มารตัณฑสูรยมนเทียร

พิกัด: 33°44′44″N 75°13′13″E / 33.74556°N 75.22028°E / 33.74556; 75.22028
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มารตัณฑสูรยมนเทียร
อาคารกลางของหมู่มนเทียร
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตอนันตนาค
เทพมารตัณฑ์ (สูรยะ)
ที่ตั้ง
ที่ตั้งกัศมีร์
รัฐจัมมูและกัศมีร์
ประเทศอินเดีย
มารตัณฑสูรยมนเทียรตั้งอยู่ในชัมมูและกัศมีร์
มารตัณฑสูรยมนเทียร
Location within Indian-administered Jammu and Kashmir
มารตัณฑสูรยมนเทียรตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
มารตัณฑสูรยมนเทียร
Location within India
พิกัดภูมิศาสตร์33°44′44″N 75°13′13″E / 33.74556°N 75.22028°E / 33.74556; 75.22028
สถาปัตยกรรม
ประเภทอินเดียโบราณ
ผู้สร้างลลิตาทิตยะ มุกตปีฑะ
เสร็จสมบูรณ์ศตวรรษที่ 8
ทำลายศตวรรษที่ 15

มารตัณฑสูรยมนเทียร หรือ มนเทียรพระอาทิตย์มารตัณฑ์ (อังกฤษ: Martand Sun Temple) เป็นโบสถ์พราหมณ์ที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 8 เชื่อว่าสร้างขึ้นโดยกษัตริย์ลลิตาทิตยะ มุกตปีฑะแห่งจักรวรรดิกรโกฏ มนเทียรตั้งอยู่ไม่ไกลจากเมืองอนันตนาคในหุบเขากัศมีร์ ชัมมูและกัศมีร์ ประเทศอินเดีย มนเทียรนี้สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระสูรยะ เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ในคติศาสนาฮินดู และมีอีกนามคือ มารตัณฑะ (मार्तण्ड, Mārtaṇḍa) มนเทียรถูกทำลายลงโดยผู้นำซีกันดาร์ ชาห์ มีรี ชาวมุสลิมในระหว่างความพยายามทำให้หุบเขากัศมีร์เปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลาม[1][2] หลังจากนั้นซากของมนเทียรยังเสียหายเพิ่มเติมจากแผ่นดินไหวในพื้นที่อีก[3]

มนเทียรตั้งอยู่บนยอดของที่ราบสูงซึ่งสามารถมองเห็นทิวของหุบเขากัศมีร์ทั้งหมดได้ จากการศึกษาซากและการค้นพบทางโบราณคดี ทำให้อาจพูดได้ว่ามนเทียรนี้เป็นสิ่งปลูกสร้างตัวอย่างชิ้นเยี่ยมของสถาปัตยกรรมกัศมีร์ ซึ่งผสมผสานรูปแบบของคันธาระ, คุปตะ และ จีน เข้าด้วยกัน[4][5] หินปูนก้อนใหญ่ของมนเทียรฉาบเข้าด้วยกันโดยใช้ปูนไลม์ (Lime mortar) เนื่องจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เสนอว่าการใช้งานปูนไลม์ในอินเดียเหนือเริ่มแพร่หลายหลังรัฐสุลต่านเดลีเรืองอำนาจในศตวรรษที่ 13 ทำให้มีการเสนอว่ากษัตริย์ลลิตาทิตยะได้ว่าจ้างให้ช่างจากบีแซนทีนมาเป็นผู้ออกแบบมนเทียร[6]

กรมสำรวจโบราณคดีอินเดียประกาศให้มนเทียรเป็นสถานที่อันมีความสำคัญระดับชาติ[7] ในปี 2012[8] มารตัณฑสูรยมนเทียรเป็นหนึ่งในสามจุดหมายในการแสวงบุญของบัณฑิตชาวกัศมีร์ ควบคู่กับศรฑาปีฐ และ อมรนาถมนเทียร

อ้างอิง[แก้]

  1. Pandit, Kashinath (1991). Baharistan-i-shahi: A chronicle of mediaeval Kashmir. Kolkata: Firma KLM Pvt. Ltd.
  2. Slaje, Walter (19 August 2019). "Buddhism and Islam in Kashmir as Represented by Rājataraṅgiṇī Authors". Encountering Buddhism and Islam in Premodern Central and South Asia (ภาษาอังกฤษ). De Gruyter. pp. 128–160. doi:10.1515/9783110631685-006. ISBN 978-3-11-063168-5. S2CID 204477165.
  3. Bilham, Roger; Bali, Bikram Singh; Bhat, M. Ismail; Hough, Susan (1 October 2010). "Historical earthquakes in Srinagar, Kashmir: Clues from the Shiva Temple at Pandrethan". Ancient Earthquakes (ภาษาอังกฤษ). doi:10.1130/2010.2471(10). ISBN 9780813724713.[ลิงก์เสีย]
  4. Wink, André (1991). Al-Hind, the Making of the Indo-Islamic World, Volume 1 By André Wink. BRILL. pp. 250–51. ISBN 9004095098.
  5. Chaitanya, Krishna (1987). Arts Of India By Krishna Chaitanya. Abhinav Publications. p. 7. ISBN 9788170172093.
  6. "Martand Temple in Kashmir: Its grandeur survives, and so do its controversies". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). 4 September 2022. สืบค้นเมื่อ 4 September 2022.
  7. "Archaeological Survey of India protected monuments". heritageofkashmir.org. สืบค้นเมื่อ 11 August 2012.
  8. "Protected monuments in Jammu & Kashmir". asi.nic.in, Archaeological Survey of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2012. สืบค้นเมื่อ 29 October 2012.