รายพระนามและรายนามประมุขแห่งรัฐสเปน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นี่คือรายพระนามและรายนามประมุขแห่งรัฐสเปนได้แก่พระมหากษัตริย์และประธานาธิบดีที่ปกครองสเปนนับแต่การรวมชาติสเปน

ราชวงศ์ตรัสตามารา[แก้]

รูป พระนาม รัชกาล ตรา
สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา
(1451-1504)
ครองราชย์ร่วมกับพระสวามีพระเจ้าเฟรนันโดที่ 5 ตั้งแต่ 1475
13 ธันวาคม 1474 - 26 พฤศจิกายน 1504
พระเจ้าเฟรนันโดที่ 5 แห่งกัสติยา
(1452-1516)
ครองราชย์ร่วมกับพระมเหสีอิซาเบลที่ 1
15 มกราคม 1475[a]-26 พฤศจิกายน 1504[b]
พระเจ้าเฟรนันโดที่ 2 แห่งอารากอน
(1452-1516)
24 มกราคม 1479- 23 มกราคม 1516
สมเด็จพระราชินีนาถฆัวนาแห่งกัสติยา
(1479-1555)
ครองราชย์ร่วมกับพระสวามีเฟลิเปที่ 1 (1506)
ครองราชย์ร่วมกับพระราชบิดา เฟรนันโดที่ 5 (1504-1506 และ 1507-1516)
ครองราชย์ร่วมกับพระราชโอรสการ์โลสที่ 1 ตั้งแต่ 1516
26 พฤศจิกายน 1504-12 เมษายน 1555
สมเด็จพระราชินีนาถฆัวนาแห่งอารากอน
(1479-1555)
ครองราชย์ร่วมกับพระราชโอรสการ์โลสที่ 1
23 มกราคม 1516[c]-12 เมษายน 1555
พระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งกัสติยา
(1478-1506)
ครองราชย์ร่วมกับพระมเหสีฆัวนา
12 กรกฎาคม 1506[d]-25 กันยายน 1506

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คหรือราชวงศ์ออสเตรีย[แก้]

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค หรือ อับส์บูร์โก (House of Habsburg; Habsburgo) เป็นราชวงศ์ที่สืบทอดมาจากราชวงศ์ของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire) ซึ่งพระเจ้าการ์โลสที่ 1 แห่งสเปนนั้นก็ทรงเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ด้วย แต่ในประเทศสเปนจะไม่ใช้คำนำหน้าพระนามว่าพระจักรพรรดิ ในรัชกาลพระเจ้าการ์โลสที่ 1 มีการรวมราชบัลลังก์กัสติยาและอารากอนเป็นราชบัลลังก์สเปน

รูป พระนาม เสด็จขึ้นครองราชย์ สิ้นสุด ตรา
พระเจ้าการ์โลสที่ 1 แห่งสเปน
(สเปน: Carlos I de España)
23 มกราคม พ.ศ. 2059
(ค.ศ. 1516)
16 มกราคม พ.ศ. 2099
(ค.ศ. 1556)
พระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน
(สเปน: Felipe II de España)
16 มกราคม พ.ศ. 2099
(ค.ศ. 1556)
13 กันยายน พ.ศ. 2141
(ค.ศ. 1598)
พระเจ้าเฟลิเปที่ 3 แห่งสเปน
(สเปน: Felipe III de España)
13 กันยายน พ.ศ. 2141
(ค.ศ. 1598)
31 มีนาคม พ.ศ. 2164
(ค.ศ. 1621)
พระเจ้าเฟลิเปที่ 4 แห่งสเปน
(สเปน: Felipe IV de España)
31 มีนาคม พ.ศ. 2164
(ค.ศ. 1621)
17 กันยายน พ.ศ. 2208
(ค.ศ. 1665)
พระเจ้าการ์โลสที่ 2 แห่งสเปน
(สเปน: Carlos II de España)
17 กันยายน พ.ศ. 2208
(ค.ศ. 1665)
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2243
(ค.ศ. 1700)


