รี ชุน-ฮี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รี ชุน-ฮี
รี ชุน-ฮี
เกิด (1943-07-08) 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 (80 ปี)
ทงช็อน จังหวัดคังว็อน เกาหลีของญี่ปุ่น
พลเมืองเกาหลีเหนือ
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยการละครเวทีและภาพยนตร์เปียงยาง
ปีปฏิบัติงาน1971–
นายจ้างโทรทัศน์กลางเกาหลี
มีชื่อเสียงจากผู้ประกาศข่าวของช่องเคซีทีวี
ชื่อเกาหลี
โชซ็อนกึล
리춘히
ฮันจา
อาร์อาร์Ri Chun(-)hui
เอ็มอาร์Ri Ch'unhŭi

รี ชุน-ฮี (เกาหลี: 리춘히, อักษรโรมัน: Ri Chun-hee, Ri Chun Hee และ Ri Chun Hui,[1] ออกเสียง: /ɾi tsʰun çi/; เกิด 8 กรกฎาคม 1943) เป็นผู้ประกาศข่าวชาวเกาหลีเหนือของช่องโทรทัศน์กลางเกาหลี (เคซีทีวี) เธอเป็นที่รู้จักจากวิธีการอ่านข่าวของเธอที่เต็มไปด้วยอารมณ์และเผ็ดร้อน เคยมีการบรรยายลักษณะการอ่านข่าวของเธอไว้ว่า "ใส่อารมณ์", "คุกคามกลาย ๆ" และ "เกรี้ยวกราด"[2]

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา[แก้]

รีเกิดเมื่อปี 1943 ในครอบครัวยากจนในทงช็อน จังหวัดคังว็อน ประเทศเกาหลีใต้ปกครองญี่ปุ่น รีจบการศึกษาด้านศิลปะการแสดงจากมหาวิทยาลัยการละครเวทีและภาพยนตร์เปียงยาง และได้รับการว่าจ้างเป็นผู้ประกาศข่าวให้แก่เคซีทีวี[3][4]

อาชีพการงาน[แก้]

รีเริ่มทำงานออกโทรทัศน์ในปี 1971[4][5] และกลายมาเป็นผู้ประกาศข่าวหลักของช่องเคซีทีวี และปรากฏตัวทางโทรทัศน์อยู่เรื่อย ๆ นับตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา[2] เธอมีอาชีพการงานที่เคซีทีวียาวนานมากกว่าคนส่วนใหญ่ที่มักถูกปลดจากตำแหน่งระหว่างทำงาน แต่รีไม่เคยโดนอะไรเลยตลอดการทำงานของเธอ[2] เธอประกาศเกษียณอายุจากงานอ่านช่าวในเดือนมกราคม 2012 และระบุกับสื่อของจีนว่าเธอจะหันไปทำงานเบื้องหลังและช่วยฝึกผู้ประกาศข่าวรุ่นใหม่ ๆ แทน[6] เดลีเทลิกราฟ ของอังกฤษเคยระบุว่าเธอ "ได้รับความไว้วางใจให้ประกาศช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประวัติศาสตร์เกาหลีเหนือ"[7] บ็อบ วุดเวิร์ด นักข่าวชาวอเมริกัน เปรียบเทียบเธอเป็นวอลเตอร์ ครองไคต์ แห่งเกาหลีเหนือ ในหนังสือเรื่อง เฟียร์: ทรัมป์อินเดอะไวต์เฮาส์ ของเขาซึ่งตีพิมพ์ในปี 2018[8]

รีออกจากการเกษียณงานของเธอเป็นครั้งคราวเพื่อประกาศข่าวสำคัญของเกาหลีเหนือ เธอเคยประกาศข่าวเรื่องการทดสอบระเบิดไฮโดรเจนของเกาหลีเหนือในเดือนมกราคม 2016[9] การโจมตีด้วยขีปนาวุธในเดือนกุมภาพันธ์ 2016[10] การทดสอบระเบิดนิวเคลียร์เดือนกันยายน 2016[11] เดือนกันยายน 2017[12] และการทดลองขีปนาวุธในเดือนพฤศจิกายน 2017[13] ไปจนถึงการประกาศการพักการทดลองขีปนาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธข้ามทวีปในปี 2018[14] และการพบกันของคิม จ็อง-อึน กับดอนัลด์ ทรัมป์ ในเดือนมิถุนายน 2018[15] เมื่อ 15 เมษายน 2018 รีเป็นคนแรกที่ได้อ่านรายงานชื่อของรี ซ็อล-จู ภรรยาคิม จ็อง-อึน ว่าเป็น "สตรีหมายเลขหนึ่ง" เป็นครั้งแรก[16][17]

