รายชื่อรางวัลสำหรับหลักฐานเรื่องเหนือธรรมชาติ
บทความนี้เป็น "รายชื่อรางวัลให้กับทุก ๆ คนที่สามารถให้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสามารถเหนือธรรมชาติ"
จุดมุ่งหมาย
[แก้]จุดประสงค์ในการให้รางวัลสำหรับหลักฐานความสามารถเหนือธรรมชาติ ก็เพื่อท้ายทายอย่างเป็นสาธารณะต่อผู้ที่อ้างว่ามีความสามารถเช่นนั้นเพื่อให้แสดงว่า มีความสามารถเช่นนั้นจริง ๆ ไม่ใช่เป็นการตั้งใจหลอกลวงผู้อื่นหรือเป็นการหลอกลวงตนเอง[2] การท้าทายเรื่องเหนือธรรมชาติ ที่มักจะทำโดยกลุ่มหรือบุคคลที่เรียกตนเองว่านักวิมตินิยม (skeptic) หรือผู้นิยมเหตุผล (rationalist) จะต้องมีการตกลงกันก่อนระหว่างผู้สมัครกับผู้ให้รางวัล และมักจะแบ่งออกเป็นสองขั้นตอน ขั้นแรกคือการทดสอบเบื้องต้น ที่ผู้สมัครต้องแสดงความสามารถที่อ้างภายใต้สภาวะควบคุม ต่อหน้าผู้ชมจำนวนน้อยจำนวนหนึ่ง ก่อนที่จะผ่านไปทำการทดสอบขั้นสุดท้าย บางครั้งการทดสอบเบื้องต้นเหล่านี้จะมีรางวัลชิ้นย่อยสำหรับผู้ชนะด้วย[3] โดยมีองค์กรพื้นที่หลายองค์กรที่จัดตั้งรางวัลชิ้นย่อยสำหรับการตรวจสอบในเบื้องต้น ก่อนผ่านไปสอบรางวัลชิ้นใหญ่ เช่นรางวัลท้าทายเรื่องเหนือธรรมชาติล้านดอลลาร์สหรัฐ[1][4][5] หรือรางวัลซิสซิฟัสปี 2555-2556 (หนึ่งล้านยูโร)[6][7]
ประวัติ
[แก้]ในปี 2465 นิตยสาร Scientific American จัดตั้งรางวัลมูลค่า 2,500 ดอลลาร์สหรัฐ 2 รางวัล คือ (1) เพื่อรูปถ่ายวิญญาณจริงรูปแรกที่ทำภายใต้สภาวะการทดสอบ และ (2) เพื่อผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติคนแรกที่สามารถแสดงอำนาจให้เห็นได้จริง ๆ นักมายากลนายแฮรี ฮูดินี เป็นสมาชิกคนหนึ่งในกลุ่มกรรมการตรวจสอบ สื่อวิญญาณคนแรกที่สอบก็คือนายจอร์จ แวเลียนไทน์ ผู้อ้างว่า ในที่ที่เขาอยู่ วิญญาณจะสามารถสื่อผ่านทรัมเป็ตที่ลอยไปรอบ ๆ ห้องที่มืดสลัว. ในการทดสอบ มีการให้นายแวเลียนไทน์เข้าไปอยู่ในห้องแล้วดับไฟ แต่โดยที่ไม่บอกให้เขารู้ เก้าอี้ของเขาต่อสายให้เปิดสวิตช์ไฟในห้องติดกันถ้าเขาลุกออกจากเก้าอี้ แต่เพราะว่าสวิตช์นั้นเปิดในช่วงการทดสอบ นายแวเลียนไทน์จึงไม่ได้รางวัล[2]
ตั้งแต่นั้นมา มีทั้งบุคคลและกลุ่มต่าง ๆ ที่จัดตั้งรางวัลคล้าย ๆ กันเพื่อพิสูจน์เรื่องเหนือธรรมชาติภายใต้สภาวะที่สามารถสังเกตการณ์ได้[2] รางวัลท้าท้ายของนายอับราฮัม โควัว ผู้เป็นนักเหตุผลนิยมชาวอินเดียในปี 2506 จำนวนหนึ่งแสนรูปีศรีลังกา เป็นเครื่องบันดาลใจต่อการจัดตั้งรางวัลของนายเจมส์ แรนดี้ ผู้เป็นนักวิมตินิยมชาวอเมริกันในปี 2507[8] ซึ่งต่อมาเพิ่มจำนวนจนเป็นรางวัลท้าทายเรื่องเหนือธรรมชาติล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2547 รางวัลเช่นนี้ทั้งหมดรวมกันมีมูลค่า 2,326,500 ดอลลาร์สหรัฐ[9] แต่ว่าโดยเดือนมกราคม 2558 ยังไม่มีใครเคยชนะรางวัลเหล่านี้
