รายชื่อรางวัลสำหรับหลักฐานเรื่องเหนือธรรมชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้เป็น "รายชื่อรางวัลให้กับทุก ๆ คนที่สามารถให้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสามารถเหนือธรรมชาติ"

จุดมุ่งหมาย[แก้]

แถบข้อมือจะสามารถช่วยความสมดุลของบุคคลได้หรือไม่ ภาพการทดสอบเบื้องต้นของรางวัลท้าทายเรื่องเหนือธรรมชาติล้านดอลลาร์สหรัฐทำในระหว่างงานประชุมจอมมหัศจรรย์ปี 2555[1]

จุดประสงค์ในการให้รางวัลสำหรับหลักฐานความสามารถเหนือธรรมชาติ ก็เพื่อท้ายทายอย่างเป็นสาธารณะต่อผู้ที่อ้างว่ามีความสามารถเช่นนั้นเพื่อให้แสดงว่า มีความสามารถเช่นนั้นจริง ๆ ไม่ใช่เป็นการตั้งใจหลอกลวงผู้อื่นหรือเป็นการหลอกลวงตนเอง[2] การท้าทายเรื่องเหนือธรรมชาติ ที่มักจะทำโดยกลุ่มหรือบุคคลที่เรียกตนเองว่านักวิมตินิยม (skeptic) หรือผู้นิยมเหตุผล (rationalist) จะต้องมีการตกลงกันก่อนระหว่างผู้สมัครกับผู้ให้รางวัล และมักจะแบ่งออกเป็นสองขั้นตอน ขั้นแรกคือการทดสอบเบื้องต้น ที่ผู้สมัครต้องแสดงความสามารถที่อ้างภายใต้สภาวะควบคุม ต่อหน้าผู้ชมจำนวนน้อยจำนวนหนึ่ง ก่อนที่จะผ่านไปทำการทดสอบขั้นสุดท้าย บางครั้งการทดสอบเบื้องต้นเหล่านี้จะมีรางวัลชิ้นย่อยสำหรับผู้ชนะด้วย[3] โดยมีองค์กรพื้นที่หลายองค์กรที่จัดตั้งรางวัลชิ้นย่อยสำหรับการตรวจสอบในเบื้องต้น ก่อนผ่านไปสอบรางวัลชิ้นใหญ่ เช่นรางวัลท้าทายเรื่องเหนือธรรมชาติล้านดอลลาร์สหรัฐ[1][4][5] หรือรางวัลซิสซิฟัสปี 2555-2556 (หนึ่งล้านยูโร)[6][7]

ประวัติ[แก้]

ในปี 2465 นิตยสาร Scientific American จัดตั้งรางวัลมูลค่า 2,500 ดอลลาร์สหรัฐ 2 รางวัล คือ (1) เพื่อรูปถ่ายวิญญาณจริงรูปแรกที่ทำภายใต้สภาวะการทดสอบ และ (2) เพื่อผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติคนแรกที่สามารถแสดงอำนาจให้เห็นได้จริง ๆ นักมายากลนายแฮรี ฮูดินี เป็นสมาชิกคนหนึ่งในกลุ่มกรรมการตรวจสอบ สื่อวิญญาณคนแรกที่สอบก็คือนายจอร์จ แวเลียนไทน์ ผู้อ้างว่า ในที่ที่เขาอยู่ วิญญาณจะสามารถสื่อผ่านทรัมเป็ตที่ลอยไปรอบ ๆ ห้องที่มืดสลัว. ในการทดสอบ มีการให้นายแวเลียนไทน์เข้าไปอยู่ในห้องแล้วดับไฟ แต่โดยที่ไม่บอกให้เขารู้ เก้าอี้ของเขาต่อสายให้เปิดสวิตช์ไฟในห้องติดกันถ้าเขาลุกออกจากเก้าอี้ แต่เพราะว่าสวิตช์นั้นเปิดในช่วงการทดสอบ นายแวเลียนไทน์จึงไม่ได้รางวัล[2]

ตั้งแต่นั้นมา มีทั้งบุคคลและกลุ่มต่าง ๆ ที่จัดตั้งรางวัลคล้าย ๆ กันเพื่อพิสูจน์เรื่องเหนือธรรมชาติภายใต้สภาวะที่สามารถสังเกตการณ์ได้[2] รางวัลท้าท้ายของนายอับราฮัม โควัว ผู้เป็นนักเหตุผลนิยมชาวอินเดียในปี 2506 จำนวนหนึ่งแสนรูปีศรีลังกา เป็นเครื่องบันดาลใจต่อการจัดตั้งรางวัลของนายเจมส์ แรนดี้ ผู้เป็นนักวิมตินิยมชาวอเมริกันในปี 2507[8] ซึ่งต่อมาเพิ่มจำนวนจนเป็นรางวัลท้าทายเรื่องเหนือธรรมชาติล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2547 รางวัลเช่นนี้ทั้งหมดรวมกันมีมูลค่า 2,326,500 ดอลลาร์สหรัฐ[9] แต่ว่าโดยเดือนมกราคม 2558 ยังไม่มีใครเคยชนะรางวัลเหล่านี้

