รถถังพิฆาต เอ็ม10
3-inch Gun Motor Carriage M10 | |
---|---|
ชนิด | รถถังพิฆาต |
แหล่งกำเนิด | สหรัฐอเมริกา |
บทบาท | |
สงคราม | สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948 |
ประวัติการผลิต | |
ผู้ออกแบบ | U.S. Army Ordnance Department |
ช่วงการออกแบบ | 1942 |
บริษัทผู้ผลิต | Fisher Body division of General Motors Ford Motor Company |
มูลค่าต่อหน่วย | $47,900[1] |
ช่วงการผลิต | September 1942 – December 1943 |
จำนวนที่ผลิต | 6,406 |
แบบอื่น | see Variants |
ข้อมูลจำเพาะ (3-inch Gun Motor Carriage M10/M10A1[2]) | |
มวล | M10: 65,200 lb (29.57 metric tons) M10A1: 64,000 lb (29.03 metric tons) |
ความยาว | 19 ft 7 in (5.97 m) hull 22 ft 5 in (6.83 m) including gun |
ความกว้าง | 10 ft 0 in (3.05 m) |
ความสูง | 9 ft 6 in (2.89 m) over antiaircraft machine gun |
ลูกเรือ | 5 นาย(ผู้บัญชาการ, พลยิง, พลบรรจุกระสุน, พลขับ และพลขับผู้ช่วย) |
เกราะ | 0.375 to 2.25 in (9.5 to 57.2 mm) |
อาวุธหลัก | 3-inch Gun M7 in Mount M5 54 rounds |
อาวุธรอง | .50 caliber (12.7 mm) Browning M2HB machine gun 300 rounds |
เครื่องยนต์ | M10: General Motors 6046 twin diesel 375 hp (280 kW) at 2,100 rpm M10A1: Ford GAA V8 450 hp (336 kW) at 2,600 rpm |
กำลัง/น้ำหนัก | M10: 12.68 hp/metric ton M10A1: 15.50 hp/metric ton |
เครื่องถ่ายกำลัง | Synchromesh 5 speeds forward, 1 reverse |
กันสะเทือน | Vertical volute spring suspension (VVSS) |
ความจุเชื้อเพลิง | M10: 165 US gallons (625 litres) M10A1: 192 US gallons (727 litres) |
พิสัยปฏิบัติการ | M10: 200 mi (300 km) M10A1: 160 mi (260 km) |
ความเร็วสูงสุด | M10: 25–30 mph (40–51 km/h) on road M10A1: 30 mph (51 km/h) on road |
รถถังพิฆาต เอ็ม10 เป็นรถถังพิฆาตสัญชาติอเมริกันในสงครามโลกครั้งที่สอง ภายหลังจากสหรัฐได้เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองและก่อตั้งกองกำลังรถถังพิฆาต ยานพาหนะที่เหมาะสมนั้นจำเป็นในการติดตั้งให้กับกองพันใหม่ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1941 กองทัพได้เรียกร้อนยานพาหนะที่ติดตั้งด้วยปืนในป้อมปืนที่สามารถหมุนได้อย่างเต็มที่ ภายหลังจากรุ่นอื่นๆได้ถูกวิจารณ์ว่าเป็นเพราะการออกแบบที่แย่เกินไป รุ่นต้นแบบของเอ็ม10 ได้คิดค้นในปี ค.