รางวัล
[แก้]ปี | ผู้ดูแลควบคุม | รางวัล | รายละเอียด | ยังไม่ชนะ |
---|---|---|---|---|
2506-2521 | อับราฮัม โควัว (เสียชีวิต 2521) | 100,000 รูปีศรีลังกา | นายโควัวจัดตั้ง "รางวัลท้าท้ายของนายอับราฮัม โควัว" เริ่มในปี 2506 ซึ่งต่อมาเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้จัดตั้งรางวัลอื่น ๆ[8] | ยัง |
2543-ปัจจุบัน | รางวัลเดิมพันของนายแอลเฟร็ดโด บาร์ราโก (Alfredo Barrago's Bet) | 50,000 ยูโร | (ประมาณ 1,953,128 บาทต้นปี 2559) เพื่อการแสดงปรากฏการณ์ที่ทำโดยสื่อวิญญาณ ผู้เห็นอนาคต และอื่น ๆ ที่เป็นเรื่องเหนือธรรมชาติ[10] | ยัง |
2540-ปัจจุบัน | สมาคมเหตุผลนิยมบริเทนกลุ่มเอเชีย (Asian Rationalist Society of Britain) และนาย Lavkesh Prasha | 10,000 ปอนด์สเตอร์ลิง | (ประมาณ 513,358 บาทต้นปี 2559) ให้กับใครก็ได้ที่สามารถพิสูจน์ว่ามีอำนาจเวทมนต์ต่อหน้าสื่อและนักวิทยาศาสตร์ รางวัลดั้งเดิมที่ 2,000 ปอนด์ต่อมาได้เพิ่มขึ้น 5 เท่าตัวเพื่อหาผู้สมัครเพิ่ม[11][12] | ยัง |
2523-ปัจจุบัน | นักวิมตินิยมออสเตรเลีย (Australian Skeptics) | 100,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย | (ประมาณ 2,528,056 บาทต้นปี 2559) เพื่อพิสูจน์การรับรู้เหนือประสาท (extrasensory perception) โทรจิต และการเคลื่อนไหววัตถุได้โดยใจ (telekinesis)[13] | ยัง |
2519-ปัจจุบัน | นาย Basava Premanand (เสียชีวิต 2552), กลุ่ม Indian Skeptic / Indian CSICOP | 100,000 รูปีอินเดีย | (ประมาณ 53,196 บาทต้นปี 2559) เริ่มให้เมื่อนายอับราฮัม โควัว เริ่มป่วยด้วยโรคมะเร็งในปี 2519[14] ต่อมาหลังจากผู้ก่อตั้งรางวัลเสียชีวิตแล้ว นิตยสารและองค์กรของเขาจึงดำเนินการรางวัลท้าทายต่อไปเริ่มตั้งแต่ปี 2552[15] | ยัง |
2554-ปัจจุบัน | นายแดเนียล เซเปดา | 20,000 เปโซเม็กซิกัน | (ประมาณ 38,774 บาทต้นปี 2559) สำหรับใครก็ได้ที่สามารถแสดงภายใต้สภาวะที่สังเกตการณ์และทำซ้ำได้ หลักฐานของอำนาจเหนือธรรมชาติหรืออำนาจเวทมนต์ ที่วิทยาศาสตร์ไม่มีคำตอบให้[16] | ยัง |
2551-ปัจจุบัน | องค์กร Eesti Skeptik | 10,000 ยูโร | (ประมาณ 390,570 บาทต้นปี 2559) ให้กับใครก็ได้ที่สามารถพิสูจน์ความสามารถเหนือธรรมชาติได้[17] | ยัง |
-ปัจจุบัน 2555-ปัจจุบัน |
กลุ่ม Fayetteville Freethinkers | 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 180,368 บาทต้นปี 2559) (-ปัจจุบัน) บ้านหลังหนึ่ง (2555-ปัจจุบัน ) |