รางวัล[แก้]

ปี ผู้ดูแลควบคุม รางวัล รายละเอียด ยังไม่ชนะ
2506-2521 อับราฮัม โควัว (เสียชีวิต 2521) 100,000 รูปีศรีลังกา นายโควัวจัดตั้ง "รางวัลท้าท้ายของนายอับราฮัม โควัว" เริ่มในปี 2506 ซึ่งต่อมาเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้จัดตั้งรางวัลอื่น ๆ[8] ยัง
2543-ปัจจุบัน รางวัลเดิมพันของนายแอลเฟร็ดโด บาร์ราโก (Alfredo Barrago's Bet) 50,000 ยูโร (ประมาณ 1,953,128 บาทต้นปี 2559) เพื่อการแสดงปรากฏการณ์ที่ทำโดยสื่อวิญญาณ ผู้เห็นอนาคต และอื่น ๆ ที่เป็นเรื่องเหนือธรรมชาติ[10] ยัง
2540-ปัจจุบัน สมาคมเหตุผลนิยมบริเทนกลุ่มเอเชีย (Asian Rationalist Society of Britain) และนาย Lavkesh Prasha 10,000 ปอนด์สเตอร์ลิง (ประมาณ 513,358 บาทต้นปี 2559) ให้กับใครก็ได้ที่สามารถพิสูจน์ว่ามีอำนาจเวทมนต์ต่อหน้าสื่อและนักวิทยาศาสตร์ รางวัลดั้งเดิมที่ 2,000 ปอนด์ต่อมาได้เพิ่มขึ้น 5 เท่าตัวเพื่อหาผู้สมัครเพิ่ม[11][12] ยัง
2523-ปัจจุบัน นักวิมตินิยมออสเตรเลีย (Australian Skeptics) 100,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 2,528,056 บาทต้นปี 2559) เพื่อพิสูจน์การรับรู้เหนือประสาท (extrasensory perception) โทรจิต และการเคลื่อนไหววัตถุได้โดยใจ (telekinesis)[13] ยัง
2519-ปัจจุบัน นาย Basava Premanand (เสียชีวิต 2552), กลุ่ม Indian Skeptic / Indian CSICOP 100,000 รูปีอินเดีย (ประมาณ 53,196 บาทต้นปี 2559) เริ่มให้เมื่อนายอับราฮัม โควัว เริ่มป่วยด้วยโรคมะเร็งในปี 2519[14] ต่อมาหลังจากผู้ก่อตั้งรางวัลเสียชีวิตแล้ว นิตยสารและองค์กรของเขาจึงดำเนินการรางวัลท้าทายต่อไปเริ่มตั้งแต่ปี 2552[15] ยัง
2554-ปัจจุบัน นายแดเนียล เซเปดา 20,000 เปโซเม็กซิกัน (ประมาณ 38,774 บาทต้นปี 2559) สำหรับใครก็ได้ที่สามารถแสดงภายใต้สภาวะที่สังเกตการณ์และทำซ้ำได้ หลักฐานของอำนาจเหนือธรรมชาติหรืออำนาจเวทมนต์ ที่วิทยาศาสตร์ไม่มีคำตอบให้[16] ยัง
2551-ปัจจุบัน องค์กร Eesti Skeptik 10,000 ยูโร (ประมาณ 390,570 บาทต้นปี 2559) ให้กับใครก็ได้ที่สามารถพิสูจน์ความสามารถเหนือธรรมชาติได้[17] ยัง
-ปัจจุบัน
2555-ปัจจุบัน
กลุ่ม Fayetteville Freethinkers 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 180,368 บาทต้นปี 2559) (-ปัจจุบัน)
บ้านหลังหนึ่ง (2555-ปัจจุบัน )
เพื่อการแสดงเรื่องเหนือธรรมชาติ[18]
และตั้งแต่ปี 2555 มีรางวัลเป็นบ้านหลังหนึ่งจะให้กับใครก็ได้ที่จับบิ๊กฟุตได้[19]
ยัง
2551, 2557 สหพันธ์สมาคมนักเหตุผลนิยมแห่งอินเดีย (Federation of Indian Rationalist Associations) และนาย Narendra Nayak 200,000 รูปีอินเดีย (2551)
1,000,000 รูปีอินเดีย (2557)
ตอบคำถาม 21 คำถามจาก 25 คำถามอย่างถูกต้องเกี่ยวกับผลการเลือกตั้งในอนาคต (หมายเฉพาะนักโหราศาสตร์ แต่เปิดกับทุกคน)[20][21] ยัง
