ลาลับ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลาลับ
ลาลับซึ่งประกอบด้วยผักและซัมบัล
ชื่ออื่นLalap
แหล่งกำเนิดอินโดนีเซีย
ภูมิภาคชวาตะวันตก
ผู้สร้างสรรค์อาหารซุนดา
อุณหภูมิเสิร์ฟเย็นหรืออุณหภูมิห้อง
ส่วนผสมหลักผักดิบหลายชนิดกินกับซัมบัล เตอราซี

ลาลับ (Lalab,lalap) เป็นอาหารซุนดา ที่ประกอบด้วยผักดิบหลายชนิดกินกับน้ำพริกกะปิแบบพื้นบ้านหรือซัมบัลเตอราซี มีจุดกำเนิดที่ชวาตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย แต่ดั้งเดิม อาหารชนิดนี้ปรุงจากผักที่รับประทานได้ในท้องถิ่นของซุนดา ในปัจจุบันลาลับจะประกอบด้วย กะหล่ำปลี แตงกวา ผักกาดหอม, ถั่วแขก ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ มะเขือ, แมงลัก, ผักโขม, ผักบุ้ง, ใบมันสำปะหลัง ใบมะละกอ ฟักแม้วและมะเขือพวง ในบางครั้งจะใส่ สะตอ และลูกเนียง[1] ผักส่วนใหญ่ที่รับประทานในลาลับจะเตรียมด้วยการล้างในน้ำสะอาดแล้วรับประทานดิบ แต่บางชนิดก็นำไปต้ม นึ่งหรือผัดก่อน เช่น สะตอ อาจจะรับประทานดิบหรือผัด ส่วนฟักแม้ว ผักบุ้ง และใบมันสำปะหลัง มักจะต้มก่อน รับประทานกับซัมบัลเตอราซี ซึ่งมีรสเผ็ด

ในปัจจุบัน ลาลับเป็น อาหารอินโดนีเซียที่ได้รับความนิยมทั่วประเทศ โดยรับประทานถัดจากอาหารจานหลัก เช่น ไก่ย่างหรือไก่ทอดปลาดุกทอด ปลากระดี่ทอด หรือปลาย่าง อาหารจานนี้ใกล้เคียงกับอูลัมในมาเลเซีย

สารอาหาร[แก้]

ลาลับเป็นอาหารที่มีวิตามิน ธาตุอาหารและเส้นใยสูง ผักที่รับประทานในลาลับมักมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ผักบางชนิดเป็นพืชสมุนไพร [2]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Lalab dalam Kehidupan Masyarakat Sunda". 20 Oct 2008.
  2. "Khasiat Lalapan (in Indonesian)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-16. สืบค้นเมื่อ 2012-07-16.