ลากูนาเดบัย
ลากูนาเดบัย | |
---|---|
ทิวทัศน์ของทะเลสาบจากบัย | |
ที่ตั้ง | |
พิกัด | 14°23′00″N 121°15′00″E / 14.38333°N 121.25000°E |
ชนิด | ทะเลสาบหลุมปล่องภูเขาไฟ (ทฤษฎี)/ ทะเลสาบธรณีแปรสัณฐาน |
แหล่งน้ำไหลเข้าหลัก | 21 ลำน้ำสาขา |
แหล่งน้ำไหลออก | แม่น้ำปาซิก |
ประเทศในลุ่มน้ำ | ฟิลิปปินส์ |
ช่วงยาวที่สุด | 47.3 km (29.4 mi) (E-W) |
ช่วงกว้างที่สุด | 40.5 km (25.2 mi) (N-S) |
พื้นที่พื้นน้ำ | 911–949 km² (352–366 sq mi) |
ความลึกโดยเฉลี่ย | 2.5 m (8 ft 2 in) |
ความลึกสูงสุด | 20 m (66 ft) |
ความยาวชายฝั่ง1 | 285 km (177 mi) |
ความสูงของพื้นที่ | น้อยกว่า 2 m (6 ft 7 in) |
เกาะ | เกาะตาลิม |
1 ความยาวแนวชายฝั่งไม่ได้ถูกวัดอย่างละเอียด |
ลากูนาเดบัย (สเปน: Laguna de Bay, แปลว่า "ลากูนแห่งบัย"; ตากาล็อก: Lawa ng Bay; [baɪ]) หรือเรียกว่า ทะเลสาบลากูนา (อังกฤษ: Laguna Lake) เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมโทรมะนิลา ระหว่างจังหวัดลากูนาทางใต้และรีซัลทางเหนือ เป็นทะเลสาบน้ำจืด มีพื้นที่ผิว 911–949 ตารางกิโลเมตร (352–366 ตารางไมล์) โดยมีความลึกเฉลี่ยประมาณ 2.8 เมตร (9 ฟุต 2 นิ้ว) และมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณหนึ่งเมตร ทะเลสาบมีรูปร่างเหมือนตีนกา มีคาบสมุทรสองแห่งยื่นออกมาจากชายฝั่งทางเหนือ ระหว่างคาบสมุทรเหล่านี้ส่วนตรงกลางจะปกคลุมแอ่งภูเขาไฟลากูนาขนาดใหญ่ กลางทะเลสาบมีเกาะตาลิมขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่ภายใต้เขตเทศบาลบินังโกนัน และคาร์โดโน
ทะเลสาบเป็นแหล่งปลาน้ำจืดหลักแหล่งหนึ่งในประเทศ น้ำของทะเลสาบไหลลงสู่อ่าวมะนิลาผ่านทางแม่น้ำปาซิก
รากศัพท์
[แก้]ลากูนาเดบัย หมายถึง "ลากูนของ[เมือง]บัย" ซึ่งพูดถึงเมืองริมทะเลสาบบัย (ออกเสียง "Bä'ï") ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจังหวัดลากูนาในอดีต[1] การสะกดชื่อเมืองแบบอื่น ๆ ได้แก่ "Bae" หรือ "Ba-I" และในสมัยอาณานิคมตอนต้น "Bayi" หรือ "Vahi" ดังนั้นทะเลสาบบางครั้งจึงสะกดว่า "Laguna de Bae" หรือ "Laguna de Ba-i" ส่วนใหญ่โดยชาวบ้าน[1] ชื่อเมืองนี้เชื่อกันว่ามาจากคำภาษาตากาล็อกที่แปลว่า "นิคม" (ฺbahayan) และเกี่ยวข้องกับคำว่า "บ้าน" (bahay) "ชายฝั่ง" (baybayin) และ "เขตแดน" (baybay) และคำอื่น ๆ การนำภาษาอังกฤษมาใช้ในช่วงที่ชาวอเมริกันยึดครองฟิลิปปินส์ทำให้เกิดความสับสนเนื่องจากคำว่า "bay" (ออกเสียงเบย์) ที่แปลว่า "อ่าว" ในภาษาอังกฤษทำให้เกิดการออกเสียงผิด[1]
ภูมิศาสตร์
[แก้]ลากูนาเดบัย เป็นแหล่งน้ำจืดตื้นขนาดใหญ่ใจกลางเกาะลูซอน มีพื้นที่รวมประมาณ 911 ตารางกิโลเมตร (352 ตารางไมล์) และแนวชายฝั่ง 220 กิโลเมตร (140 ไมล์)[2] ถือเป็นแหล่งน้ำบนบกที่ใหญ่เป็นอันดับสามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากโตนเลสาบในประเทศกัมพูชา และทะเลสาบโตบาในเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ลากูนาเดบัยล้อมรอบด้วยจังหวัดลากูนาทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศตะวันตกเฉียงใต้ จังหวัดรีซัลทางทิศเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ และเมโทรมะนิลาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลสาบมีความลึกเฉลี่ย 2.8 เมตร (9 ฟุต 2 นิ้ว) และน้ำส่วนเกินจะถูกระบายออกทางแม่น้ำปาซิก[3][4]
ทะเลสาบได้รับน้ำจากลุ่มน้ำขนาด 45,000 ตารางกิโลเมตร (17,000 ตารางไมล์) และแม่น้ำสาขาใหญ่ 21 แห่ง ในจำนวนนี้คือ แม่น้ำปักซันจันซึ่งเป็นแหล่งน้ำให้กับทะเลสาบ 35%, แม่น้ำซานตาครูซซึ่งเป็นแหล่งน้ำให้กับทะเลสาบ 15% และแม่น้ำอื่น ๆ[2] [5]
ส่วนตรงกลางของลากูนาเดบัยระหว่างภูเขาเซมบราโนและเกาะตาลิมคือแอ่งภูเขาไฟลากูนาที่เชื่อกันว่าเกิดจากการปะทุของภูเขาไฟครั้งใหญ่สองครั้ง เมื่อประมาณ 1 ล้านถึง 27,000–29,000 ปีก่อน ประวัติศาสตร์ภูเขาไฟสามารถเห็นได้จากการมีอยู่ของมาร์รอบพื้นที่[6][7]