เพื่อการแสดงเรื่องเหนือธรรมชาติ[18] และตั้งแต่ปี 2555 มีรางวัลเป็นบ้านหลังหนึ่งจะให้กับใครก็ได้ที่จับบิ๊กฟุตได้[19] |
ยัง |
2551, 2557 | สหพันธ์สมาคมนักเหตุผลนิยมแห่งอินเดีย (Federation of Indian Rationalist Associations) และนาย Narendra Nayak | 200,000 รูปีอินเดีย (2551) 1,000,000 รูปีอินเดีย (2557) |
ตอบคำถาม 21 คำถามจาก 25 คำถามอย่างถูกต้องเกี่ยวกับผลการเลือกตั้งในอนาคต (หมายเฉพาะนักโหราศาสตร์ แต่เปิดกับทุกคน)[20][21] | ยัง |
2530-2545 | นาย Gérard Majax นาย Henri Broch และ นาย Jacques Theodor | 200,000 ยูโร | (ประมาณ 9,028,960 บาทท้ายปี 2545) การท้ายทายของนักวิมตินิยมนานาชาติ (International Zetetic Challenge) เป็นการท้าสื่อวิญญาณและผู้มีสัมผัสพิเศษ (clairvoyance) ให้แสดงอำนาจของตน แต่ว่า คนสมัครทั้งหมดในอดีต 275 คนแพ้[22] | ยัง |
2547-ปัจจุบัน | สมาคมเพื่อการสืบสวนวิทยาศาสตร์เทียมโดยวิทยาศาสตร์ (Gesellschaft zur wissenschaftlichen Untersuchung von Parawissenschaften) | 10,000 ยูโร | (ประมาณ 390,526 ต้นปี 2559) เพื่อใครก็ได้ที่สามารถพิสูจน์ความสามารถเหนือธรรมชาติได้[23][24] | ยัง |
2558-ปัจจุบัน | รางวัลแฮร์รี่ ฮูดินี (Harry Houdini Prize) | 1,000,000 รูเบิลรัสเซีย | (ประมาณ 450,418 บาทต้นปี 2559) ให้สำหรับการแสดงความสามารถเหนือธรรมชาติหรือปาฏิหาริย์ ภายใต้สภาวะการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่สมเหตุผล[25][26] | ยัง |
2543-ปัจจุบัน | กลุ่มตรวจสอบอิสระ (Independent Investigations Group ) | 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ | (ประมาณ 3,606,300 บาทต้นปี 2559) ให้กับทุกคนที่สามารแสดงภายใต้สภาวะสังเกตการ์ที่เหมาะสม หลักฐานเกี่ยวกับอำนาจหรือเหตุการณ์เหนือธรรมชาติ เป็นปาฏิหาริย์ หรือเกี่ยวกับเวทมนต์ คนที่เป็นนายหน้าหาผู้สมัครชนะรางวัลจะได้รับรางวัล 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 180,258 บาทต้นปี 2559)[27] ก่อนหน้านี้ รางวัลมีมูลค่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ[2][28] | ยัง |
2538-ปัจจุบัน | สมาคมนักเหตุผลนิยมแห่งอินเดีย (Indian Rationalist Association) และนาย Sanal Edamaruku | 100,000 รูปีอินเดีย | (ประมาณ 53,196 บาทต้นปี 2559) ให้ใครก็ได้ที่สามารถพิสูจน์ปาฏิหาริย์นมฮินดู (Hindu milk miracle) ซึ่งกล่าวว่าเทวรูปฮินดูต่าง ๆ เริ่มที่พระพิฆเนศได้ดื่มนมที่นำมาถวายให้ในวันที่ 21 กันยายน 2538[29] และตั้งแต่ปี 2545 รวมเอาผู้ที่สามารถให้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับประสิทธิภาพการตรวจโรคโดยดูม่านตา (iridology)[30] | ยัง |
