ริดวัน กามิล
ริดวัน กามิล | |
---|---|
รูปถ่ายอย่างเป็นทางการ | |
ผู้ว่าการจังหวัดชวาตะวันตก คนที่ 14 | |
ดำรงตำแหน่ง 5 กันยายน ค.ศ. 2018 – 5 กันยายน ค.ศ. 2023 | |
รอง | อุอุ รุซานุล อุลุม |
ก่อนหน้า |
|
ถัดไป | เบย์ มัจมุดิน (รักษาการ) |
นายกเทศมนตรีเมืองบันดุง คนที่ 15 | |
ดำรงตำแหน่ง 16 กันยายน ค.ศ. 2013 – 5 กันยายน ค.ศ. 2018 | |
รอง | โอเดด มุฮัมหมัด ดานียัล |
ก่อนหน้า | ดาดะ โรซาดะ |
ถัดไป | โอเดด มุฮัมหมัด ดานียัล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | โมจามัด ริดวัน กามิล 4 ตุลาคม ค.ศ. 1971 บันดุง อินโดนีเซีย |
พรรคการเมือง | กลการ์ |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | อิสระ (ค.ศ. 2012 – ค.ศ. 2023) |
คู่สมรส | อะตาลียา ปรารัตยา (ตั้งแต่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1996) |
บุตร | 3 (บุตรบุญธรรม 1) |
บุพการี |
|
ศิษย์เก่า | |
อาชีพ |
|
ชื่อเล่น | กัง เออะมิล |
โมจามัด ริดวัน กามิล (อินโดนีเซีย: Mochamad Ridwan Kamil) (เกิด วันที่ 4 ตุลาคม 1971) หรือนิยมเรียกกัน กัง เออะมิล (Kang Emil - 'คุณกามิล' ในภาษาซุนดา) หรือ RK เป็นสถาปนิกและนักการเมืองชาวอินโดนีเซียที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการจังหวัดชวาตะวันตกคนที่ 15 ซึ่งเป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุด (มีประชากรมากที่สุด) ของอินโดนีเซีย นอกจากนี้เขายังดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองบันดุงตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 ถึง ค.ศ. 2018 ในฐานะสถาปนิก เขายังออกแบบโครงสร้างที่เป็นสัญลักษณ์ในอินโดนีเซียและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียร่วมกับบริษัทสถาปัตยกรรมยูแบน (Urbane) ของเขา และเคยเป็นอาจารย์ที่คณะสถาปัตยกรรม สถาบันเทคโนโลยีบันดุง
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ริดวัน กามิล เกิดที่เมืองบันดุง เป็นบุตรคนที่สองของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยปะจาจารันชื่อ อะเจ มิสบัจ มูฮ์ยิดดิน [1] เขาเรียนชั้นประถมที่ SDN Banjarsari III Bandung ระหว่างปี ค.ศ. 1978 ถึง ค.ศ. 1984 จากนั้นจึงเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ SMP Negeri 2 Bandung ระหว่างปี ค.ศ. 1984 – ค.ศ. 1987 และ SMA Negeri 3 Bandung ระหว่างปี ค.ศ. 1987 ถึง ค.ศ. 1990 ตามลำดับ จากนั้น ริดวัน กามิล ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่สถาบันเทคโนโลยีบันดุงและสำเร็จการศึกษาในปี ค.ศ. 1995 ด้วยปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรม จากนั้นเขาเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ เป็นเวลา 2 ปี จนกระทั่งได้รับปริญญาโทด้าน Urban Design [2] หลังจากสำเร็จการศึกษาปริญญาโทในสหรัฐอเมริกาแล้ว ริดวัน กามิล กลับมายังอินโดนีเซียและดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำที่สถาบันเทคโนโลยีบันดุงเป็นเวลา 14 ปีในหลักสูตรการศึกษาทางวิศวกรรมสถาปัตยกรรม ก่อนที่จะเข้าสู่โลกของการเมืองในที่สุด