2530-2545 นาย Gérard Majax นาย Henri Broch และ นาย Jacques Theodor 200,000 ยูโร (ประมาณ 9,028,960 บาทท้ายปี 2545) การท้ายทายของนักวิมตินิยมนานาชาติ (International Zetetic Challenge) เป็นการท้าสื่อวิญญาณและผู้มีสัมผัสพิเศษ (clairvoyance) ให้แสดงอำนาจของตน แต่ว่า คนสมัครทั้งหมดในอดีต 275 คนแพ้[22] ยัง
2547-ปัจจุบัน สมาคมเพื่อการสืบสวนวิทยาศาสตร์เทียมโดยวิทยาศาสตร์ (Gesellschaft zur wissenschaftlichen Untersuchung von Parawissenschaften) 10,000 ยูโร (ประมาณ 390,526 ต้นปี 2559) เพื่อใครก็ได้ที่สามารถพิสูจน์ความสามารถเหนือธรรมชาติได้[23][24] ยัง
2558-ปัจจุบัน รางวัลแฮร์รี่ ฮูดินี (Harry Houdini Prize) 1,000,000 รูเบิลรัสเซีย (ประมาณ 450,418 บาทต้นปี 2559) ให้สำหรับการแสดงความสามารถเหนือธรรมชาติหรือปาฏิหาริย์ ภายใต้สภาวะการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่สมเหตุผล[25][26] ยัง
2543-ปัจจุบัน กลุ่มตรวจสอบอิสระ (Independent Investigations Group ) 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,606,300 บาทต้นปี 2559) ให้กับทุกคนที่สามารแสดงภายใต้สภาวะสังเกตการ์ที่เหมาะสม หลักฐานเกี่ยวกับอำนาจหรือเหตุการณ์เหนือธรรมชาติ เป็นปาฏิหาริย์ หรือเกี่ยวกับเวทมนต์ คนที่เป็นนายหน้าหาผู้สมัครชนะรางวัลจะได้รับรางวัล 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 180,258 บาทต้นปี 2559)[27] ก่อนหน้านี้ รางวัลมีมูลค่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ[2][28] ยัง
2538-ปัจจุบัน สมาคมนักเหตุผลนิยมแห่งอินเดีย (Indian Rationalist Association) และนาย Sanal Edamaruku 100,000 รูปีอินเดีย (ประมาณ 53,196 บาทต้นปี 2559) ให้ใครก็ได้ที่สามารถพิสูจน์ปาฏิหาริย์นมฮินดู (Hindu milk miracle) ซึ่งกล่าวว่าเทวรูปฮินดูต่าง ๆ เริ่มที่พระพิฆเนศได้ดื่มนมที่นำมาถวายให้ในวันที่ 21 กันยายน 2538[29] และตั้งแต่ปี 2545 รวมเอาผู้ที่สามารถให้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับประสิทธิภาพการตรวจโรคโดยดูม่านตา (iridology)[30] ยัง
2507-ปัจจุบัน รางวัลท้าทายเรื่องเหนือธรรมชาติล้านดอลลาร์สหรัฐ (One Million Dollar Paranormal Challenge) ของมูลนิธิการศึกษาเจมส์แรนดี้ 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ตั้งแต่ 2539) จัดตั้งโดยนักมายากลเจมส์ แรนดี้ เป็นรางวัล 1,000 (เท่ากับเงินประมาณ 274,136 บาทในปัจจุบัน) ดอลลาร์สหรัฐในปี 2507[31] เพิ่มขึ้นเป็น 10,000 เหรียญในปี 2523[32] เป็น 100,000 เหรียญในปี 2532[33] และในที่สุดเป็น 1 ล้านเหรียญในปี 2539[34] (ประมาณ 36,320,000 บาทต้นปี 2559) และเริ่มต้นตั้งแต่จัดตั้งมูลนิธิ การดำเนินการรับผู้สมัครและตรวจสอบได้ทำโดยคณะกรรมการ[31] ยัง
2539-ปัจจุบัน นักวิมตินิยมแห่งเมืองเกแบ็ก (Les Sceptiques du Québec) 10,000 ดอลลาร์แคนาดา (ประมาณ 253,259 บาทต้นปี 2559) "เอาแค่ปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติจริงแบบเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สามารถสังเกตและตรวจสอบได้ผ่านการทดลอง" ใช้เป็นการทดสอบเบื้องต้นของรางวัลท้าทายเรื่องเหนือธรรมชาติล้านดอลลาร์สหรัฐ ในตอนแรกอง์กรมีรางวัลของตนเองมีมูลค่า 750,000 ดอลลาร์แคนาดา[4] ยัง
