สงครามกรณาฏ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่อนุทวีปอินเดีย ภูมิภาคกรณาฏคือสีเขียวอ่อน
ยุทธการที่ปลาศี คือยุทธการที่โด่งดังที่สุดในสงคราม

สงครามกรณาฏ (อังกฤษ: Carnatic Wars) เป็นความขัดแย้งทางทหารในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเกิดขึ้นในภูมิภาคกรณาฏของราชรัฐไฮเดอราบาด บนอนุทวีปอินเดีย ประกอบด้วยสงครามสามครั้งระหว่างค.ศ. 1746 ถึง 1763 ได้แก่:

  • สงครามกรณาฏครั้งที่หนึ่ง (1746–1748) ถือเป็นส่วนหนึ่งของสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย
  • สงครามกรณาฏครั้งที่สอง (1749–1754) เป็นช่วงที่ยุโรปเว้นว่างจากสงคราม แต่ยังมีสงครามในอินเดีย
  • สงครามกรณาฏครั้งที่สาม (1756–1763) ถือเป็นส่วนหนึ่งของสงครามเจ็ดปี

สงครามกรณาฏเกี่ยวข้องกับราชรัฐอิสระหลายแห่งในอินเดีย ซึ่งต่อสู้แย่งชิงบัลลังก์และดินแดนของกันและกัน รวมไปถึงความขัดแย้งทางการทูตและทางการทหารระหว่างบริษัทอินเดียตะวันออกของบริเตนกับบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส

สงครามสามครั้งนี้ส่งผลให้บริษัทอินเดียตะวันออกของบริเตนมีอำนาจครอบงำบริษัทการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดในอนุทวีปอินเดีย และสามารถแผ่ขยายอิทธิพลจนครอบคลุมทั้งหมดของอนุทวีปอินเดียจนสามารถสถาปนาเป็นบริติชราช (จักรวรรดิอินเดีย)

อ้างอิง[แก้]

  • The Cambridge History of the British Empire. 1929. สืบค้นเมื่อ 16 December 2014.