ริดวัน กามิล พบกับอะตาลียา ปรารัตยา ภรรยาของเขา ในงานนิทรรศการที่บันดุง [3] และมีลูกด้วยกัน 2 คนคือ เอมเมอริล คาห์น มุมตัดซ์ (ค.ศ. 1999 – ค.ศ. 2022) และกามิลลียา ลาเอทิทียา อัซซารา (เกิดปี ค.ศ. 2004) และรับลูกบุญธรรมหนึ่งคนคือ อาร์คานา เอดัน มิสบัค (เกิดปี ค.ศ. 2020) เอมเมอริล บุตรชายคนโต เสียชีวิตที่แบร์น สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 ขณะอายุได้ 22 ปี [4][5] ขณะเขาว่ายน้ำที่แม่น้ำอาเรอ [6] วันที่ 9 มิถุนายน ศพของเขาถูกพบที่เขื่อน Engehalde ในเมืองแบร์น [7][8] การเสียชีวิตของเขาได้รับความสนใจอย่างมากในอินโดนีเซีย โดยงานศพของเขาในเมืองบันดุงมีผู้เข้าร่วมหลายพันคน และมีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ของรัฐ [9]
การศึกษา
[แก้]ริดวัน กามิล ใช้ชีวิตเกือบทั้งชีวิตในเมืองบันดุง ซึ่งเขาเรียนในโรงเรียนรัฐบาลและศึกษาสถาปัตยกรรมที่สถาบันเทคโนโลยีบันดุงซึ่งเป็นสถาบันด้านวิศวกรรมชั้นนำของอินโดนีเซีย หลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับวิทยาลัย เขาเดินทางไปสหรัฐอเมริกาเพื่อฝึกงานในบริษัทสถาปัตยกรรม ก่อนที่จะได้รับทุนการศึกษาในปี ค.ศ. 1999 เพื่อศึกษาต่อที่วิทยาลัยการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ในสหรัฐอเมริกา เขาสำเร็จการศึกษาในปี ค.ศ. 2001 ด้วยปริญญาโทด้านการออกแบบเมืองและมีประสบการณ์การทำงานที่หน่วยงานของรัฐในเบิร์กลีย์[10][11] เขาได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารรัฐกิจ จากมหาวิทยาลัยดงอาในปี 2019 จากบทบาทในการพัฒนาการปกครองในจังหวัดชวาตะวันตก [12][13]
อาชีพการงาน
[แก้]หลังจากทำงานเป็นสถาปนิกในฮ่องกง ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2547 กามิลและหุ้นส่วนของเขาได้ก่อตั้งบริษัท Urbane [14] ซึ่งเป็นบริษัทสถาปัตยกรรมที่ตั้งอยู่ในเมืองบันดุง จังหวัดชวาตะวันตก เขานำการออกแบบที่ทันสมัยมาใช้ในงานของเขา ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ตึกพาณิชย์และหอคอยมหาวิทยาลัยไปจนถึงพิพิธภัณฑ์และมัสยิด นอกจากนี้ เขายังเป็นที่รู้จักจากการสร้างพื้นที่สาธารณะแบบเปิดโล่งในพื้นที่อยู่อาศัยที่มีผู้คนพลุกพล่านในเมืองบันดุง ซึ่งเป็นงานอาสาสมัครของเขา
รางวัล
[แก้]ในปี ค.ศ. 2006 กามิลได้รับรางวัล Young Creative Entrepreneur Award จาก British Council และเป็นตัวแทนของประเทศอินโดนีเซียในรางวัล International Young Design Entrepreneur of the Year[15]
Urbane Indonesia ติดอันดับหนึ่งในรางวัล BCI Asia Top 10 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 ถึง ค.ศ. 2010 และอีกครั้งในปี ค.ศ. 2012[16]
โครงการ
[แก้]กามิลเป็นผู้บุกเบิกขบวนการ 'Indonesia Berkebun' (อินโดนีเซียทำสวน) เพื่อสร้างสวนแบบสมัครเล่นในเมืองต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย[17] ซึ่งข้อมูลล่าสุดในปี ค.ศ. 2011 โครงการชุมชนได้รับการจัดตั้งขึ้นใน 14 เมืองในประเทศอินโดนีเซีย โดยมีสมาชิกเกือบ 4,000 ราย[18][19][20]
โครงการของริดวัน กามิล และ Urbane Indonesia ในอินโดนีเซีย ได้แก่
- มัสยิดใหญ่อัลจับบาร์ (Masjid Raya Al Jabbar) ในเมืองบันดุง,[21]
- อาคารสำนักงานบริษัทยูไนเต็ดแทรคเตอร์ (United Tractors) [16]
