มุกตินาถ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มุกตินาถ
มุกตินาถ ด้านหลังแลเห็นเขาเธาลาคีรีหิมัล
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตมุสตัง
เทพพระวิษณุ
ที่ตั้ง
ที่ตั้งธวลาคีรี
ประเทศประเทศเนปาล
มุกตินาถตั้งอยู่ในประเทศเนปาล
มุกตินาถ
ที่ตั้งในประเทศเนปาล
พิกัดภูมิศาสตร์28°49′01″N 83°52′18″E / 28.816854°N 83.871742°E / 28.816854; 83.871742
ระดับความสูง3,762 m (12,343 ft)

มุกตินาถ (เนปาล: मुक्तिनाथ; Muktinath) เป็นโบสถ์พราหมณ์พระวิษณุที่เป็นที่สักการะบูชาทั้งโดยชาวฮินดูและพุทธศาสนิกชน ตั้งอยู่ในเทือกเขามุกตินาถ เชิงเขาโตโรงลา ในอำเภอมุสตาง ประเทศเนปาล ตั้งอยู่ที่ความสูง 3,800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ตามธรรมเนียมฮินดู ที่นี่เป็นหนึ่งใน 108 ทิพยเทสัม โดยเป็นทิพยเทสัมแห่งเดียวที่ไม่ได้ตั้งอยู่นประเทศอินเดีย[1][2] ในศาสนาพุทธแบบทิเบตเรียกที่นี่ว่า ชูมิกกัตซา (Chumig Gyatsa) อันแปลว่า "หนึ่งร้อยน้ำ" ตามคติพุทธแบบทิเบตเชื่อว่า ฑากินี มีความสัมพันธ์กับมุกตินาถอย่างมาก และที่นีาเป็นหนึ่งในศาสสถาน 24 แห่งในคติตตันตระ และเชื่อว่ามูรติภายในเป็นของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์[3]

มุกตินาถเป็นที่สักการะเป็นพิเศษในนิกายศรีไวษณวะ ติรุมังคาอี อัลวาร์ (Thirumangai Alvar) เขียนสรรเสริญที่นี่ไว้ในนาลยิรา ทิพยะ ประพันธัม ติดกันกับมนเทียรนี้มีแม่น้ำคัณฑกีไหลผ่าน และมีหินศลิครามอยู่ภายในแม่น้ำ หินรูปแบบต่าง ๆ เหล่านี้ได้รับการเคารพบูชาเป็นปางต่าง ๆ ของพระวิษณุ หินสีขาวเชื่อว่าเป็นพระวาสุเทพ, หินสีดำเป็นพระวิษณุ, หินสีเขียวเป็นพระนารายณ์, สีน้ำเงินเป็นพระกฤษณะ, สีเหลืองทองหรือเหลืองแดงเป็นพระนรสิงห์ และสีเหลืองเป็นพระวามนะ นอกจากนี้ยังมีหินที่เป็นรูปของปัญจชันยะ และ สุทรรศนจักร อันเป็นเครื่องสัญลักษณ์ของพระวิษณุ[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. BANSAL, SUNITA PANT (2012-11-15). Hindu Pilgrimage (ภาษาอังกฤษ). V&S Publishers. p. 96. ISBN 978-93-5057-251-1.
  2. "Nepal's Top Pilgrimage and Holy Sites – The Abode of Spirituality". Nepali Sansar (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-03-30. สืบค้นเมื่อ 2020-12-14.
  3. Zurick, David (2006). Illustrated Atlas of the Himalayas. Lexington: University Press of Kentucky. p. 153.
  4. R., Dr. Vijayalakshmy (2001). An introduction to religion and Philosophy - Tévarám and Tivviyappirapantam (1st ed.). Chennai: International Institute of Tamil Studies. pp. 489–90.