ข้ามไปเนื้อหา

วงประโคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วงเครื่องสูง)

วงประโคม คือ วงดนตรีที่ใช้ประกอบงานพระราชพิธีและแสดงถึงพระราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ ตลอดจนถึงขุนนางข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ฮินดู ว่า พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เมื่อเสียชีวิตไป จะกลับสู่สรวงสวรรค์ จึงต้องมีการประโคมเพื่อส่งดวงวิญญานกลับสู่สรวงสวรรค์

ประเภทของวงประโคม

[แก้]

แต่เดิมวงประโคมมีอยู่ 3 ประเภทด้วยกันคือวงสังข์แตรวงปี่ไฉนกลองชนะและวงกลองสี่ปี่หนึ่ง (ปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว) โดยวงสังข์แตรมีเครื่องดนตรีดังนี้

  1. สังข์ 1 ขอน
  2. แตรงอน 2 คัน
  3. แตรฝรั่ง 4 ใบ

วงปี่ไฉนกลองชนะมีเครื่องดนตรีดังนี้

  1. ปี่ไฉน 1 เลา
  2. กลองสองหน้า 1 ใบ
  3. กลองชนะ (ตามแต่พระอิสริยยศ)

ต่อมา นับตั้งแต่งานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จึงได้มีการนำวงปี่พาทย์นางหงส์ร่วมประโคมด้วย[1]

การประโคมย่ำยาม

[แก้]

การประโคมย่ำยามนั้นเริ่มด้วยวงแตรสังข์และวงปี่ไฉนกลองชนะเป็นวงประโคมลำดับที่ 1 โดยจะทำหน้าที่สลับกันบรรเลง และวงปี่พาทย์นางหงส์เป็นวงประโคมลำดับที่ 2

การประโคมย่ำยามนั้นจะประโคมทุก ๆ 3 ชั่วโมงดังนี้[2]

  • ยามที่ 1 เวลา 06.00 น.
  • ยามที่ 2 เวลา 09.00 น.
  • ยามที่ 3 เวลา 12.00 น.
  • ยามที่ 4 เวลา 15.00 น.
  • ยามที่ 5 เวลา 18.00 น.
  • ยามที่ 6 เวลา 21.00 น.
  • ยามที่ 7 เวลา 24.00 น.

การประโคมมี อยู่หลายประเภท ตามชั้นยศ-พระราชอิสริสยศ-พระบรมราชอิสริยยศ ดังต่อไปนี้

  1. ถ้าผู้ตาย ได้รับพระราชทาน หีบทองทึบ, โกศโถ และ โกศแปดเหลี่ยม เครื่องประโคมจะประกอบด้วย ปี่ไฉน, กลองชนะ, เปิง (ตีจังหวะ สามไม้หนีสี่ไม้ไล่)
  2. ถ้าผู้ตายได้รับพระราชทาน โกศไม้สิบสอง, โกศราชวงศ์, โกศมณฑป, โกศกุดั่น - พระโกศทองใหญ่ เครื่องประโคมจะประกอบด้วย สังข์ (ผู้ตายต้องเป็นพระราชวงศ์ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป), แตรงอน, แตรฝรั่ง, ปี่ไฉน, กลองชนะ, เปิง (ตีจังหวะ ติ๊งเปิง)

ในพระราชพิธีประโคมย่ำยาม พระบรมศพของ พระมหากษัตริย์ จะเพิ่ม มโหระทึก เข้าไปด้วย ซึ่งสงวนไว้สำหรับพระมหากษัตริย์ เท่านั้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. "การบรรเลงดนตรีไทยในงานพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-27. สืบค้นเมื่อ 2010-09-05.
  2. "การบรรเลงดนตรีไทยในงานพระศพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-19. สืบค้นเมื่อ 2010-09-05.