ยะห์ยา อิบน์ มะอีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยะห์ยา อิบน์ มะอีน
يحيى بن معين
คำนำหน้าชื่อ
  • มะลิก อัลฮุฟฟาซ (ราชาแห่งบรรดาผู้ท่องจำหะดีษ)
  • ชัยคุลมุฮัดดิษูน (ชัยค์แห่งบรรดานักหะดีษ)
ส่วนบุคคล
เกิด774[1]
มรณภาพ847 (อายุ 72–73)[5][6]
ศาสนาศาสนาอิสลาม
ยุคยุคทองของอิสลาม
ภูมิภาครัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์
สำนักคิดอิจญ์ติฮาด (ได้รับอิทธิพลจากฮะนะฟี)[3][4]
ลัทธิอะษะรี[7]
ความสนใจหลัก
ตำแหน่งชั้นสูง

ยะห์ยา อิบน์ มะอีน (อาหรับ: يحيى بن معين) (ค.ศ. 774-847) เป็นนักวิชาการอิสลามแห่งยุคสะลัฟผู้ยิ่งใหญ่ในด้านหะดีษ[10]

ชีวประวัติ[แก้]

ชีวิต[แก้]

เขาเกิดในปี 158 (ฮ.ศ.) ในรัชสมัยของเคาะลีฟะฮ์อะบูญะอ์ฟัร อัลมันศูร เขามีพื้นเพเดิมมาจากชาวนาบาเทียนแห่งอิรัก และเติบโตในแบกแดด เขาเป็นผู้ที่มีความอวุโสที่สุดในหมู่นักหะดีษที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งได้แก่ อะลี อิบน์ อัลมะดีนี, อะฮ์หมัด อิบน์ ฮัมบัล, อิสฮาก อิบน์ เราะฮ์วัยฮ์, อะบูบักร อิบน์ อะบีชัยบะฮ์ และ อะบูค็อยษะมะฮ์ เขาเป็นเพื่อนสนิทของอะฮ์หมัด อิบน์ ฮัมบัล และมักถูกอ้างอิงในเรื่องเกี่ยวกับศาสตร์แห่งสายรายงานหะดีษ[11] นอกเหนือจากอิบน์ ฮัมบัล, อะลี อิบน์ อัลมะดีนี และ อิบน์ อะบีชัยบะฮ์ แล้วอิบน์ มะอีน ยังได้รับการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญด้านหะดีษหลายคนให้เป็นหนึ่งในสี่นักเขียนที่สำคัญที่สุดในสาขานี้[12]

อาชีพทางวิชาการ[แก้]

ยะห์ยาแสวงหาความรู้โดยการเดินทางไปในที่ต่างๆ ซึ่งเขาทำอย่างจริงจังจนหลังจากการจากไปของบิดาของเขา เขาใช้เงินทั้งหมด 1,050,000 ดิรฮัม ซึ่งเป็นมรดกของเขาในการแสวงหาหะดีษ จนกระทั่งหมดเนื้อหมดตัว ไม่พอที่จะซื้อรองเท้าสักคู่[13] การเดินทางแสวงหาความรู้เรื่องหะดีษและนิติศาสตร์อิสลามทำให้เขาต้องเดินทางไปยังเมืองบัศเราะฮ์, แบกแดด, ฮัรรอน, ดามัสกัส, อัรรุศอฟะฮ์, อัรร็อย, ศ็อนอาอ์, กูฟะฮ์, อียิปต์ และ มักกะฮ์[14] แม้ว่าเขาจะเริ่มเขียนหนังสืออย่างเป็นทางการในฐานะนักเขียนตั้งแต่อายุยี่สิบปีก็ตาม[15] หนังสือที่มีอยู่จนถึงในยุคปัจจุบัน ได้แก่ มะอ์ริฟะตุลรริญาล[16] ยะห์ยา อิบน์ มะอีน วะกิตาบุฮุตตารีค และบทความเล็กๆ ชื่อ 'มินกะลาม อะบีซะกะรียา ยะห์ยา อิบน์ มะอีน ฟิรริญาล'