2507-ปัจจุบัน | รางวัลท้าทายเรื่องเหนือธรรมชาติล้านดอลลาร์สหรัฐ (One Million Dollar Paranormal Challenge) ของมูลนิธิการศึกษาเจมส์แรนดี้ | 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ตั้งแต่ 2539) | จัดตั้งโดยนักมายากลเจมส์ แรนดี้ เป็นรางวัล 1,000 (เท่ากับเงินประมาณ 274,136 บาทในปัจจุบัน) ดอลลาร์สหรัฐในปี 2507[31] เพิ่มขึ้นเป็น 10,000 เหรียญในปี 2523[32] เป็น 100,000 เหรียญในปี 2532[33] และในที่สุดเป็น 1 ล้านเหรียญในปี 2539[34] (ประมาณ 36,320,000 บาทต้นปี 2559) และเริ่มต้นตั้งแต่จัดตั้งมูลนิธิ การดำเนินการรับผู้สมัครและตรวจสอบได้ทำโดยคณะกรรมการ[31] | ยัง |
2539-ปัจจุบัน | นักวิมตินิยมแห่งเมืองเกแบ็ก (Les Sceptiques du Québec) | 10,000 ดอลลาร์แคนาดา | (ประมาณ 253,259 บาทต้นปี 2559) "เอาแค่ปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติจริงแบบเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สามารถสังเกตและตรวจสอบได้ผ่านการทดลอง" ใช้เป็นการทดสอบเบื้องต้นของรางวัลท้าทายเรื่องเหนือธรรมชาติล้านดอลลาร์สหรัฐ ในตอนแรกอง์กรมีรางวัลของตนเองมีมูลค่า 750,000 ดอลลาร์แคนาดา[4] | ยัง |
(อย่างช้าตั้งแต่ปี 2544[35]) | นักวิมตินิยมเท็กซัสเหนือ (North Texas Skeptics) | 12,000 ดอลลาร์สหรัฐ | (ประมาณ 432,618 บาทต้นปี 2559) "ให้กับใครก็ได้ที่สามารถแสดงอำนาจหรือความสามารถทางจิตวิญญาณหรือเหนือธรรมชาติ ภายใต้สภาวะสังเกตการณ์ที่สมเหตุผลทางวิทยาศาสตร์"[2][36] | ยัง |
2528-2531 | คณะกรรมการตรวจสอบเรื่องเหนือธรรมชาติแห่งพิตต์สเบิร์ก (Paranormal Investigating Committee of Pittsburgh) | 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ | (เท่ากับเงินประมาณ 733,575 บาทในปัจจุบัน) "ให้กับใครก็ได้ที่สามารถแสดงเหตุการณ์ทางจิตวิญญาณได้สำเร็จ ภายใต้การทดสอบควบคุม"[37][38] | ยัง |
2509-2548 | นาย Philip J. Klass (เสียชีวิตแล้ว) | 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ | (เพื่อเครื่องพิสูจน์ว่ามีมนุษย์ต่างดาวมาเยี่ยมโลกจริง ๆ[39] | ยัง |
2528-ปัจจุบัน | สมาคมวิทยาศาสตร์และนักเหตุผลนิยมแห่งอินเดีย (Science and Rationalists' Association of India), และนาย Prabir Ghosh | 2,500,000 รูปีอินเดีย | (ประมาณ 1,331,295 บาทต้นปี 2559) เพื่อใครก็ได้ในโลกนี้ที่สามารถแสดงอำนาจเหนือธรรมชาติโดยไม่โกง ในสถานที่และในสภาวะที่ผู้ให้รางวัลกำหนด[40] | ยัง |
