ข้ามไปเนื้อหา

ปลาหมอแรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Mikrogeophagus)
ปลาหมอแรม
ปลาหมอแคระแรมโบลิเวีย (M. altispinosus) ตัวผู้ (♂)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Cichlidae
วงศ์ย่อย: Geophaginae
สกุล: Mikrogeophagus
Frey, 1957
ชนิดต้นแบบ
Apistogramma ramirezi
G. S. Myers & Harry, 1948
ชนิด
ชื่อพ้อง
  • Microgeophagus Frey, 1957 (ไม่สามารถใช้ได้)
  • Microgeophagus Axelrod, 1971
  • Papiliochromis Kullander, 1977[1]

ปลาหมอแรม หรือ ปลาหมอไมโครจีโอฟากัส (อังกฤษ: Ram cichlid) เป็นปลาสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) จัดเป็นปลาหมอแคระสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Mikrogeophagus หรือ Microgeophagus (ชื่อพ้อง-/ไม-โคร-จี-โอ-ฟา-กัส/)[2]

เป็นปลาที่มีสีสันสวยงามทั้งตัวผู้และตัวเมีย มีขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 8 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแม่น้ำอเมซอนและโอริโนโค ในทวีปอเมริกาใต้

นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะการเลี้ยงในตู้ไม้น้ำ ซึ่งปัจจุบันได้มีการเพาะขยายพันธุ์จนมีความหลากหลายไปจากดั้งเดิมในธรรมชาติ เช่น ปลาบอลลูน ที่มีลำตัวอ้วนกลมและสั้นเหมือนลูกบอล ปลาหางยาวที่ดูคล้ายปลาทอง หรือที่มีสีฟ้าแวววาวทั้งตัว

มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ

  • Mikrogeophagus altispinosus (ปลาหมอแคระแรมโบลิเวีย หรือ แรมโบลิเวีย)
  • Mikrogeophagus ramirezi (ปลาหมอแคระแรมเจ็ดสี หรือ แรมเจ็ดสี)

แม้จะได้ชื่อว่าเป็นปลาหมอแคระ แต่ปลาในสกุลไมโครจีโอฟากัสนี้จะมีนิสัยก้าวร้าวห่วงถิ่น และจะกัดและข่มขู่กันเองภายในฝูง มีพฤติกรรมวางไข่บนวัสดุผิวเรียบแบน เช่น ก้อนหินหรือใบไม้ขนาดใหญ่ สามารถวางไข่ได้ 200 ฟอง พ่อและแม่ปลาช่วยกันเลี้ยงดูแลไข่และลูกปลาวัยอ่อน แต่กระนั้นก็ยังคงพฤติกรรมกัดกันเองอยู่ ลูกปลาจึงมักว่ายกระจัดกระจาย ทำให้ถูกปลาชนิดอื่นกินเป็นอาหารอยู่บ่อย ๆ [3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://research.calacademy.org/redirect?url=http://researcharchive.calacademy.org/research/ichthyology/catalog/fishcatget.asp&tbl=genus&genid=9717
  2. Mikrogeophagus (Genus) (อังกฤษ)
  3. อ๊อด Melanochromis / Apistoensis เปิดคัมภีร์ปลาหมอแคระ (ตอนที่ 1) คอลัมน์ Wild Ambition หน้า 85 นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 6 ปีที่ 1 ธันวาคม 2010

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Mikrogeophagus ที่วิกิสปีชีส์