วรรณพงษ์ คชรักษ์
วรรณพงษ์ คชรักษ์ | |
---|---|
เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหาร จังหวัดชายแดนภาคใต้ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 212 วัน) | |
ก่อนหน้า | สมเกียรติ ผลประยูร |
อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566 (2 ปี 364 วัน) | |
ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ | |
ดำรงตำแหน่ง 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – 30 กันยายน พ.ศ. 2563 (1 ปี 316 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 มีนาคม พ.ศ. 2511 |
ทรัพย์สินสุทธิ | 81 ล้านบาท (พ.ศ. 2565) |
ชื่อเล่น | บิลลี่ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ กระทรวงยุติธรรม |
ประจำการ | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (2533 – 2547) กระทรวงยุติธรรม (2547 – 2566) สำนักนายกรัฐมนตรี (2566 – ปัจจุบัน) |
ยศ | ![]() |
พันตำรวจโท นายกองเอก วรรณพงษ์ คชรักษ์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้[1] อดีตอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน[2] อดีตผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์[3] อดีตรองผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ อดีตรองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
ประวัติ
[แก้]พันตำรวจโท วรรณพงษ์ คชรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2511[4] เป็นบุตรชายของ พลตำรวจโท วรรณรัตน์ คชรักษ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
สมรสกับ นางอินทิรา คชรักษ์ มีบุตรชาย 1 คน ชื่อ ด.ช.วรรณวุฒิ คชรักษ์[5]
ต่อมาในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2568 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศนายกองเอกในกองอาสารักษาดินแดนให้กับพันตำรวจโทวรรณพงษ์[6]
การศึกษา
[แก้]วรรณพงษ์ คชรักษ์ จบการศึกษาจากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย จบโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 27 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 43 และรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การทำงาน
[แก้]สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- พ.ศ. 2538 - สารวัตรแผนก 3 กองกำกับการ 5 กองบังคับการปราบปราม
- พ.ศ. 2544 - รองผู้กำกับการ 3 กองบังคับการปราบปราม
กรมสอบสวนคดีพิเศษ
- พ.ศ. 2551 - ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ
- พ.ศ. 2553 - ผู้บัญชาการสำนักเทคโนโลยีและสารสนเทศ
- พ.ศ. 2554 - ผู้บัญชาการสำนักคดีการเงินการธนาคาร
- พ.ศ. 2556 - รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
- พ.ศ. 2558 - รองผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์[7]
- พ.ศ. 2561 - ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์
กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
- พ.ศ. 2563 - อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน[8]
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
- พ.ศ. 2566 - เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2567 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2564 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2554 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 274 ง หน้า 8 วันที่ 2 พฤศจิกายน 2566
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ หน้า ๑๓ เล่ม ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๒๒๑ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๓ กันยายน ๒๕๖๓
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ หน้า ๑๕ เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๒๙๘ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
- ↑ คนตามข่าว : พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์คนใหม่
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-26. สืบค้นเมื่อ 2019-08-26.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 12.
- ↑ https://www.dailynews.co.th/crime/359165
- ↑ "ครม.ย้ายผอ.นิติวิทยาศาสตร์นั่งอธิบดีกรมพินิจฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-17. สืบค้นเมื่อ 2020-09-01.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒๗๘, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๔๔, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๑๖, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๔