2465 | นิตยสาร Scientific American | 2,500 ดอลลาร์สหรัฐ | (เท่ากับเงินประมาณ 1,223,300 บาทในปัจจุบัน) รางวัล 2 รางวัลสำหรับ (1) เพื่อรูปถ่ายวิญญาณจริงรูปแรกที่ทำภายใต้สภาวะการทดสอบ และ (2) เพื่อผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติคนแรกที่สามารถแสดงอำนาจให้เห็นได้จริง ๆ[2] | ยัง |
2542-ปัจจุบัน | นาย Sima Nan | 1,000,000 หยวน | (ประมาณ 5,484,045 บาทต้นปี 2559) ให้ใครก็ได้ที่สามารถแสดง "ความสามารถพิเศษ" โดยไม่โกง[41] สามารถชนะพร้อมกับรางวัลท้าทายเรื่องเหนือธรรมชาติล้านดอลลาร์สหรัฐได้[ต้องการอ้างอิง] | ยัง |
2545-ปัจจุบัน | รางวัลซิสซิฟัสขององค์กร SKEPP | 10,000 ยูโร (2545-2555) 1,000,000 ยูโร (2555-2556) 25,000 ยูโร (2556-ปัจจุบัน) |
รางวัลดั้งเดิมมีมูลค่า 10,000 ยูโร แต่ต่อมาระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 30 กันยายน 2556 มีนักธุรกิจนิรนามเมืองแอนต์เวิร์ปที่เพิ่มรางวัลเป็น 1,000,000 ยูโร เป็นเวลาปีหนึ่ง ในขณะที่องค์กรวิมตินิยมยุโรปหลายองค์กรผสมโรงโดยจัดรางวัลเพื่อการทดสอบเบื้องต้นก่อนที่จะชิงรางวัลซิสซิฟัส[7][42] ต่อจากนั้น รางวัลปกติจึงเพิ่มจาก 10,000 ยูโร เป็น 25,000 ยูโร (ประมาณ 976,964 บาทต้นปี 2559) [3] | ยัง |
2532-ปัจจุบัน | สมาคมนักวิมตินิยมชาวฟินแลนด์ (Skepsis ry) | 10,000 ยูโร | (ประมาณ 390,797 บาทต้นปี 2559) ให้ใครก็ได้ในประเทศฟินแลนด์ที่สามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติภายใต้สภาวะสังเกตการณ์ที่เหมาะสม หรือพิสูจน์ว่าตนเป็นมนุษย์ต่างดาวโดยให้ตัวอย่างดีเอ็นเอ หรืออะไรอย่างอื่นที่เท่าเทียมกัน เพื่อการทดสอบ[43] | ยัง |
2555-ปัจจุบัน | สมาคมนักเหตุผลนิยมแห่งศรีลังกา (Sri Lankan Rationalist Association) | 1,000,000 รูปีศรีลังกา | (ประมาณ 248,952 บาทต้นปี 2559) ศ. Carlo Fonseka ต่อรางวัลท้าทายของนายอับราฮัม โควัว[44] | ยัง |
2531-ปัจจุบัน | Stichting Skepsis | 10,000 ยูโร | (ประมาณ 390,679 บาทต้นปี 2559) ให้กับใครก็ได้ที่ต้องการจะสอบ "การวินิจฉัยโรคทางเลือก" รวมทั้งโดยวิธีทดสอบกำลังกล้ามเนื้อ (kinesiology) การฝังเข็มไฟฟ้า (electroacupuncture) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (bioresonance therapy) การดูออรา ตาทิพย์ การดูม่านตา การใช้ลูกตุ้มแกว่ง (dowsing) และโหราศาสตร์ คนที่ผ่านการทดสอบเบื้องต้นจะได้รางวัล 500 ยูโร[45]
การท้าทายเบื้องต้นขององค์กรในเดือนมีนาคม 2531 เป็นรางวัล 10,000 กิลเดอร์ดัตช์ สำหรับหมอเทวดาที่สามารถตัดไส้ติ่งของประธานองค์กรออกได้ (โดยวิธี psychic surgery)[46] |