ศ. 1942 ได้ถูกส่งมอบในเดือนเมษายนของปีนั้น ภายหลังจากได้ทำการเปลี่ยนแปลงลำตัวและป้อมปืนได้อย่างเหมาะสม รุ่นที่ได้รับการดัดแปลงได้ถูกคัดเลือกสำหรับการผลิตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1942 คือ 3-inch Gun Motor Carriage M10 ได้ถูกติดตั้งด้วยปืนเอ็ม7 ขนาด 3 นิ้ว(76.2 มม)ในป้อมปืนที่สามารถหมุนได้บนฐานรถถังของรถถังเอ็ม4เอ2 เชอร์แมนที่ถูกดัดแปลง ในรูปแบบที่สลับเปลี่ยนกัน, รุ่น M10เอ1 ซึ่งได้ใช้ฐานรถถังของรถถังเอ็ม4เอ3 เชอร์แมนก็ถูกผลิตขึ้น การผลิตทั้งสองรุ่นได้ดำเนินการในเดือนกันยายน ค.ศ. 1942 ถึงเดือนธันวาคม ค.ศ. 1943 และเดือนตุลาคม ค.ศ. 1942 ถึงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1943 ตามลำดับ
เอ็ม10 เป็นรถถังพิฆาตสัญชาติอเมริกันที่มีจำนวนมากที่สุดในสงครามโลกครั้งที่สอง มันผสมผสานกับแผ่นเกราะที่บางแต่ลาดเอียงกับกับระบบขับเคลื่อนของเอ็ม4 เชอร์แมนที่มีความน่าเชื่อถือได้และอาวุธต่อต้านรถถังที่มีประสิทธิภาพมากพอสมควรที่ถูกติดตั้งในป้อมปืนแบบเปิดด้านบน แม้ว่ามันจะล้าสมัยในการเผชิญหน้ากับรถถังเยอรมันที่ทรงพลังกว่าอย่างรถถังพันเทอร์ และได้รับการแนะนำประเภทรถถังที่ทรงพลัังกว่าและมีการออกแบบที่ดีกว่ามาทดแทน เอ็ม10 ยังคงประจำการอยู่จนกระทั่งสงครามสิ้นสุดลง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การใช้งานเป็นหลักของรถถังพิฆาต เอ็ม10 โดยสหรัฐอเมริกา แต่มีจำนวนมากที่มาจากโครงการให้ยืม-เช่าที่ถูกส่งไปยังสหราชอาณาจักรและกองทัพฝรั่งเศสเสรี อีกหลายสิบคันก็ยังถูกส่งไปยังสหภาพโซเวียต หลังสงคราม รถถังเอ็ม10 ได้ถูกส่งมอบที่เป็นส่วนที่เกินของกองทัพ(military surplus)แก่หลายประเทศ เช่น เบลเยียม เดนมาร์ก และเนเธอร์แลนด์ ผ่านทางกฏหมายให้ความช่วยเหลือการป้องกันร่วมกัน(Mutual Defense Assistance Act) หรือได้มาโดยวิธีอื่นๆโดยประเทศ เช่น อิสราเอลและสาธารณรัฐจีน
รถถังเอ็ม10 มักจะถูกเรียกเป็นชื่อเล่นว่า"วูล์ฟเวอรีน" แต่ไม่ทราบที่มาของชื่อเล่นนี้ มันอาจจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ในช่วงหลังสงคราม แตกต่างจากยานพาหนะอื่นๆ เช่น เอ็ม4 เชอร์แมน เอ็ม5 สจวต หรือเอ็ม7 พรีสท รถถังเอ็ม 10 ไม่เคยได้รับการตั้งชื่อหรือกล่าวถึงเมื่อถูกใช้งานโดยทหารอเมริกัน[3][4] พวกเขาเรียกมันเป็นย่อคำว่า "ทีดี" (ชื่อเล่นสำหรับรถถังพิฆาตโดยทั่วไป) เกินกว่าจะมีชื่ออย่างเป็นทางการ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Zaloga (2002) p8
- ↑ http://afvdb.50megs.com/usa/3ingmcm10.html
- ↑ Bryan Perrett (2003), Impossible Victories, p 98, Barnes & Noble, ISBN 978-0-7607-3533-6
- ↑ Chris Henry & Brian Delf (2004), British Anti-tank Artillery 1939–45], p 23, Osprey, ISBN 978-1-84176-638-6.