อาจารย์ของเขาคือ อับดุลลอฮ์ อิบน์ อัลมุบาร็อก, อิสมาอีล อิบน์ อิยาช, อะบาด อิบน์ อะบาด, ซุฟยาน อิบน์ อุยัยนะฮ์, ญุนดุร, อะบูมุอาวียะฮ์, ฮาติม อิบน์ อิสมาอีล, ฮัฟศ์ อิบน์ ฆิยาษ, ญะรีร อิบน์ อับดุลฮะมีด, อับดุรร็อซซาก อัศศ็อนอานี, วะกีอ์ และอื่นๆ อีกมากมายจากอิรัก ฮิญาซ, ญะซีเราะฮ์, ชาม และ อียิปต์[17]

ลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงของเขา ได้แก่ อะฮ์หมัด อิบน์ ฮัมบัล, มุฮัมมัด อิบน์ ซะอ์ด, อะบูค็อยษะมะฮ์, อัลบุคอรี, มุสลิม, อะบูดาวูด, อับบาส อัดเดารี, อะบูฮาติม และอีกมากมาย[18]

เขาเลื่องลือว่าเปิดโปงรายงานหลายอย่างว่าเป็นเท็จ และได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญในยุคแรกๆ ที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับอิลมุรริญาล (ศาสตร์แห่งรายงานหะดีษ)[19]

อ้างอิง[แก้]

  1. "مناهج أئمة الجرح والتعديل". Ibnamin.com. สืบค้นเมื่อ 2010-04-10.
  2. Tahdhib al-Tahdhib
  3. Soroni, Mohd Khafidz. "Sumbangan Ulama Mazhab Hanafi dalam Pembukuan ‘Ulum Al-Hadith." HADIS 8.16 (2018): 40-62.
  4. Abasoomar, Muhammad; Abasoomar, Haroon. "The Great Hanafi Muhaddithun". Hadith Answers.
  5. "Muslim American Society". Masnet.org. 2003-10-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-19. สืบค้นเมื่อ 2010-04-10.
  6. "USC-MSA Compendium of Muslim Texts". Usc.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-29. สืบค้นเมื่อ 2010-04-10.
  7. Melchert, Christopher (1997). The Formation of the Sunni Schools of Law, 9th-10th Centuries C.E. Koninklijke Brill, Leiden, The Netherlands: Brill Publishers. pp. 7, 165. ISBN 90-04-10952-8.
  8. "IslamWeb". IslamWeb. สืบค้นเมื่อ 2010-04-10.
  9. Al-Bastawī, ʻAbd al-ʻAlīm ʻAbd al-ʻAẓīm (1990). Al-Imām al-Jūzajānī wa-manhajuhu fi al-jarḥ wa-al-taʻdīl. Maktabat Dār al-Ṭaḥāwī. p. 9.
  10. "Mengenal Yahya Bin Ma'in, Ahli Hadis yang Wafat Ditemani Ribuan Kitab". Arrahmah.com (ภาษาอินโดนีเซีย). 2021-08-20. สืบค้นเมื่อ 2021-09-21.
  11. "Rijal: narrators of the Muwatta of Imam Muhammad". Bogvaerker.dk. 2005-01-08. สืบค้นเมื่อ 2010-04-10.
  12. Ibn al-Jawzi, The Life of Ibn Hanbal, pg. 45. Trns. Michael Cooperson. New York: New York University Press, 2016. ISBN 9781479805303
  13. Maʿrifatul ‘l-Rijāl, Vol 1, pg. 5. Tārīkh Bagdād, Vol 16, pg. 265
  14. Maʿrifatul al-Rijāl, Vol 1, pg. 7 – 8.
  15. Ma’rifatul ‘l-Rijāl, Vol 1, pg. 16
  16. Ma’rifatul ‘l-Rijāl, Vol 1, pg. 16
  17. Siyar Aʿlām al-Nubalā’, Vol 11, pg. 72. Al-Kamāl fī Asmā' al-Rijāl, Vol. 31, pg. 544 – 546
  18. Tārīkh Bagdād, Vol 16, pg. 263. Siyar Aʿlām al-Nubalā’, Vol 11, pg. 72. Tahzīb Al-Kamāl fī Asmā' al-Rijāl, Vol. 31, pg. 546
  19. Leemhuis, F. (2012-04-24), "Yaḥyā b. Maʿīn", Encyclopaedia of Islam, Second Edition (ภาษาอังกฤษ), Brill, สืบค้นเมื่อ 2023-06-27