การใช้
[แก้]ทะเลสาบเป็นทรัพยากรอเนกประสงค์ เพื่อลดน้ำท่วมในกรุงมะนิลาตามแนวแม่น้ำปาซิก ในช่วงที่มีฝนตกหนัก กระแสน้ำสูงสุดของแม่น้ำมาริกินาจะถูกเปลี่ยนเส้นทางผ่านทางน้ำท่วมมังกาฮันไปยังลากูนาเดบัย ซึ่งทำหน้าที่เป็นอ่างเก็บน้ำชั่วคราว กรณีระดับน้ำในทะเลสาบสูงกว่าแม่น้ำมาริกินา กระแสน้ำจะกลับทิศ น้ำจากทั้งแม่น้ำมาริกินาและทะเลสาบจะไหลผ่านแม่น้ำปาซิกไปยังอ่าวมะนิลา[8]
ทะเลสาบถูกใช้เป็นช่องทางเดินเรือสำหรับเรือโดยสารตั้งแต่สมัยอาณานิคมของสเปน นอกจากนี้ยังใช้เป็นแหล่งน้ำสำหรับเขื่อนคาลิรายาในเมืองคาลายานในจังหวัดลากูนา การใช้งานอื่นๆ ได้แก่ การประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ นันทนาการ การสนับสนุนอาหารสำหรับอุตสาหกรรมเป็ดที่กำลังเติบโต การชลประทาน และถังเก็บ "เสมือน" สำหรับน้ำทิ้งจากครัวเรือน การเกษตร และการทิ้งน้ำเสียอุตสาหกรรม[3] Because of its importance in the development of the Laguna de Bay Region, unlike other lakes in the country, its water quality and general condition are closely monitored.[9] เนื่องจากมีความสำคัญในการพัฒนาภูมิภาค ลากูนาเดบัยจึงมีการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำและสภาพทั่วไปอย่างใกล้ชิด แตกต่างจากทะเลสาบอื่น ๆ ในประเทศ แหล่งน้ำที่สำคัญนี้ได้รับผลกระทบอย่างมากจากแรงกดดันด้านการพัฒนา เช่น การเติบโตของประชากร การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว และการจัดสรรทรัพยากร[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Sheniak, David; Feleo, Anita (2002), "Rizal and Laguna: Lakeside Sister Provinces (Coastal Towns of Rizal and Metro Manila)", ใน Alejandro, Reynaldo Gamboa (บ.ก.), Laguna de Bay: The Living Lake, Unilever Philippines, ISBN 971-922-721-4
- ↑ 2.0 2.1 LLDA 1995, p. 4.
- ↑ 3.0 3.1 Gonzales, E. (1987). "A socio economics geography (1961–85) of the Laguna lake resources and its implications to aquatic resources management and development of the Philippine islands" Dissertation. Cambridge University, England, United Kingdom
- ↑ Guerrero, R. & Calpe, A. T. (1998). "Water resources management : A global priority". National Academy of Science and Technology, Manila, Philippines
- ↑ Nepomuceno, Dolora N. (2005-02-15). "The Laguna de Bay and Its Tributaries Water Quality Problems, Issues and Responses" (PDF). The Second General Meeting Of the Network of Asian River Basin Organizations. Indonesia: Network of Asian River Basin Organizations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 7, 2006. สืบค้นเมื่อ 18 February 2007.
- ↑ Santos-Borja, Adelina C. (2008). "Multi-Stakeholders’ Efforts for the Sustainable Management of Tadlac Lake, The Philippines" เก็บถาวร 2018-04-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Research Center for Sustainability and Environment, Shiga University.
- ↑ "Laguna Caldera". Global Volcanism Program. Smithsonian Institution. สืบค้นเมื่อ 2010-03-13.
- ↑ LLDA 1995, pp. 4–6.
- ↑ Department of Environment and Natural Resources, 1996
- ↑ Batu, M. (1996) Factors affecting productivity of selected inland bodies of water in the Philippines: The case of the Laguna Lake 1986 to 1996. Undergraduate thesis. San Beda College, Manila.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ ลากูนาเดบัย ที่โอเพินสตรีตแมป
- หน่วยงานพัฒนาทะเลสาบลากูนา
- กรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