ยัง |
2537-ปัจจุบัน | นาย Stuart Landsborough (จากองค์กร NZ Skeptics) | 100,000 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ | (ประมาณ 2,350,726 บาทต้นปี 2559) ให้กับใครก็ได้ที่สามารพิสูจน์ความสามารถทางจิตวิญญาณ โดยหาตั๋วสัญญาใช้เงินที่แบ่งเป็นสองส่วนซ่อนไว้ในเขตขนาด 100 เมตรภายในสวนปริศนา "Stuart Landsborough's Puzzling World" จากจุดเบื้องต้นของการท้ายทาย เขตที่ต้องหาได้ลดลงจากขนาด 5 กิโลเมตรจนมาเหลือแค่ 100 เมตรโดยเพิ่มรางวัลเป็นสองเท่า การแบ่งตั๋วออกเป็นสองส่วนก็เพื่อลดโอกาสที่จะหาเจอได้โดยบังเอิญเท่านั้น[47]
แต่ว่า ผู้ชิงรางวัลต้องบริจาคเงิน 1,000 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ (ประมาณ 23,507 บาทต้นปี 2559) ถ้าแพ้[48] |
ยัง |
--- | สมาคมมนุษยนิยมแห่งสวีเดน (Swedish Humanist Association) | 100,000 โครนาสวีเดน | (ประมาณ 420,352 บาทต้นปี 2559) ให้กับใครก็ได้ที่สามารถแสดงความสามารถเหนือธรรมชาติ ที่ไม่มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์[49] | ยัง |
2532-ปัจจุบัน | นักวิมตินิยมชาวอ่าวสแทมปา (Tampa Bay Skeptics ) | 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ | (ประมาณ 36,502 บาทต้นปี 2559) ให้กับใครก็ได้ที่สามารถแสดงปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ ภายใต้สภาวะสังเกตการณ์ที่ตกลงกันได้[2][50] | ยัง |
2557-ปัจจุบัน | Český klub skeptiků Sisyfos | 1,000,000 โกรูนาเช็ก | (ประมาณ 1,445,753 บาทต้นปี 2559) ให้กับใครก็ได้ที่สามารถพิสูจน์ความสามารถเหนือธรรมชาติในเรื่องตาทิพย์ (clairvoyance) โทรจิต การเคลื่อนย้ายวัตถุได้ด้วยจิต (telekinesis) การหาวัตถุต่าง ๆ ด้วยแท่ง (rhabdomancy) เป็นต้น[51] | ยัง |
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Christopher, Milbourne (1975), Mediums, Mystics & the Occult. Thomas Y. Crowell Co.
- Radin, Dean (2006), Entangled Minds: Extrasensory Experiences in a Quantum Reality. Paraview Pocket Books.
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Saunders, Richard (September 6, 2012). "The Million Dollar Challenge at TAM 2012". JREF Swift Blog. James Randi Educational Foundation. สืบค้นเมื่อ 2015-01-08.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Carroll, Robert Todd (June 19, 2014). "Randi $1,000,000 paranormal challenge". The Skeptic's Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2015-01-06.
