รอยประสาน (กายวิภาคศาสตร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซูเจอร์ หรือ รอยประสาน
(Suture)
ภาพวาดแสดงมุมมองจากทางด้านข้างซ้ายของกะโหลกศีรษะของมนุษย์
มุมมองจากทางด้านข้างซ้ายของกะโหลกศีรษะ แสดงรอยประสานหรือซูเจอร์
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินsutura
MeSHD003393
TA98A03.1.02.001
TA21574
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

รอยประสาน (อังกฤษ: suture ซูเจอร์) เป็นข้อต่อชนิดหนึ่ง จัดเป็นชนิดย่อยของข้อต่อชนิดเนื้อเส้นใยคั่น (fibrous joint หรือ synarthrosis[1]) ซึ่งพบอยู่ในกะโหลกศีรษะ (หรือกระดูกหุ้มสมอง) โดยที่กระดูกทั้งสองชิ้นจะยึดกันด้วยเส้นใยที่เรียกว่า Sharpey's fibres ข้อต่อชนิดนี้สามารถเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย ทำให้กะโหลกศีรษะมีความยืดหยุ่นเล็กน้อย

เมื่อแรกเกิด กระดูกกะโหลกศีรษะหลายชิ้นอาจยังไม่เชื่อมเป็นแผ่นกระดูกที่ชิดติดกัน บริเวณที่อยู่ระหว่างชิ้นกระดูกนั้นจะเป็นแผ่นเนื้อเยื่อคลุมที่เรียกว่า กระหม่อม (fontanelle) บริเวณบนกะโหลกศีรษะสามารถมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดช่วงวัยผู้ใหญ่ (แม้จะไม่รวดเร็วนัก) ซึ่งมีประโยชน์ในการให้ข้อมูลทางนิติวิทยาศาสตร์และโบราณคดี

รายชื่อซูเจอร์[แก้]

ซูเจอร์หลายตำแหน่งบนกะโหลกศีรษะมีชื่อตามชื่อกระดูกที่ซูเจอร์นี้คั่นอยู่ แต่บางตำแหน่งก็มีชื่อเฉพาะของมันเอง

สัณฐานกะโหลกด้านข้าง (norma lateralis)[แก้]

สัณฐานกะโหลกด้านหน้าผาก (norma frontalis) หรือด้านบน (norma verticalis)[แก้]

สัณฐานกะโหลกด้านล่าง (norma basalis) หรือด้านใน[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Module - Introduction to Joints". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-17. สืบค้นเมื่อ 2008-01-29.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]