ในปี 2022 คิม จ็อง-อึน ได้มอบบ้านพักหรูหราให้แก่รีและครอบครัว รวมถึงแก่บุคคลระดับบนคนอื่น ๆ ของเกาหลีเหนือ ในเปียงยาง[18]

รูปแบบ[แก้]

ขณะรีประกาศข่าวทางการว่าด้วยการเสียชีวิตของคิม อิล-ซุง ในปี 1994 รีร้องไห้ระหว่างการออกอากาศ เมื่อเธอประกาศข่าวทางการว่าด้วยการเสียชีวิตของคิม จ็อง-อิล ในปี 2011 เธอก็กลั้นน้ำตาไว้ขณะออกอากาศเช่นกัน[19] รีมักแต่งกายออกอากาศในชุดสูทแบบตะวันตกหรือในชุดโชซ็อน-อดแบบเกาหลี[11] เธอได้รับชื่อเล่นว่า "นางชมพู" ("Pink Lady") และ "ผู้ประกาศข่าวเกาหลีเหนือคนนั้น" ("North Korean News Lady")[20]

อ้างอิง[แก้]

  1. Makino, Yoshihiro (16 December 2011). "North Korea's 'People's broadcaster' missing". Asia & Japan Watch. Asahi Shimbun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2013.
  2. 2.0 2.1 2.2 Madden, Michael (2010). Bermudez, Joseph S., Jr. (บ.ก.). "Ri Chun Hui" (PDF). KPA Journal. 1 (10): 4–5. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2011.
  3. Werman, Marco; Strother, Jason (8 December 2009). "The voice of North Korea". The World. Public Radio International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2013.
  4. 4.0 4.1 "북성명 때마다 '전투적인 그녀'". The Chosun Ilbo (ภาษาเกาหลี). Seoul. 16 April 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2015.
  5. Herskovitz, Jon; Kim, Christine; Popeski, Ron (18 November 2009). "The face that launched a thousand North Korean tirades". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2016.
  6. "Archived copy". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-07. สืบค้นเมื่อ 2017-11-01.{{cite news}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  7. Smith, Nicola; Riley-Smith, Ben (11 June 2018). "North Koreans finally told about Kim Jong-un's Singapore summit with Trump". The Telegraph.
  8. Woodward, Bob (2018). Fear: Trump in the White House. Simon & Schuster. p. 91. ISBN 978-1-5011-7553-4. on September 9, 2016, ... North Korea had detonated a nuclear weapon ... Seismic monitors had instantly revealed that the vibrations recorded were not caused by an earthquake. ... Dispelling any doubt, North Korea's 73-year-old female version of Walter Cronkite, Ri Chun-hee, appeared on state-controlled television to announce the test.
  9. "Famed N. Korean newscaster comes out of retirement to anchor story on purported H-bomb detonation". Women in the World in Association with The New York Times - WITW. 6 January 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2016. สืบค้นเมื่อ 6 January 2016.
  10. Demetriou, Danielle (7 February 2016). "North Korea launches missile in defiance of UN sanctions". Telegraph.co.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2016. สืบค้นเมื่อ 7 February 2016.
  11. 11.0 11.1 "What we know about Ri Chun-hee, the most famous woman in North Korea". BBC Newsbeat. 9 September 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 September 2016. สืบค้นเมื่อ 9 September 2016.
  12. Ji, Dagyum; Hotham, Oliver (3 September 2017). "North Korea announces successful test of hydrogen bomb". NK News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2017. สืบค้นเมื่อ 3 September 2017.
  13. "North Korea says new missile puts all of US in striking range". BBC News. 29 November 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2017. สืบค้นเมื่อ 29 November 2017.
  14. "North Korea 'suspends' missile and nuclear tests". www.msn.com. สืบค้นเมื่อ 2018-04-21.
  15. Smith, Nicola; Riley-Smith, Ben (11 June 2018). "North Koreans finally told about Kim Jong-un's Singapore summit with Trump". The Telegraph.
  16. "Kim Jong-un elevates wife to position of North Korea's first lady". The Guardian. Seoul. Agence France-Presse. 2018-04-19. สืบค้นเมื่อ 2018-04-19.
  17. "Ri Sol Ju Attends Chinese Ballet Performance | North Korea Leadership Watch". www.nkleadershipwatch.org. สืบค้นเมื่อ 2018-07-27.
  18. "Kim gives North Korea's most famous newscaster a luxury home". AP NEWS (ภาษาอังกฤษ). 14 April 2022. สืบค้นเมื่อ 14 April 2022.
  19. Harris, Elizabeth A.; Mackey, Robert (19 December 2011). "The Lede: On North Korean State Television, News of the Leader's Death and Floods of Tears". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2015.
  20. Perper, Rosie. "North Korean state media's most famous announcer is a 74-year-old grandmother who Trump said should be on US cable news". Business Insider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-04-14.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]