มานูเอล อาซัญญา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มานูเอล อาซัญญา
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐสเปน
ดำรงตำแหน่ง
7 เมษายน ค.ศ. 1936 – 3 มีนาคม ค.ศ. 1939
นายกรัฐมนตรี
ก่อนหน้านิเซโต อัลกาลา-ซาโมรา
ถัดไปฟรันซิสโก ฟรังโก
(เกาดิโยแห่งสเปน)
นายกรัฐมนตรีสเปน
ดำรงตำแหน่ง
19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1936 – 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1936
ประธานาธิบดีนิเซโต อัลกาลา-ซาโมรา
ก่อนหน้ามานูเอล ปอร์เตลา บายาดาเรส
ถัดไปซานเตียโก กาซาเรส กิโรกา
ดำรงตำแหน่ง
14 ตุลาคม ค.ศ. 1931 – 12 กันยายน ค.ศ. 1933
ประธานาธิบดีนิเซโต อัลกาลา-ซาโมรา
ก่อนหน้าฆวน เบาติสตา อัซนาร์ กาบัญญัส
ถัดไปอาเลฆันโดร เลร์รุกซ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม
ดำรงตำแหน่ง
14 เมษายน ค.ศ. 1931 – 12 กันยายน ค.ศ. 1933
ก่อนหน้าดามาโซ เบเรงเกร์
ถัดไปฆวน โฆเซ โรชา การ์ซิอา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
16 มีนาคม ค.ศ. 1936 – 31 มีนาคม ค.ศ. 1939
เขตเลือกตั้งมาดริด
ดำรงตำแหน่ง
8 ธันวาคม ค.ศ. 1933 – 7 มกราคม ค.ศ. 1936
เขตเลือกตั้งบิซกายา
ดำรงตำแหน่ง
14 กรกฎาคม ค.ศ. 1931 – 9 ตุลาคม ค.ศ. 1933
เขตเลือกตั้งบาเลนเซีย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
มานูเอล อาซัญญา ดิอัซ

10 มกราคม ค.ศ. 1880(1880-01-10)
มาดริด ราชอาณาจักรสเปน
เสียชีวิต3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940(1940-11-03) (60 ปี)
มงโตบ็อง แคว้นมีดี-ปีเรเน
ฝรั่งเศสเขตวีชี
ที่ไว้ศพสุสานมงโตบ็อง ประเทศฝรั่งเศส
พรรคการเมืองพรรคสาธารณรัฐนิยมฝ่ายซ้าย
(ค.ศ. 1934–1940)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
พรรคกิจสาธารณรัฐนิยม
(ค.ศ. 1930–1934)
คู่สมรสโดโลเรส เด ริบัส เชริฟ
อาชีพนักกฎหมาย
ลายมือชื่อ

มานูเอล อาซัญญา ดิอัซ (สเปน: Manuel Azaña Díaz; 10 มกราคม ค.ศ. 1880-3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940) เป็นนักการเมือง นักเขียน และนักข่าวชาวสเปน ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (ค.ศ. 1931–1933) และประธานาธิบดีสาธารณรัฐสเปน (ค.ศ. 1936–1939) เขาเป็นผู้นำกลุ่มนิยมสาธารณรัฐในระหว่างสงครามกลางเมืองสเปน