- ↑ 3.0 3.1 "Sisyphus prijs". SKEPP website (ภาษาดัตช์). SKEPP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 25, 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-01-06.
- ↑ 4.0 4.1 "Défi sceptique : bourses de 10 000 $ et un million de dollars américains" (ภาษาฝรั่งเศส). Les Sceptiques de Québec. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 29, 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-01-04.
- ↑ Corinna Sachs (October 12, 2004). "Übersinnliche Phänomene im Test" (PDF). Quarks & Co (ภาษาเยอรมัน). Westdeutscher Rundfunk. สืบค้นเมื่อ 2015-01-06.
- ↑ "The Sisyphus Prize Pre-Test. Rules for applicants to ASKE". ASKE website. Association for Skeptical Enquiry. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 16, 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-01-04.
- ↑ 7.0 7.1 Engels, Joep (September 30, 2012). "Win een miljoen met het lezen van tarotkaarten". Trouw (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 2015-01-06.
- ↑ 8.0 8.1 "Abraham Kovoor". Thought & Action. Maharashtra Andhashraddha Nirmoolan Samiti. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 13, 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-01-04.
- ↑ Larsen, Claus (September 2003). "Get Rich Quick or Save the World". Skeptic Report. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 23, 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-03-07.
- ↑ "Telefono Antiplagio". Antiplagio.org. 2000. สืบค้นเมื่อ 2015-01-04.
- ↑ Indo-Asian News Service (December 7, 2005). "NRI group gets cracking on Asian occultists in Britain". Hindustan Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-05. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
- ↑ Indo-Asian News Service (2006-01-14). "Asian rationalists in UK dare tantriks". Hindustan Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-05. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
- ↑ "The $100,000 Challenge". AS website. Australian Skeptics. สืบค้นเมื่อ 2015-01-04.
- ↑ Basava Premanand (October 15, 1998). "The Challenge". Indian Skeptic website. Indian CSICOP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
- ↑ Basava Premanand (August 29, 1998). "Rules for the Paranormal Challenge". Indian Skeptic website. Indian CSICOP. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
- ↑ Daniel Zepeda (August 17, 2011). "Reto Paranormal de Papá Escéptico" (ภาษาสเปน). Papá Escéptico. สืบค้นเมื่อ 2015-01-06.
- ↑ Martin Vällik (March 16, 2008). "10000 €". skeptik.ee (ภาษาเอสโตเนีย). Eesti Skeptik. สืบค้นเมื่อ 2015-01-06.
- ↑ "About the Fayetteville Freethinkers". Fayetteville Freethinkers. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
- ↑ "A local group is offering a big reward". Global Broadcast Database. April 18, 2012.
- ↑ Jeevan Mathew Kurian (June 13, 2008). "He beats holy men at their own game". Thaindian News. Indo-Asian News Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 26, 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-01-04.
- ↑ "'Astrologers biggest losers in 2014 Elections'--Humanists". The Siasat Daily. June 21, 2014. สืบค้นเมื่อ 2015-01-04.
- ↑ "Z comme zététique, ou le pourfendeur du paranormal" (PDF) (ภาษาฝรั่งเศส). Agence France-Presse. September 8, 2006. สืบค้นเมื่อ 2015-01-06.
- ↑ Nestler, Ralf (August 21, 2009). "Die Macht der Strahlen". Zeit Wissen (ภาษาเยอรมัน). Zeitverlag Gerd Bucerius. 5. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
- ↑ "Eine kurze Geschichte der GWUP" (ภาษาเยอรมัน). GWUP website. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
- ↑ "Правила премии" (ภาษารัสเซีย). Премия имени Гарри Гудини. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 1, 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-08-03.
- ↑ Шутова Е. (July 24, 2015). "Миллион за колдовство". Наука → Мракобесие (ภาษารัสเซีย). ЗАО «Газета.Ру». สืบค้นเมื่อ 2015-08-03.