(อย่างช้าตั้งแต่ปี 2544[35]) นักวิมตินิยมเท็กซัสเหนือ (North Texas Skeptics) 12,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 432,618 บาทต้นปี 2559) "ให้กับใครก็ได้ที่สามารถแสดงอำนาจหรือความสามารถทางจิตวิญญาณหรือเหนือธรรมชาติ ภายใต้สภาวะสังเกตการณ์ที่สมเหตุผลทางวิทยาศาสตร์"[2][36] ยัง
2528-2531 คณะกรรมการตรวจสอบเรื่องเหนือธรรมชาติแห่งพิตต์สเบิร์ก (Paranormal Investigating Committee of Pittsburgh) 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ (เท่ากับเงินประมาณ 733,575 บาทในปัจจุบัน) "ให้กับใครก็ได้ที่สามารถแสดงเหตุการณ์ทางจิตวิญญาณได้สำเร็จ ภายใต้การทดสอบควบคุม"[37][38] ยัง
2509-2548 นาย Philip J. Klass (เสียชีวิตแล้ว) 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ (เพื่อเครื่องพิสูจน์ว่ามีมนุษย์ต่างดาวมาเยี่ยมโลกจริง ๆ[39] ยัง
2528-ปัจจุบัน สมาคมวิทยาศาสตร์และนักเหตุผลนิยมแห่งอินเดีย (Science and Rationalists' Association of India), และนาย Prabir Ghosh 2,500,000 รูปีอินเดีย (ประมาณ 1,331,295 บาทต้นปี 2559) เพื่อใครก็ได้ในโลกนี้ที่สามารถแสดงอำนาจเหนือธรรมชาติโดยไม่โกง ในสถานที่และในสภาวะที่ผู้ให้รางวัลกำหนด[40] ยัง
2465 นิตยสาร Scientific American 2,500 ดอลลาร์สหรัฐ (เท่ากับเงินประมาณ 1,223,300 บาทในปัจจุบัน) รางวัล 2 รางวัลสำหรับ (1) เพื่อรูปถ่ายวิญญาณจริงรูปแรกที่ทำภายใต้สภาวะการทดสอบ และ (2) เพื่อผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติคนแรกที่สามารถแสดงอำนาจให้เห็นได้จริง ๆ[2] ยัง
2542-ปัจจุบัน นาย Sima Nan 1,000,000 หยวน (ประมาณ 5,484,045 บาทต้นปี 2559) ให้ใครก็ได้ที่สามารถแสดง "ความสามารถพิเศษ" โดยไม่โกง[41] สามารถชนะพร้อมกับรางวัลท้าทายเรื่องเหนือธรรมชาติล้านดอลลาร์สหรัฐได้[ต้องการอ้างอิง] ยัง
2545-ปัจจุบัน รางวัลซิสซิฟัสขององค์กร SKEPP 10,000 ยูโร (2545-2555)
1,000,000 ยูโร (2555-2556)
25,000 ยูโร (2556-ปัจจุบัน)
รางวัลดั้งเดิมมีมูลค่า 10,000 ยูโร แต่ต่อมาระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 30 กันยายน 2556 มีนักธุรกิจนิรนามเมืองแอนต์เวิร์ปที่เพิ่มรางวัลเป็น 1,000,000 ยูโร เป็นเวลาปีหนึ่ง ในขณะที่องค์กรวิมตินิยมยุโรปหลายองค์กรผสมโรงโดยจัดรางวัลเพื่อการทดสอบเบื้องต้นก่อนที่จะชิงรางวัลซิสซิฟัส[7][42] ต่อจากนั้น รางวัลปกติจึงเพิ่มจาก 10,000 ยูโร เป็น 25,000 ยูโร (ประมาณ 976,964 บาทต้นปี 2559) [3] ยัง
2532-ปัจจุบัน สมาคมนักวิมตินิยมชาวฟินแลนด์ (Skepsis ry) 10,000 ยูโร (ประมาณ 390,797 บาทต้นปี 2559) ให้ใครก็ได้ในประเทศฟินแลนด์ที่สามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติภายใต้สภาวะสังเกตการณ์ที่เหมาะสม หรือพิสูจน์ว่าตนเป็นมนุษย์ต่างดาวโดยให้ตัวอย่างดีเอ็นเอ หรืออะไรอย่างอื่นที่เท่าเทียมกัน เพื่อการทดสอบ[43] ยัง