อาซัญญาเกิดในครอบครัวชนชั้นกลางที่ถือแนวคิดเสรีนิยมและได้รับการศึกษาทางศาสนา ซึ่งส่งผลอย่างยิ่งต่ออุดมการณ์สาธารณรัฐนิยม ฝ่ายซ้าย และการต่อต้านศาสนา หลังจากสำเร็จการศึกษาในสาขานิติศาสตร์ อาซัญญาเริ่มเข้าไปมีส่วนร่วมในวิถีทางวัฒนธรรมและการเมืองของราชอาณาจักร เขาสนับสนุนเสรีภาพทางเศรษฐกิจและสิทธิของคนงาน นอกจากนั้นยังให้ความร่วมมือกับอาเตเนโอเดมาดริด (Ateneo de Madrid) ซึ่งเขาเป็นประธาน เขากับเหล่าปัญญาชนร่วมกันในการสร้างโครงการปฏิรูปวิถีทางการเมืองสเปนและต่อมาจึงเข้าร่วมกับพรรคปฏิรูป (Partido Reformista) จากนั้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อาซัญญาแสดงความนิยมต่อฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างเปิดเผยและทำหน้าที่เป็นนักข่าวสงครามในฝรั่งเศสและอิตาลี ใน ค.ศ. 1926 เขาก่อตั้งพรรคกิจสาธารณรัฐนิยม (Acción Republicana) ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการของปริโม เด ริเบรา โดยในปีเดียวกันนั้น เขาได้รับรางวัลวรรณกรรมแห่งชาติจากงานเขียนชีวประวัติ Vida de Don Juan Valera อาซัญญาเป็นหนึ่งในผู้ลงนามกติกาสัญญาซานเซบัสเตียนเมื่อ ค.ศ. 1930 เป็นผลให้การเมืองฝ่ายสาธารณรัฐนิยมแข็งแกร่งขึ้น หลังจากการเลือกตั้งเทศมณฑลในเดือนเมษายน ค.ศ. 1931 นำไปสู่การยุติความขัดแย้งอันยาวนานที่เกิดขึ้นในสมัยการฟื้นฟูและการสละราชสมบัติของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 โดยมีการจัดตั้งสาธารณรัฐสเปนที่สองซึ่งอาซัญญาได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้ารัฐบาลชั่วคราวเป็นระยะเวลาสองถึงสามเดือน

จากผลลัพธ์ของการเลือกตั้งทั่วไปใน ค.ศ. 1931 อาซัญญาจึงดำรงตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลอย่างเป็นทางการ โดยเขาได้ดำเนินการปฏิรูปการศึกษา เศรษฐกิจ การทหาร สังคม และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการปฏิรูปเกษตรกรรม การปฏิรูปกองทัพ การออกธรรมนูญปกครองตนเองสำหรับแคว้นกาตาลุญญา และการแบ่งแยกศาสนากับรัฐ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกรณีโต้เถียงเกี่ยวกับการปฏิรูป รวมทั้งเกิดเหตุการณ์ลาซานฆูร์ฆาดา (la Sanjurjada) และอุบัติการณ์กาซัสบิเอฆัส (Casas Viejas incident) ทำให้เขาลาออกจากตำแหน่งในเดือนกันยายน ค.ศ. 1933 และถูกจับกุมภายหลังการปฏิวัติ ค.ศ. 1934 โดยไม่ได้รับข้อกล่าวหาใด ๆ อาซัญญากลับสู่ชีวิตทางการเมืองอีกครั้งโดยได้ก่อตั้งพรรคสาธารณรัฐนิยมฝ่ายซ้าย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวร่วมประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 1936 เขาเป็นหัวหน้ารัฐบาลอีกครั้งและจากนั้นจึงเป็นประธานาธิบดีสาธารณรัฐแทนที่นิเซโต อัลกาลา-ซาโมรา โดยมีซานเตียโก กาซาเรส กิโรกา เป็นหัวหน้ารัฐบาล แต่เพียงไม่กี่เดือนได้เกิดการจราจลขึ้นในหมู่ทหาร ซึ่งความล้มเหลวในเหตุการณ์ดังกล่าวอารัมภบทไปสู่สงครามกลางเมืองสเปน ในช่วงเวลานี้ บทบาทของอาซัญญาลดลงอย่างฉาวโฉ่ต่อผู้มีอำนาจที่สนับสนุนกองกําลังติดอาวุธอนาธิปไตยและพรรคคอมมิวนิสต์ เขาแสวงหาการแทรกแซงจากฝรั่งเศส-อังกฤษเพื่อยุติความขัดแย้งและสร้างความปรองดองของชาติ โดยเขาได้เรียกร้องในการกล่าวปราศรัย "สันติภาพ ความเมตตา และการให้อภัย" (Paz, piedad y perdón) เมื่อ ค.ศ. 1938

เมื่อรัฐบาลฝรั่งเศสอนุญาตให้พลเรือนและทหารข้ามชายแดนระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1939 อาซัญญาพร้อมครอบครัวและผู้สนับสนุนจึงเดินทางไปยังฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ นายกรัฐมนตรีฆวน เนกริน ส่งโทรเลขถึงอาซัญญาให้เขากลับสเปนอีกครั้งในฐานะประธานาธิบดี แต่เขาปฏิเสธ เนื่องจากเขาได้แสดงท่าทีอย่างชัดเจนแล้วว่าจะลาออกจากรัฐบาลสาธารณรัฐทันทีหลังจากที่ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรให้การรับรองรัฐบาลของฟรังโก เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ณ ประเทศฝรั่งเศส อาซัญญาส่งจดหมายลาออกถึงประธานรัฐสภา และเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ในระหว่างการประชุมสภาถาวรแห่งสภาผู้แทนราษฎร ณ กรุงปารีส เนกรินได้วิพากษ์วิจารณ์การตัดสินใจไม่เดินทางกลับสเปนของอาซัญญาอย่างรุนแรง

ภายหลังความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสต่อนาซีเยอรมนีใน ค.ศ. 1940 อาซัญญาถูกเกสตาโพจับกุมเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม โดยในบั้นปลายชีวิตเขาต้องทนทุกข์ทรมานกับอาการสมองขาดเลือดและถึงแก่อสัญกรรมในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน

บรรณานุกรม[แก้]

  • Arias Argüelles-Meres, Luis (1990). Azaña o el sueño de la razón. San Sebastián (Guipúzcoa): Editorial Nerea. ISBN 84-86763-43-6.
  • Botti, Alfonso. «El problema religioso en Manuel Azaña», en Alted Vigil, A., Egido León, Mª de los Á. y Mancebo, Mª F. (eds.) (1996). Manuel Azaña. Pensamiento y acción. Madrid: Alianza Editorial, pp. 136-155. ISBN 84-206-2859-X
  • Giménez Caballero, Ernesto (1932). Manuel Azaña (Profecías españolas), Madrid: Ediciones de «La Gaceta Literaria».
  • Juliá Díaz, Santos (2008). Vida y tiempo de Manuel Azaña (1880-1940). Madrid: Taurus.
  • Lagarrigue, Max (2001). «Manuel Azaña en Montauban. La última morada del presidente de la República española, Manuel Azaña», en República – 70 anys després, Valencia, pp. 64-65.
  • Lope Huerta A, Cañete Ochoa J, San Luciano JM, Alberto Serrano V. Azaña & Alcalá. Alcalá de Henares: Concejalía de Cultura del Ayuntamiento de Alcalá de Henares, Foro del Henares; 2021. ISBN 978-84-15005-71-1
  • Meregalli, Franco (1991). "Manuel Azaña" (PDF). Fundación Colegio del Rey. Alcalá de Henares: 117-172. ISBN 84-87153-25-9.
  • Ministerio de Cultura. Exposición: Azaña (1880-1940) Memoria del hombre y de la República. Madrid: Secretaría General Técnica; 2010. เก็บถาวร 2023-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Preston, Paul (1991). "Manuel Azaña y la creación del Frente Popular (1933-1936)" (PDF). Fundación Colegio del Rey. Alcalá de Henares: 291-308. ISBN 84-87153-25-9.
  • Reig Tapia, Alberto (1988). "La tragedia de Manuel Azaña". Historia Contemporánea. Bilbao (1): 47-68. ISSN 1130-2402.
  • Rojas, Carlos (2003) Azaña. Barcelona : Planeta, 2003
  • Sánchez Moltó MV. Alcalá Azaña. Alcalá de Henares: Concejalía de Cultura del Ayuntamiento de Alcalá de Henares; 2021.
  • Suárez, Federico (2000).Manuel Azaña y la guerra de 1936. Madrid: Editorial Rialp. ISBN 84-321-3319-1.
  • Tusell, Javier (1981). "Tres azañas". Historia 16 (60): 115-123. ISSN 0210-6353.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า มานูเอล อาซัญญา ถัดไป
นิเซโต อัลกาลา-ซาโมรา
ประธานาธิบดีสเปน
(7 เมษายน ค.ศ. 1936 – 3 มีนาคม ค.ศ. 1939)
ฟรันซิสโก ฟรังโก
(เกาดิโยแห่งสเปน)
ฆวน เบาติสตา อัซนาร์-กาบัญญัส
นายกรัฐมนตรีสเปน
สมัยที่ 1

(14 ตุลาคม ค.ศ. 1931 – 12 กันยายน ค.ศ. 1933)
อาเลฆันโดร เลร์รุกซ์
มานูเอล ปอร์เตลา บายาดาเรส
นายกรัฐมนตรีสเปน
สมัยที่ 2

(19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1936 – 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1936)
ซานเตียโก กาซาเรส กิโรกา