ปลาหมอเท็กซัสแดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาหมอเท็กซัสแดง

ปลาหมอเท็กซัสแดง หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า เท็กซัสแดง (อังกฤษ: Red texas cichlid) เป็นปลาหมอสีข้ามชนิดระหว่างปลาหมอเท็กซัสเขียว ซึ่งเป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดจากทางอเมริกากลางถึงเม็กซิโก โดยทั่วไปการเพาะพันธุ์มักนิยมใช้ปลาหมอเท็กซัสเขียวตัวผู้กับปลาหมอสีที่ลอกสีผิวเป็นสีแดง เช่น ปลาหมอเรดอเมริกา, ปลาหมอนกแก้ว, ปลาซินสไปลุ่ม หรือปลาพื้นแดงลอกที่ผสมข้ามชนิดมาแล้วก็ได้ ซึ่งก็จะได้ลูกปลาที่เป็นเท็กซัสแดง แต่ในปัจจุบันมักใช้แม่ปลาหมอนกแก้วเนื่องจากลูกปลาเวลาลอกสีผิวแล้วมักมีสีแดงมากกว่าแม่ปลาชนิดอื่น

เทคนิคการเพาะพันธ์[แก้]

เริ่มจากพ่อพันธ์ปลาหมอเท็กซัสเขียวควรเลือกตัวที่มุกข้ามหน้าเข้าปากลงคางลงอกและลอดใต้ท้อง เม็ดมุกเว้นช่องไฟเสมอกันทั่วทั้งตัวอายุ 1 ปีขึ้นไป แม่พันธ์นิยมใช้ปลาหมอนกแก้วควรเลือกตัวที่สีแดงจัดและสีเสมอเท่ากันทั้งตัวขนาด 2.5 นิ้วขึ้นไป ตู้ที่ใช้เพาะพันธ์ควรมีขนาด 36 นิ้วขึ้นไป โดยทำการกั้นพ่อพันธ์และแม่พันธ์เพื่อป้องกันปลากัดกัน แต่ต้องให้ปลามองเห็นกันเรียกว่าเทียบปลา ใส่จานรองกระถางดินเผาไว้ในฝั่งแม่ปลา รอจนกว่าแม่พันธ์จะพร้อมวางไข่ สังเกตได้จากใต้ท้องแม่พันธ์จะมีท่อยื่นออกมาคล้ายหลอดกาแฟ ระยะเวลาไม่แน่นอนแล้วแต่ความพร้อมของตัวแม่พันธ์เอง เมื่อแม่พันธ์พร้อมวางไข่แล้วให้เปิดที่กั้นออก สังเกตดูพ่อพันธ์ว่ากัดแม่พันธ์หรือไม่ ถ้ากัดต้องทำการเทียบปลาใหม่ ถ้าพ่อพันธ์ยอมรับแม่พันธ์ทั้งคู่จะช่วยกันทำความสะอาดจานลองกระถางดินเผา แม่พันธ์มักไข่เวลาเย็นใกล้ค่ำ แม่พันธ์จะไข่ทีละแถวแล้วพ่อพันธ์จะตามฉีดเชื้อสลับกันอย่างนี้จนกว่าแม่พันธ์จะไข่เสร็จ ใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมงเฉลี่ยไข่ประมาณ 500-2,000 ฟองระยะเวลาไข่ฟักเป็นตัวประมาณ 36-48 ชั่วโมง

การอนุบาลลูกปลา[แก้]