2555-ปัจจุบัน สมาคมนักเหตุผลนิยมแห่งศรีลังกา (Sri Lankan Rationalist Association) 1,000,000 รูปีศรีลังกา (ประมาณ 248,952 บาทต้นปี 2559) ศ. Carlo Fonseka ต่อรางวัลท้าทายของนายอับราฮัม โควัว[44] ยัง
2531-ปัจจุบัน Stichting Skepsis 10,000 ยูโร (ประมาณ 390,679 บาทต้นปี 2559) ให้กับใครก็ได้ที่ต้องการจะสอบ "การวินิจฉัยโรคทางเลือก" รวมทั้งโดยวิธีทดสอบกำลังกล้ามเนื้อ (kinesiology) การฝังเข็มไฟฟ้า (electroacupuncture) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (bioresonance therapy) การดูออรา ตาทิพย์ การดูม่านตา การใช้ลูกตุ้มแกว่ง (dowsing) และโหราศาสตร์ คนที่ผ่านการทดสอบเบื้องต้นจะได้รางวัล 500 ยูโร[45]

การท้าทายเบื้องต้นขององค์กรในเดือนมีนาคม 2531 เป็นรางวัล 10,000 กิลเดอร์ดัตช์ สำหรับหมอเทวดาที่สามารถตัดไส้ติ่งของประธานองค์กรออกได้ (โดยวิธี psychic surgery)[46]

ยัง
2537-ปัจจุบัน นาย Stuart Landsborough (จากองค์กร NZ Skeptics) 100,000 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ (ประมาณ 2,350,726 บาทต้นปี 2559) ให้กับใครก็ได้ที่สามารพิสูจน์ความสามารถทางจิตวิญญาณ โดยหาตั๋วสัญญาใช้เงินที่แบ่งเป็นสองส่วนซ่อนไว้ในเขตขนาด 100 เมตรภายในสวนปริศนา "Stuart Landsborough's Puzzling World" จากจุดเบื้องต้นของการท้ายทาย เขตที่ต้องหาได้ลดลงจากขนาด 5 กิโลเมตรจนมาเหลือแค่ 100 เมตรโดยเพิ่มรางวัลเป็นสองเท่า การแบ่งตั๋วออกเป็นสองส่วนก็เพื่อลดโอกาสที่จะหาเจอได้โดยบังเอิญเท่านั้น[47]
   แต่ว่า ผู้ชิงรางวัลต้องบริจาคเงิน 1,000 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ (ประมาณ 23,507 บาทต้นปี 2559) ถ้าแพ้[48]
ยัง
--- สมาคมมนุษยนิยมแห่งสวีเดน (Swedish Humanist Association) 100,000 โครนาสวีเดน (ประมาณ 420,352 บาทต้นปี 2559) ให้กับใครก็ได้ที่สามารถแสดงความสามารถเหนือธรรมชาติ ที่ไม่มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์[49] ยัง
2532-ปัจจุบัน นักวิมตินิยมชาวอ่าวสแทมปา (Tampa Bay Skeptics ) 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 36,502 บาทต้นปี 2559) ให้กับใครก็ได้ที่สามารถแสดงปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ ภายใต้สภาวะสังเกตการณ์ที่ตกลงกันได้[2][50] ยัง
2557-ปัจจุบัน Český klub skeptiků Sisyfos 1,000,000 โครูนาเช็ก (ประมาณ 1,445,753 บาทต้นปี 2559) ให้กับใครก็ได้ที่สามารถพิสูจน์ความสามารถเหนือธรรมชาติในเรื่องตาทิพย์ (clairvoyance) โทรจิต การเคลื่อนย้ายวัตถุได้ด้วยจิต (telekinesis) การหาวัตถุต่าง ๆ ด้วยแท่ง (rhabdomancy) เป็นต้น[51] ยัง

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Christopher, Milbourne (1975), Mediums, Mystics & the Occult. Thomas Y. Crowell Co.
