ววาดึสวัฟ ชปิลมัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ววาดึสวัฟ ชปิลมัน
เกิด5 ธันวาคม ค.ศ. 1911(1911-12-05)
ซอสนอวีแยตส์, คองเกรสโปแลนด์, จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต6 กรกฎาคม ค.ศ. 2000(2000-07-06) (88 ปี)
วอร์ซอ, โปแลนด์
สุสานPowązki Military Cemetery, Warsaw
สัญชาติโปลิช
อาชีพนักแต่งเพลง, นักเปียโน, นักเขียน
ปีปฏิบัติงาน1930–2000
คู่สมรสHalina (Grzecznarowska) Szpilman
(1950–2000; his death)
บุตรChristopher Szpilman, Andrzej Szpilman

ววาดีสวัฟ ชปิลมัน (เสียงอ่านภาษาโปแลนด์: [vwaˈdɨswaf ˈʂpʲilman]; 5 ธันวาคม ค.ศ. 1911 – 6 กรกฎาคม ค.ศ. 2000) เป็นนักเปียโนและนักแต่งเพลงคลาสิคชาวโปแลนด์ที่มีเชื้อสายชาวยิว ชปิลมันเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นบุคคลสำคัญในภาพยนตร์เรื่อง สงคราม ความหวัง บัลลังก์ เกียรติยศ ปี ค.ศ. 2002 ที่ถูกกำกับโดยโรมัน โปลันสกี ซึ่งถูกอ้างอิงจากเรื่องราวอัตชีวประวัติของสปิลมัน ที่เขาเอาชีวิตรอดในกรุงวอร์ซอภายใต้การยึดครองของเยอรมันและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของนาซีมาได้อย่างไร

ชปิลมันได้เรียนวิชาเปียโนที่สถาบันดนตรีในกรุงเบอร์ลินและกรุงวอร์ซอ เขาได้กลายเป็นคนดังยอดนิยมในรายการวิทยุโปแลนด์และในคอนเสิร์ต จากการถูกกักตัวไว้ในวอร์ซอเกตโตภายหลังจากเยอรมันบุกครองโปแลนด์ ชปิลมันได้ใช้เวลาสองปีในการหลบซ่อนตัว ในช่วงสุดท้ายของการหลบซ่อนตัวของเขา เขาได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่นายทหารเยอรมันที่ชิงชังต่อนโยบายนาซี หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ชปิลมันได้เริ่มต้นใหม่กับอาชีพของเขาในรายการวิทยุโปแลนด์ ชปิลมันยังเป็นนักแต่งเพลงที่สมบูรณ์แบบ ผลงานของเขาได้รวมถึงเพลงนับร้อยเพลง และวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีหลายชิ้น

อาชีพในฐานะที่เป็นนักเปียโน[แก้]

ชปิลมันได้เริ่มเรียนวิชาเปียโนที่สถานบันดนตรีชอแป็งในกรุงวอร์ซอ, โปแลนด์ ที่นั้นเขาได้เรียนการเล่นเปียโนกับ Aleksander Michałowski และ Józef Śmidowicz ลูกศิษย์รุ่นแรกและรุ่นที่สองของฟรันทซ์ ลิสท์ ในปี ค.ศ. 1931 เขาได้เป็นนักเรียนของสถานศึกษาศิลปะที่มีชื่อเสียงในกรุงเบอร์ลิน, เยอรมนี ซึ่งได้เรียนกับ Artur Schnabel, Franz Schreker และ Leonid Kreutzer[1][2] ภายหลังจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้รับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมนีในปี ค.ศ. 1933 ชปิลมันได้เดินทางกลับกรุงวอร์ซอ ที่ซึ่งเขาได้กลายเป็นนักเปียโนและนักแต่งเพลงที่โด่งดังอย่างรวดเร็วที่มีทั้งเพลงคลาสสิคและเพลงยอดนิยม ในฐานะที่เป็นศิลปินเดี่ยว เขายังได้เป็นหุ้นส่วนของ

อ้างอิง[แก้]

  1. "Wladyslaw Szpilman". boosey.com.
  2. "The Pianist – Wladyslaw Szpilman – Homepage". szpilman.net.