ผักกาดหอม
![]() | บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
ผักกาดหอม | |
---|---|
![]() | |
ทุ่งผักกาดแก้วในรัฐแคลิฟอร์เนีย | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ![]() | |
อาณาจักร: | พืช |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง |
เคลด: | พืชดอก |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ |
เคลด: | แอสเทอริด |
อันดับ: | อันดับทานตะวัน |
วงศ์: | วงศ์ทานตะวัน |
เผ่า: | Cichorieae |
สกุล: | สกุลผักกาดหอม L. |
สปีชีส์: | Lactuca sativa |
ชื่อทวินาม | |
Lactuca sativa L. | |
ชื่อพ้อง[1][2] | |
|
ผักสลัด หรือ ผักกาดหอม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lactuca sativa) เป็นพืชในวงศ์ Asteraceae ลำต้นเตี้ย แต่ส่วนที่เจริญมากที่สุดคือใบ แต่ละสายพันธุ์ก็มีช่วงฤดูกาลที่เหมาะสมไม่เหมือนกัน มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและยุโรป ประเทศจีนปลูกผักกาดหอมมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ผักกาดหอมมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกเช่น ผักสลัด ผักกาดยี พังฉ้าย เป็นต้น
มนุษย์นำใบของผักกาดหอมมาบริโภค มักใช้เป็นส่วนประกอบของสลัด แซนด์วิช แฮมเบอร์เกอร์ ทาโก้ หรือรับประทานเป็นผักสด แกล้มกับอาหารรสจัดจำพวกยำหรือลาบ สาคูไส้หมู หรือข้าวเกรียบปากหม้อ หรือแม้แต่ใช้เป็นผักตกแต่งเพื่อความสวยงาม ผักกาดหอมมีคุณค่าทางโภชนาการสูง[ต้องการอ้างอิง] ความต้องการใช้ผักกาดหอมของผู้บริโภคมีอยู่ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงที่มีเทศกาลงานต่าง ๆ เช่น งานปีใหม่ จะขายดีเป็นพิเศษ
สรรพคุณ[แก้]
ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
- ผักกาดหอม มีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด จึงช่วยในการป้องกันและต่อต้านมะเร็งได้ (ใบ)[2]
- น้ำคั้นจากทั้งต้น นำมาใช้ปรุงเป็นยาบำรุงร่างกายได้ (ทั้งต้น)[4]
- ช่วยในการนอนหลับ ทำให้จิตใจสงบและผ่อนคลาย แก้อารมณ์เสียง่าย โดยดร. ดันแคน (แพทย์ยุคกลางชาวอังกฤษ) ในใบหรือก้านของผักกาดหอมจะมีสารรสขมที่มีชื่อว่า “แลกทูคาเรียม” (Lactucarium) ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติทำให้เกิดอาการง่วงนอน # ทำให้จิตใจสงบและผ่อนคลาย การรับประทานผักกาดหอมแบบสด ๆ ก่อนนอนหรือรับประทานเป็นอาหารมื้อเย็น จึงช่วยทำให้เรานอนหลับได้สบายยิ่งขึ้นนั่นเอง[2],[5]
- ผักกาดหอมมีน้ำเป็นองค์ประกอบโดยส่วนมาก จึงเป็นผักที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน[3]
- ผักกาดหอมอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ที่ช่วยเสริมการสร้างเม็ดเลือด หรือฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง และยังช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย หรือมีสมาธิสั้น การเรียนรู้ลดลง[3]
- น้ำคั้นจากใบ ช่วยแก้ไข้ได้ (ใบ)[2],[5]
- น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาแก้ไอได้เป็นอย่างดี (ใบ)[2],[5]
- เมล็ดผักกาดหอมตากแห้งประมาณ 5 กรัม นำมาชงกับน้ำร้อน 1 ถ้วยกาแฟ ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น ถ้าหากใช้ต้นให้ใช้เพียงครึ่งต้นทานเพื่อช่วยขับเสมหะและแก้อาการไอ และไม่ควรใช้มากเกินไป (เมล็ด,ต้น)[5]
