วัดกอด่อปะลีน

พิกัด: 21°10′12″N 94°51′24″E / 21.17000°N 94.85667°E / 21.17000; 94.85667
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดกอด่อปะลีน
ကန်တော့ပုလင်
ศาสนา
ศาสนาพุทธ
นิกายเถรวาท
ที่ตั้ง
ที่ตั้งพุกาม ภาคมัณฑะเลย์ พม่า
วัดกอด่อปะลีนตั้งอยู่ในประเทศพม่า
วัดกอด่อปะลีน
ที่ตั้งในประเทศพม่า
พิกัดภูมิศาสตร์21°10′12″N 94°51′24″E / 21.17000°N 94.85667°E / 21.17000; 94.85667
สถาปัตยกรรม
ผู้ก่อตั้งพระเจ้านรปติสี่ตู่
ลงเสาเข็มค.ศ. 1203
เสร็จสมบูรณ์26 มีนาคม ค.ศ. 1227
ลักษณะจำเพาะ
ความยาว58.3 เมตร (191 ฟุต)[1]
ความกว้าง43.3 เมตร (142 ฟุต)
ความสูงสูงสุด55 เมตร (180 ฟุต)

วัดกอด่อปะลีน (พม่า: ကန်တော့ပလ္လင်ဘုရား, ออกเสียง: [ɡɔ́dɔ̰pəlɪ̀ɰ̃ pʰəjá]) เป็นวัดพุทธตั้งอยู่ในพุกาม ประเทศพม่า การก่อสร้างเริ่มขึ้น ค.ศ. 1203 ในรัชสมัยพระเจ้านรปติสี่ตู่[2] แล้วเสร็จวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1227[3] ในรัชสมัยพระเจ้าไชยสิงขะ วัดกอด่อปะลีนมีความสูงถึง 55 เมตร (180 ฟุต) ถือเป็นวัดสูงเป็นอันดับสองในพุกาม มีรูปแบบคล้ายกับวัดตะบะญุ วัดมีทั้งหมดสองชั้น ชั้นล่างมีระเบียงลดหลั่นสามขั้น และชั้นบนมีระเบียงลดหลั่นสี่ขั้น วัดได้รับความเสียหายอย่างหนักช่วงแผ่นดินไหว ค.ศ. 1975 และได้รับการบูรณะใหม่ในปีต่อ ๆ มา

วัดกานดอปะลิน มีลักษณะเป็นวัดกลวง รูปแบบ กู่ ตรงข้ามกับเจดีย์ วัดกลวงแบบ กู่ เป็นการสร้างที่ใช้สำหรับการทำสมาธิ การสักการะพระพุทธรูปและประกอบพิธีกรรมพุทธอื่น ๆ วัดแบบ กู่ มีสองรูปแบบพื้นฐานคือ มุขหนึ่งด้าน และมุขสี่ด้าน โดยพื้นฐานแล้วจะมีทางเข้าหลักหนึ่งทาง และทางเข้าหลักสี่ทาง นอกจากนี้ยังมีรูปแบบอื่น ๆ เช่น มุขห้าด้านและแบบผสมอยู่ด้วย รูปแบบมุขหนึ่งด้านพัฒนามาจากเบะตะโน่ในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และมุขสี่ด้านพัฒนามาจากศรีเกษตรในคริสต์ศตวรรษที่ 7 วัดมีลักษณะหลักคือซุ้มโค้งแหลมและห้องทรงโค้ง มีขนาดใหญ่และดียิ่งขึ้นในสมัยพุกาม[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Dept of History, Yangon University 1986: 29
  2. Coedès 1968: 178
  3. Maha Yazawin Vol. 1 1724: 213
  4. Aung-Thwin 2005: 224–225

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ วัดกอด่อปะลีน

  • Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
  • Kala, U (1720). Maha Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2006, 4th printing ed.). Yangon: Ya-Pyei Publishing.
  • Pictorial Guide to Pagan. Rangoon: Ministry of Culture. 1975 [1955].
  • Fiala, Robert D. (2002). "Gawdawpalin Pahto Temple". Asian Historical Architecture. สืบค้นเมื่อ 2006-08-12.
  • History Dept, Rangoon University (1986). Glimpses of Glorious Pagan. Rangoon: Rangoon University Press.