ส่วนมากผู้เพาะพันธ์จะทำการเก็บไข่ออกมาอนุบาลเอง โดยจะทำการเก็บไข่ที่ติดอยู่ที่จานลองกระถางดินเผาหรือจะตักพ่อพันธ์และแม่พันธ์ออกมาก็ได้ ทำการลดระดับน้ำให้เหลือครึ่งตู้ใช้กรองฟองน้ำเป็นตัวกรองและตัวเพิ่มอ๊อกซิเจนในน้ำไปในตัว ใส่ยากันเชื้อราลงไปเล็กน้อยเพื่อป้องกันไข่ติดเชื้อรา ประมาณ 36-48 ชั่วโมงลูกปลาจะเริ่มฟักเป็นตัว ช่วง 8-10 วันแรกยังไม่ต้องให้อาหารลูกปลา ลูกปลาจะใช้ไข่แดงที่ติดอยู่ที่ท้องเป็นอาหาร ประมาณวันที่ 8 หลังจากฟักเป็นตัวลูกปลาจะเริ่มว่ายน้ำเรียกว่าบินน้ำ จะเริ่มให้อาหารเป็นไรแดงกรองเอาแต่ตัวเล็กๆให้ลูกปลากิน หรือจะให้ลูกอาร์ทีเมียก็ได้แล้วแต่สะดวก ควรให้ทีละน้อยแต่บ่อยโดยจะให้ทุก 2 ชั่วโมงเพื่อป้องกันน้ำเน่าเสีย และต้องเติมน้ำในตู้ปลาวันละนิดเพื่อป้องกันลูกปลาช๊อกน้ำได้ หลังจากให้ไรมาประมาณ 7-10 วันลูกปลาจะเริ่มกินไส้เดือนน้ำได้แล้วควรเปลี่ยนอาหารเป็นไส้เดือนน้ำ โดยใส่กรวยไว้ให้ลูกปลาสามารถกินได้ตลอดเวลา ช่วงนี้ลูกปลาจะโตเร็วมาก หลังจากที่เราทำการเติมน้ำวันละนิดแล้วเมื่อน้ำเต็มตู้ลูกปลาก็กินไส้เดือนน้ำมาได้ระยะเวลานึงแล้วและมีขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ก็สามารถทำการเปลี่ยนน้ำได้แล้ว โดยทำการดูดน้ำในตู้ปลาออกประมาณ 30-50 เปอร์เซ็นต์และเติมน้ำใหม่เข้าไปเท่าเดิม ประมาณ 3-4 วันต่อครั้งลูกปลาจะยิ่งโตเร็วมาก เมื่อลูกปลามีขนาดประมาณ 2 นิ้วก็เริ่มคัดตัวสวยออกมาแยกเลี้ยงต่างหากได้แล้ว

เทคนิคการคัดลูกปลา[แก้]

เมื่อลูกปลามีขนาดประมาณ 1 นิ้วมุกจะเริ่มขึ้นให้เห็นสามารถเริ่มให้กินอาหารเม็ดได้แล้วขุนจนลูกปลามีขนาดประมาณ 2 นิ้ว ตัวทีสวยมุกจะเริ่มขึ้นเต็มตัวและชายน้ำบนและล่างตามแก้มไล่มาจนถึงมุมปาก ถ้าเป็นลูกที่แม่พันธ์เป็นปลาหมอเท็กซัสแดงมุกจะข้ามหัวและอาจลามมาถึงริมปากบน ส่วนลูกที่แม่พันธ์เป็นนกแก้วมุกจะยังไม่ข้ามหน้าจนกว่าจะมีขนาด 5 นิ้วขึ้นไป ให้คัดเฉพาะตัวที่มุกเต็มตามที่กล่าวมาจะมีประมาณ 10-30 เปอร์เซ็นต์ ออกมาแยกเลี้ยงต่างหากลูกปลาที่เหลืออาจทำการขุนต่อไปอีกซักระยะอาจคัดลูกปลาที่สวยได้อีกครั้ง ส่วนลูกปลาที่เหลือจะเป็นปลาคัดทิ้ง จำนวนลูกปลา 10-30 เปอร์เซ็นต์ที่คัดเก็บนั้นทำการขุนต่อไปอีกระยะลูกปลาจะเริ่มลอกให้เห็นบ้างแล้ว ให้แยกตัวที่เริ่มลอกสีให้เห็นออกมาเลี้ยงเดี่ยวเพื่อให้ตัวที่ลอกเกิดความสมบูรณ์เต็มที่ ตัวที่ลอกสีผิวจะมีประมาณ 5-30 เปอร์เซ็นต์จากจำนวนลูกปลาที่คัดเก็บไว้[1] [2]

อ้างอิง[แก้]

  1. เท็กซัสแดง ปลาหมอสีในเมืองไทย หน้า 14: เดลินิวส์: 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
  2. เท็กซัสแดงปลาแดงอมตะ (ไทย)