จักรวรรดิการโกฏ
จักรวรรดิการโกฏ | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
625–855 | |||||||||||
ศาสนา | ศาสนาฮินดู | ||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | อินเดียยุคคลาสสิก | ||||||||||
• ก่อตั้ง | 625 | ||||||||||
• สิ้นสุด | 855 | ||||||||||
| |||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | อัฟกานิสถาน อินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ |
จักรวรรดิการโกฏ (อังกฤษ: Karkota Dynasty; ประมาณ ค.ศ. 625 − 855) เป็นจักรวรรดิที่มีอาณาเขตเหนือหุบเขากัศมีร์และตอนเหนือบางส่วนของอนุทวีปอินเดียในระหว่างศตวรรษที่ 7-8 เป็นยุคสมัยที่มีการขยับขยายทางการเมือง มีความเจริญมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และการที่กัศมีร์ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและการศึกษา[1]
จักรพรรดิแห่งการโกฏได้ก่อสร้างโบสถ์พราหมณ์บูชาพระวิษณุมากมายในเขตแดนของตน[2] ในขณะเดียวกันก็ได้เปิดกว้างในศาสนาพุทธเจริญเฟื่องฟูในเขตแดนตนเช่นกัน ดังที่พบสถูป เจดีย์ และพุทธวิหารมากมายในซากของราชธานีแห่งการโกฏ มารฑันตสูรยมนเทียรที่ตั้งอยู่ที่อำเภออนันตนาคในปัจจุบัน สร้างขึ้นโดยจักรพรรดิลลิตาทิตยะแห่งการโกฏ ซึ่งถือเป็นโบสถ์พราหมณ์บูชาพระอาทิตย์ (สูรยมนเทียร) ที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในอินเดีย และเป็นหนึ่งในศาสนสถานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเวลานั้น[3]
จักรวรรดิการโกฏสิ้นสุดเมื่ออวันติวรมันก้าวขึ้นสู่บัลลังก์แห่งกัศมีร์ในปี 865 และสถาปนาจักรวรรดิปุตปาละขึ้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Larson, Gerald James (2007). "Nagas, Monks, Tantrics and Poets". ใน Pal, Pratapaditya; Ames, Frank (บ.ก.). The arts of Kashmir (ภาษาอังกฤษ). Asia Society ; 5 Continents. pp. 36–37.
- ↑ Sanderson, Alexis (2009). "The Śaiva Age: The Rise and Dominance of Śaivism during the Early Medieval Period". ใน Einoo, Shingo (บ.ก.). Genesis and Development of Tantrism. Institute of Oriental Culture Special Series: 23. Tokyo: Institute of Oriental Culture, University of Tokyo. pp. 60–61, 73, 298–300. ISBN 978-4-903235-08-0.
- ↑ Siudmak, John (5 April 2013). The Hindu-Buddhist Sculpture of Ancient Kashmir and its Influences. BRILL. ISBN 978-9004248328.