  • Radin, Dean (2006), Entangled Minds: Extrasensory Experiences in a Quantum Reality. Paraview Pocket Books.

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Saunders, Richard (September 6, 2012). "The Million Dollar Challenge at TAM 2012". JREF Swift Blog. James Randi Educational Foundation. สืบค้นเมื่อ 2015-01-08.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Carroll, Robert Todd (June 19, 2014). "Randi $1,000,000 paranormal challenge". The Skeptic's Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2015-01-06.
  3. 3.0 3.1 "Sisyphus prijs". SKEPP website (ภาษาดัตช์). SKEPP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 25, 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-01-06.
  4. 4.0 4.1 "Défi sceptique : bourses de 10 000 $ et un million de dollars américains" (ภาษาฝรั่งเศส). Les Sceptiques de Québec. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 29, 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-01-04.
  5. Corinna Sachs (October 12, 2004). "Übersinnliche Phänomene im Test" (PDF). Quarks & Co (ภาษาเยอรมัน). Westdeutscher Rundfunk. สืบค้นเมื่อ 2015-01-06.
  6. "The Sisyphus Prize Pre-Test. Rules for applicants to ASKE". ASKE website. Association for Skeptical Enquiry. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 16, 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-01-04.
  7. 7.0 7.1 Engels, Joep (September 30, 2012). "Win een miljoen met het lezen van tarotkaarten". Trouw (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 2015-01-06.
  8. 8.0 8.1 "Abraham Kovoor". Thought & Action. Maharashtra Andhashraddha Nirmoolan Samiti. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 13, 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-01-04.
  9. Larsen, Claus (September 2003). "Get Rich Quick or Save the World". Skeptic Report. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 23, 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-03-07.
  10. "Telefono Antiplagio". Antiplagio.org. 2000. สืบค้นเมื่อ 2015-01-04.
  11. Indo-Asian News Service (December 7, 2005). "NRI group gets cracking on Asian occultists in Britain". Hindustan Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-05. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
  12. Indo-Asian News Service (2006-01-14). "Asian rationalists in UK dare tantriks". Hindustan Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-05. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
  13. "The $100,000 Challenge". AS website. Australian Skeptics. สืบค้นเมื่อ 2015-01-04.
  14. Basava Premanand (October 15, 1998). "The Challenge". Indian Skeptic website. Indian CSICOP. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
  15. Basava Premanand (August 29, 1998). "Rules for the Paranormal Challenge". Indian Skeptic website. Indian CSICOP. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
  16. Daniel Zepeda (August 17, 2011). "Reto Paranormal de Papá Escéptico" (ภาษาสเปน). Papá Escéptico. สืบค้นเมื่อ 2015-01-06.
  17. Martin Vällik (March 16, 2008). "10000 €". skeptik.ee (ภาษาเอสโตเนีย). Eesti Skeptik. สืบค้นเมื่อ 2015-01-06.
  18. "About the Fayetteville Freethinkers". Fayetteville Freethinkers. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
  19. "A local group is offering a big reward". Global Broadcast Database. April 18, 2012.
  20. Jeevan Mathew Kurian (June 13, 2008). "He beats holy men at their own game". Thaindian News. Indo-Asian News Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 26, 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-01-04.
  21. "'Astrologers biggest losers in 2014 Elections'--Humanists". The Siasat Daily. June 21, 2014. สืบค้นเมื่อ 2015-01-04.
  22. "Z comme zététique, ou le pourfendeur du paranormal" (PDF) (ภาษาฝรั่งเศส). Agence France-Presse. September 8, 2006. สืบค้นเมื่อ 2015-01-06.