- มัสยิดอัลอิรชัด (Masjid Al-Irsyad) และโรงเรียนสอนศาสนาของมัสยิดในเมืองบันดุง [22]
- พิพิธภัณฑ์สึนามิในเมืองบันดาอาเจะฮ์
- การปรับปรุงอาคารมหาวิทยาลัยตารุมะนะกะรา 1 (Tarumanagara 1) และวิทยาเขตในเขตจาการ์ตาตะวันตก[23]
- ศูนย์การค้าราซูนา อีพิเซ็นทรัมในเขตจาการ์ตาใต้ [24]
โครงการในต่างประเทศ ได้แก่
- แผนพัฒนาอ่าวมารีนา ประเทศสิงคโปร์[25]
- มัสยิดกลางอิสลามกรุงปักกิ่ง
- แผนพัฒนาริมฝั่งน้ำในเราะซุลคัยมะฮ์[26]
- แผนพัฒนาร้านค้าริมฝั่งน้ำในซูโจว
- เทคพาร์คในเมืองคุนหมิง
- โครงการพัฒนาคลับเฮาส์สำหรับการท่องเที่ยวในเมืองโกลกาตา
การเมือง
[แก้]นายกเทศมนตรีเมืองบันดุง
[แก้]ริดวัน กามิล ก้าวเข้าสู่วงการการเมืองโดยการลงเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเมืองบันดุงในปี ค.ศ. 2013 ในฐานะผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้รับการสนับสนุนโดย พรรคยุติธรรมรุ่งเรือง (PKS) พรรคฝั่งนิยมอิสลาม และ พรรคขบวนการอินโดนีเซียยิ่งใหญ่ (เกอรินดรา) พรรคฝั่งชาตินิยม ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่กำลังมาแรงจากสองขั้วทางการเมืองของอินโดนีเซียที่ร่วมมือกันปฏิรูปเมืองและป้องกันไม่ให้ตำแหน่งตกไปอยู่ในมือของพรรคการเมืองใหญ่ในเวลานั้น ภายใต้พรรคการเมืองใหญ่ทั้งสอง บันดุงต้องเผชิญกับเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการทุจริต ไม่กี่สัปดาห์หลังการเลือกตั้งในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2013 ดาดา โรซาดา นายกเทศมนตรีเมืองบันดุงในปี ค.ศ. 2003 - ค.ศ. 2013 กลายเป็นผู้ต้องหาในคดีทุจริต และต่อมาก็ถูกตัดสินจำคุก 10 ปี PKS และ เกอรินดรา จึงร่วมกันมองหาผู้สมัครที่มีความสุจริตและมีความน่าเชื่อถือโดยไม่สังกัดพรรคการเมืองใด แต่มีผลงานด้านการงานที่เป็นที่รู้จักผ่านตัวตนของเขา ริดวัน กามิล ซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองใด ๆ เอาชนะคู่แข่งถึง 7 รายอย่างเด็ดขาดด้วยคะแนนเสียง 45% ซึ่งมากกว่าคู่แข่งที่ใกล้เคียงที่สุดเกือบ 3 เท่า ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีของหนึ่งในเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของอินโดนีเซียในวัย 42 ปี[27][28]
ผู้ว่าการจังหวัดชวาตะวันตก
[แก้]ด้วยความที่เป็นนายกเทศมนตรีที่ได้รับความนิยมจากคนทั้งประเทศ พรรคการเมืองใหญ่หลายพรรคจึงพยายามเกลี้ยกล่อมให้ริดวัน กามิล ลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าการจังหวัดชวาตะวันตกในปี ค.ศ. 2018 โดยพรรคการเมืองเหล่านี้ต้องการผู้สมัครร่วมกับผู้สมัครในพรรคตนเองเพื่อเสริมความนิยมให้กับการลงเลือกตั้งผู้ว่าการจังหวัด โดยพรรคยุติธรรมรุ่งเรือง และพรรคเกอรินดรา ซึ่งกลายเป็นพรรคการเมืองที่แข็งแกร่งขึ้นในปี ค.ศ. 2018 ก็ตัดสินใจจับคู่สมาชิกของตนเองเพื่อลงเลือกตั้งเช่นกัน ริดวัน กามิล ได้รับการรับรองจากพรรคการเมืองที่เล็กกว่าเหมือนเมื่อครั้งลงรับเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเมืองบันดุง รวมถึงพรรคสหพัฒนาการที่มีผู้สมัครร่วมในการลงสมัครกับเขาคือ อุอุ รุซานุล อุลุม นายอำเภอเขตตาซิกมาลายะ (Tasikmalaya) โดยริดวัน กามิล ตกลงตามข้อตกลงนี้ โดยตระหนักว่าเขาเป็นที่นิยมในหมู่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองที่มีความเจริญด้านสื่อและเทคโนโลยี โดยเฉพาะในแถบบันดุง แต่มีความนิยมที่อ่อนแอในกลุ่มผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท เช่น ตาซิกมาลายะ โดยริดวัน กามิล ชนะอย่างเด็ดขาดอีกครั้งด้วยคะแนนเสียง 33% มากกว่าคู่แข่งที่ใกล้เคียงที่สุดจากพรรคเกอรินดราประมาณ 4% [29]
ชัยชนะของริดวันกามิลในปี ค.ศ. 2013 และ ค.ศ. 2018 พิสูจน์ให้เห็นว่าผู้สมัครอิสระสามารถชนะการเลือกตั้งในอินโดนีเซียได้ หากบุคคลนั้นมีบุคลิกดึงดูดใจ มีการสร้างแคมเปญสื่อที่เข้มแข็ง และมีการสื่อสารที่ดีกับพรรคการเมืองทุกพรรค แม้จะมีการศึกษาแบบตะวันตกและมีทัศนคติแบบพหุนิยม แต่ริดวัน กามิล ก็เข้าใจดีว่าจะสร้างสัมพันธ์กับกลุ่มอิสลามในอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชวาตะวันตกที่ขึ้นชื่อเรื่องอิสลามอนุรักษ์นิยม
ในช่วงวาระการดำรงตำแหน่งของเขา ริดวัน กามิล ได้ริเริ่มโครงการระบบขนส่งด่วนด้วยรถโดยสารประจำทางในเมืองบันดุง โดยระบบขนส่งด่วนด้วยรถโดยสารประจำทางได้ผสมผสานรถโดยสารไฟฟ้า รถไฟฟ้า และกระเช้าไฟฟ้าเข้าด้วยกันเพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดในเมืองบันดุง โดยโครงการดังกล่าวมีกำหนดจะเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 2023 [30][31]
แหล่งอ้างอิง
[แก้]- ↑ "Siapa Ridwan Kamil?". voi.id. 2020-03-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-29. สืบค้นเมื่อ 2022-05-29.
- ↑ Az Zahra, Salsabilla (24 December 2021). "Biografi Ridwan Kamil: Walikota Inspiratif di Usia Muda". Populis (ภาษาอินโดนีเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-09. สืบค้นเมื่อ 2022-06-04.
- ↑ "Kisah asmara Ridwan Kamil dengan 'Si Cinta' Atalia Praratya". Merdeka.com (ภาษาอินโดนีเซีย). Merdeka.com. 2016-04-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-09. สืบค้นเมื่อ 2023-03-24.
- ↑ Roscoe, Matthew (3 June 2022). "Shock as Indonesian national Eril Kahn Mumtadz drowns in Swiss river". Euro Weekly News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 6 June 2022.
- ↑ Fahmi, Rifki Abdul. "Keluarga Ridwan Kamil Nyatakan Emmeril Kahn Mumtadz Wafat Tenggelam di Sungai Aare Swiss - PRFM News". prfmnews.pikiran-rakyat.com (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 6 June 2022.
- ↑ "Indonesian governor's son missing after swim in Swiss river". AP NEWS (ภาษาอังกฤษ). 27 May 2022. สืบค้นเมื่อ 27 May 2022.
- ↑ Adhi, Irawan Sapto, บ.ก. (9 June 2022). "Jenazah Eril Akhirnya Ditemukan pada 8 Juni di Bendungan Engehalde Swiss". KOMPAS.com (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 9 June 2022.
- ↑ Saptohutomo, Aryo Putranto, บ.ก. (9 June 2022). "Polisi Swiss Identifikasi Jasad Eril Melalui Tes DNA". KOMPAS.com (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 15 June 2022.
- ↑ Fröhlich, Cedric (15 June 2022). "Politiker-Sohn aus Indonesien – Die Geschichte von Eril, der in der Aare ertrank". Der Bund (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 15 June 2022.
- ↑ Sheehan, Susan (13 June 2017). "Ridwan Kamil Turns an Unconventional Home in Indonesia Into an Ingenious Recycling System". Architectural Digest. No. September 2009. สืบค้นเมื่อ 28 December 2020.
- ↑ "Ridwan Kamil". 19 June 2020.
- ↑ Febrinastri, Fabiola (5 November 2019). "Ridwan Kamil Raih Gelar H.C dari Dong-A University, Korea Selatan". suara.com (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 1 February 2022.
- ↑ Bagus, Peter (5 November 2019). "Ridwan Kamil Dapat Gelar Doctor HC dari Dong-A University Korsel - Bogor-Kita.com" (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 1 February 2022.
- ↑ "Profile + People | PT. URBANE INDONESIA".
- ↑ "Ridwan Kamil | People | Creative and Cultural Economy | British Council". Creativeconomy.britishcouncil.org. สืบค้นเมื่อ 7 July 2012.
- ↑ 16.0 16.1 "Construction: Information, Sales Leads, Projects, Market Data | Welcome to BCI Asia". Bciasia.com. สืบค้นเมื่อ 7 July 2012.
- ↑ "Whiteboard Journal • Indonesia | Jakarta Berkebun". Whiteboardjournal.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2012. สืบค้นเมื่อ 7 July 2012.
- ↑ Siregar, Dini (2 October 2011). "Urban Farming with Indonesia Berkebun | The Beat Magazine". Beatmag.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2014. สืบค้นเมื่อ 7 July 2012.
- ↑ Wahono, Tri (22 September 2011). "Internet Wujudkan Mimpi Indonesia Berkebun". Tekno.kompas.com. สืบค้นเมื่อ 7 July 2012.
- ↑ Pertiwi, Ni Luh Made (13 May 2012). Asdhiana, I Made (บ.ก.). "Wisata Sambil Berkebun". Travel.kompas.com. สืบค้นเมื่อ 7 July 2012.
- ↑ "Fakta-fakta Masjid Al Jabbar: Habiskan Dana Rp 1 Triliun, Mampu Tampung 33.000 Jemaah". Kompas.com. 26 December 2022. สืบค้นเมื่อ 7 January 2023.
- ↑ "Al-Irsyad Mosque / Urbane". ArchDaily. 10 November 2010. สืบค้นเมื่อ 7 July 2012.
- ↑ Novita, Nayu (19 December 2008). "M. Ridwan Kamil: Creativity at heart of success". The Jakarta Post. สืบค้นเมื่อ 7 July 2012.
- ↑ "Sony Vaio - You Against The Machine! Endorser". Myvaio.sony.co.id. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2012. สืบค้นเมื่อ 7 July 2012.
- ↑ Soeriaatmadja, Wahyudi (25 June 2018). "Hottest contest being fought in Indonesia's most populous province". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 28 December 2020.
- ↑ "detikNews : Ridwan Kamil, Ajak Masyarakat Kota Berkebun". News.detik.com. สืบค้นเมื่อ 7 July 2012.
- ↑ Kuswandi, Rio (2013-06-28). Assifa, Farid (บ.ก.). "Ridwan Kamil Wali Kota Terpilih Bandung". KOMPAS.com (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2023-03-17.
- ↑ Wulan, Teja (2014-04-29). "Korupsi, Mantan Walikota Bandung Divonis 10 Tahun Penjara". VOA Indonesia (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2023-03-17.
- ↑ Dinillah, Mukhlis (9 July 2018). "Menang di Pilgub Jabar, Ridwan Kamil-Uu Kuasai 14 Daerah". detiknews (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2023-03-17.
- ↑ "Ridwan Kamil 'dikritik' soal transportasi publik, pengamat: 'Bandung bakal kolaps dari sisi kemacetan jika tak berubah dalam 10 tahun'". BBC News Indonesia (ภาษาอินโดนีเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-19. สืบค้นเมื่อ 2023-02-19.
- ↑ Sudrajat, Ajat. Ferdinan, Yuniardi (บ.ก.). "Pemprov Jabar berupaya benahi transportasi publik". ANTARA News Jawa Barat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-19. สืบค้นเมื่อ 2023-02-19.