- ↑ "The IIG $100,000 Challenge". IIG website. Independent Investigations Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 29, 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-01-04.
- ↑ ANP/AFP (May 30, 2012). "Ghostbusters: is Hollywood a spiritual 'vortex'?". Radio Netherlands Worldwide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-04. สืบค้นเมื่อ 2015-01-04..
- ↑ Lefkow, Chris (September 22, 1995). ""Milk Miracle" -- or "Mass Hysteria"?". The Nepal Digest archive. Agence France-Presse. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 3, 2016. สืบค้นเมื่อ 2015-01-04.
- ↑ Wolpert, Lewis (March 22, 2002). "Science: a magical show of scepticism". The Independent.
- ↑ 31.0 31.1 "The Million Dollar Challenge". สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
- ↑ Ferris, Timothy (November 23, 1980). "Nonfiction in brief". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 23, 1980.
- ↑ "Are you psychic?". St. Petersburg Times. April 2, 1989.
- ↑ Grossman, Wendy (December 9, 1996). "Science: Putting psychics to the test. An arch-sceptic is offering $1m in a challenge to belief in the paranormal, writes Wendy Grossman". The Independent. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
- ↑ "Challenge Activity". NTS website. North Texas Skeptics. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
- ↑
Aicklen, Gregory H. ; Blanton, John F. ; Golla, Prasad N. ; Selby, Mike ; Thomas, John A. "The North Texas Skeptics Paranormal Challenge". NTS website. North Texas Skeptics. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Bee Paul Hirschl. "In pursuit of the paranormal". Google News Archive. Pittsburgh Post-Gazette. สืบค้นเมื่อ 2015-10-09.
- ↑ Dorma McHattie. "Psychic Illusionist Program". Google News Archive. Beaver County Times. สืบค้นเมื่อ 2015-10-09.
- ↑ Klass, Philip J. (1975). UFOs Explained. New York: Random House. pp. 355-359. ISBN 9780394492155. OCLC 979190.
- ↑ Prabir Ghosh (June 22, 2010). "Challenge to all 'supernatural' and 'paranormal' power holders/ astrologers etc". SRAI website. Science and Rationalists' Association of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 24, 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
- ↑ Mainfort, Donald (March 1999). "Sima Nan: Fighting Qigong Pseudoscience in China". Skeptical Inquirer. Committee for Skeptical Inquiry. 9 (1). สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
- ↑ Bosteels, Jan (July 3, 2013). "Hoe meet je iets dat niet bestaat? SKEPP voert eerste test van 1 miljoen uit". Knack (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 2014-01-06.
- ↑ "Skepsis in English". Skepsis website. Skepsis ry. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
- ↑ Sundarji, Padma Rao (November 27, 2014). "What is it with us and scandalous Swamis?". The Daily Mirror. สืบค้นเมื่อ 2015-01-04.
- ↑ Nanninga, Rob; Nienhuys, Jan Willem. "Alternatieve diagnoses kunnen op de proef worden gesteld". Skepsis website (ภาษาดัตช์). Stichting Skepsis. สืบค้นเมื่อ 2014-01-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Paalman, Jan (September 1988). "Psychochirurgie. Opereren met blote handen". Skepter (ภาษาดัตช์). Stichting Skepsis. 1 (3): 28.
{{cite journal}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - ↑ Stuart Landsborough. "What is the Psychic Challenge?". Stuart Landsborough's $100,000 Psychic Challenge. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
- ↑ Stuart Landsborough. "Rules of the Challenge". Stuart Landsborough's $100,000 Psychic Challenge. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
- ↑ "Kristallkulan". SHA website (ภาษาสวีเดน). Swedish Humanist Association. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
- ↑ "$$$ Challenges". TBS website. Tampa Bay Skeptics. สืบค้นเมื่อ 2015-01-07.
- ↑ "Paranormální výzva". Falešní hráči (ภาษาเช็ก). The Real Bohemian. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 15, 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-01-07.