- สรรพคุณผักกาดหอม ช่วยขับเหงื่อ (น้ำคั้นจากใบ)[2],[5]
- ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (น้ำคั้นจากทั้งต้น)[4]
- การรับประทานผักกาดหอมจะช่วยในการขับถ่าย ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการท้องผูกได้ (ทั้งต้น)[4]
- น้ำคั้นจากทั้งต้น ใช้เป็นยาระบายได้ (ทั้งต้น)[4]
- ช่วยขับลมในลำไส้ (น้ำคั้นจากทั้งต้น)[4]
- ช่วยขับพยาธิ (น้ำคั้นจากทั้งต้น)[4]
- ช่วยขับปัสสาวะ (น้ำคั้นจากใบ,เมล็ด)[2],[5]
- ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร (เมล็ด)[5]
- เมล็ดผักกาดหอม ใช้รักษาโรคตับ (เมล็ด)[5]
- น้ำคั้นจากทั้งต้นใช้ทาฝีมะม่วงที่รีดเอาหนองออกแล้วได้ (ทั้งต้น)[4]
- ช่วยระงับอาการปวด (เมล็ด)[5]
- ช่วยแก้อาการปวดเอว (เมล็ด)[5]
- เมล็ดผักกาดหอม สรรพคุณช่วยขับน้ำนมของสตรีหลังคลอดบุตร (เมล็ด)[2],[5]
การเพาะปลูก[แก้]
ผักกาดหอมเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน แต่ก็สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด ดินที่ใช้ปลูกต้องระบายน้ำได้ดี มีค่า pH ในดิน 6.5-7 ขุดดินเป็นร่องตื้นแล้วหว่านเมล็ดลงไป รดน้ำวันละ 2 เวลา เช้า-เย็น อย่างสม่ำเสมอ เมื่อผักกาดหอมงอกแล้วอาจต้องมีการย้ายกล้าออกเพื่อไม่ให้อยู่ติดกันแน่นเกินไป ผักกาดหอมเป็นผักที่ไม่ค่อยมีแมลงรบกวน จึงไม่จำเป็นต้องฉีดยาฆ่าแมลง แมลงศัตรูพืชที่พบบ้างก็มีเพลี้ย กับหนอนกระทู้หอม ซึ่งพบมากในฤดูหนาวแถวภาคกลางและภาคเหนือ อายุการเก็บเกี่ยวผักกาดหอมประมาณ 40-50 วัน (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ วิกิตำรา)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Lactuca sativa". Kew Royal Botanical Gardens. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2012-11-02. สืบค้นเมื่อ 2 April 2012.
- ↑ "Lactuca serriola L". United States Department of Agriculture. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 5 June 2012. สืบค้นเมื่อ 2 April 2012.
วรรณกรรม[แก้]
- Bradley, Fern Marshall; Ellis, Barbara W.; Martin, Deborah L., บ.ก. (2009). The Organic Gardener's Handbook of Natural Pest and Disease Control. Rodale. ISBN 978-1-60529-677-7.
- Davey, M. R.; Anthony, P.; Van Hooff, P.; Power, J. B.; Lowe, K. C. (2007). "Lettuce". Transgenic Crops. Biotechnology in Agriculture and Forestry. 59. Springer. ISBN 978-3-540-36752-9.
- Katz, Solomon H.; Weaver, Williams Woys (2003). Encyclopedia of Food and Culture. 2. Scribner. ISBN 978-0-684-80565-8.
- Weaver, Williams Woys (1997). Heirloom Vegetable Gardening: A Master Gardener's Guide to Planting, Seed Saving and Cultural History. Henry Holt and Company. ISBN 978-0-8050-4025-8.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Lactuca sativa
- การปลูกผักกาดหอมเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ Archived 2009-05-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน