน .[6]
ลำดับเจ้าอาวาส
[แก้]ลำดับที่ | รายนาม/สมณศักดิ์ | ตำแหน่ง | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | พระอาจารย์ชะเอ็ม | เจ้าอาวาส | - | - | มรณภาพ | |
2 | พระอาจารย์ลิ่ว | เจ้าอาวาส | - | - | มรณภาพ | |
3 | พระอาจารย์เปลี่ยน | เจ้าอาวาส | - | - | มรณภาพ | |
4 | พระครูพินิตสังฆการ (หลวงพ่อเสาร์) | เจ้าอาวาส | - | - | มรณภาพ | |
5 | พระสมุห์สายัณห์ อตฺตสิโน | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2554 | - | ปัจจุบัน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ หนังสือเจ้าอาวาสและวัดในประเทศไทย (พระนครศรีอยุธยา) เล่ม 3 หน้า 465, กรมการศาสนา, .
- ↑ หนังสือเจ้าอาวาสและวัดในประเทศไทย (พระนครศรีอยุธยา) เล่ม 3 หน้า 465, กรมการศาสนา, .
- ↑ หนังสือเจ้าอาวาสและวัดในประเทศไทย (พระนครศรีอยุธยา) เล่ม 3 หน้า 465, กรมการศาสนา, .
- ↑ หนังสือเจ้าอาวาสและวัดในประเทศไทย (พระนครศรีอยุธยา) เล่ม 3 หน้า 465, กรมการศาสนา, .
- ↑ หนังสือเจ้าอาวาสและวัดในประเทศไทย (พระนครศรีอยุธยา) เล่ม 3 หน้า 465, กรมการศาสนา, .
- ↑ หนังสือเจ้าอาวาสและวัดในประเทศไทย (พระนครศรีอยุธยา) เล่ม 3 หน้า 465, กรมการศาสนา, .