  23. Nestler, Ralf (August 21, 2009). "Die Macht der Strahlen". Zeit Wissen (ภาษาเยอรมัน). Zeitverlag Gerd Bucerius. 5. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
  24. "Eine kurze Geschichte der GWUP" (ภาษาเยอรมัน). GWUP website. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
  25. "Правила премии" (ภาษารัสเซีย). Премия имени Гарри Гудини. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 1, 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-08-03.
  26. Шутова Е. (July 24, 2015). "Миллион за колдовство". Наука → Мракобесие (ภาษารัสเซีย). ЗАО «Газета.Ру». สืบค้นเมื่อ 2015-08-03.
  27. "The IIG $100,000 Challenge". IIG website. Independent Investigations Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 29, 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-01-04.
  28. ANP/AFP (May 30, 2012). "Ghostbusters: is Hollywood a spiritual 'vortex'?". Radio Netherlands Worldwide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-04. สืบค้นเมื่อ 2015-01-04..
  29. Lefkow, Chris (September 22, 1995). ""Milk Miracle" -- or "Mass Hysteria"?". The Nepal Digest archive. Agence France-Presse. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 3, 2016. สืบค้นเมื่อ 2015-01-04.
  30. Wolpert, Lewis (March 22, 2002). "Science: a magical show of scepticism". The Independent.
  31. 31.0 31.1 "The Million Dollar Challenge". สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
  32. Ferris, Timothy (November 23, 1980). "Nonfiction in brief". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 23, 1980.
  33. "Are you psychic?". St. Petersburg Times. April 2, 1989.
  34. Grossman, Wendy (December 9, 1996). "Science: Putting psychics to the test. An arch-sceptic is offering $1m in a challenge to belief in the paranormal, writes Wendy Grossman". The Independent. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
  35. "Challenge Activity". NTS website. North Texas Skeptics. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
  36. Aicklen, Gregory H. ; Blanton, John F. ; Golla, Prasad N. ; Selby, Mike ; Thomas, John A. "The North Texas Skeptics Paranormal Challenge". NTS website. North Texas Skeptics. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  37. Bee Paul Hirschl. "In pursuit of the paranormal". Google News Archive. Pittsburgh Post-Gazette. สืบค้นเมื่อ 2015-10-09.
  38. Dorma McHattie. "Psychic Illusionist Program". Google News Archive. Beaver County Times. สืบค้นเมื่อ 2015-10-09.
  39. Klass, Philip J. (1975). UFOs Explained. New York: Random House. pp. 355–359. ISBN 9780394492155. OCLC 979190.
  40. Prabir Ghosh (June 22, 2010). "Challenge to all 'supernatural' and 'paranormal' power holders/ astrologers etc". SRAI website. Science and Rationalists' Association of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 24, 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
  41. Mainfort, Donald (March 1999). "Sima Nan: Fighting Qigong Pseudoscience in China". Skeptical Inquirer. Committee for Skeptical Inquiry. 9 (1). สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
  42. Bosteels, Jan (July 3, 2013). "Hoe meet je iets dat niet bestaat? SKEPP voert eerste test van 1 miljoen uit". Knack (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 2014-01-06.
  43. "Skepsis in English". Skepsis website. Skepsis ry. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
  44. Sundarji, Padma Rao (November 27, 2014). "What is it with us and scandalous Swamis?". The Daily Mirror. สืบค้นเมื่อ 2015-01-04.
  45. Nanninga, Rob; Nienhuys, Jan Willem. "Alternatieve diagnoses kunnen op de proef worden gesteld". Skepsis website (ภาษาดัตช์). Stichting Skepsis. สืบค้นเมื่อ 2014-01-07.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  46. Paalman, Jan (September 1988). "Psychochirurgie. Opereren met blote handen". Skepter (ภาษาดัตช์). Stichting Skepsis. 1 (3): 28. {{cite journal}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  47. Stuart Landsborough. "What is the Psychic Challenge?". Stuart Landsborough's $100,000 Psychic Challenge. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
  48. Stuart Landsborough. "Rules of the Challenge". Stuart Landsborough's $100,000 Psychic Challenge. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
  49. "Kristallkulan". SHA website (ภาษาสวีเดน). Swedish Humanist Association. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
  50. "$$$ Challenges". TBS website. Tampa Bay Skeptics. สืบค้นเมื่อ 2015-01-07.
  51. "Paranormální výzva". Falešní hráči (ภาษาเช็ก). The Real Bohemian. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 15, 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-01-07.