ราชวงศ์บูร์บง[แก้]

พระเจ้าการ์โลสที่ 2 ทรงไม่มีรัชทายาท หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จสวรรคตลง บัลลังก์สเปนได้ส่งผ่านไปยังพระเจ้าเฟลิเปที่ 5 ซึ่งเป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสราชวงศ์บูร์บง

รูป พระนาม เสด็จขึ้นครองราชย์ สิ้นสุด ตรา
พระเจ้าเฟลิเปที่ 5 แห่งสเปน
(สเปน: Felipe V de España)
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2243
(ค.ศ. 1700)
14 มกราคม พ.ศ. 2267
(ค.ศ. 1724)
พระเจ้าลุยส์ที่ 1 แห่งสเปน
(สเปน: Luis I de España)
14 มกราคม พ.ศ. 2267
(ค.ศ. 1724)
31 สิงหาคม พ.ศ. 2267 (ค.ศ. 1724)
พระเจ้าเฟลิเปที่ 5 แห่งสเปน
(สเปน: Felipe V de España)
6 กันยายน พ.ศ. 2267
(ค.ศ. 1724)
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2289
(ค.ศ. 1746)
พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 6 แห่งสเปน
(สเปน: Fernando VI de España)
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2289
(ค.ศ. 1746)
10 ตุลาคม พ.ศ. 2302
(ค.ศ. 1759)
พระเจ้าการ์โลสที่ 3 แห่งสเปน
(สเปน: Carlos III de España)
10 ตุลาคม พ.ศ. 2302
(ค.ศ. 1759)
14 ธันวาคม พ.ศ. 2331
(ค.ศ. 1788)

พระเจ้าการ์โลสที่ 4 แห่งสเปน
(สเปน: Carlos IV de España)
14 ธันวาคม พ.ศ. 2331
(ค.ศ. 1788)
19 มีนาคม พ.ศ. 2351
(ค.ศ. 1808)

พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 7 แห่งสเปน
(สเปน: Fernando VII de España)
19 มีนาคม พ.ศ. 2351
(ค.ศ. 1808)
6 พฤษภาคม พ.ศ. 2351
(ค.ศ. 1808)

พระเจ้าการ์โลสที่ 4 แห่งสเปน
(สเปน: Carlos IV de España)
6 พฤษภาคม พ.ศ. 2351
(ค.ศ. 1808)
6 มิถุนายน พ.ศ. 2351
(ค.ศ. 1808)

ราชวงศ์โบนาปาร์ต[แก้]

รัชกาลเดียวในราชวงศ์นี้คือพระเจ้าโฆเซที่ 1 ได้รับการสถาปนาโดยพระอนุชา จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศสหลังพระเจ้าการ์โลสที่ 4 และพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 7 สละราชสมบัติ พระเจ้าโฆเซมีพระอิสสริยยศว่า พระมหากษัตริย์สเปนและอินเดีย โดยพระมหากรุณาธิคุณพระเจ้าและรัฐธรรมนูญแห่งรัฐ . หลังจากนั้นพระองค์ก็ได้รับตำแหน่งทั้งหมดของกษัตริย์องค์ก่อน ๆ รัฐบาลอันเป็นปฏิปักษ์กับฝรั่งเศสจัดตั้งที่กาดีซ ในวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1808 ซึ่งยังรับรองพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 7 ที่ถูกคุมขังอยู่ให้ขึ้นครองราชย์ รัฐบาลนี้ได้รับการรับรองในทางการทูตว่าเป็นรัฐบาลสเปนที่ถูกกฎหมายโดยอังกฤษและประเทศอื่น ๆ ที่ทำสงครามกับฝรั่งเศส

รูป พระนาม เสด็จขึ้นครองราชย์ สิ้นสุด ตรา
พระเจ้าโฆเซที่ 1 แห่งสเปน
(สเปน: José I de España)
6 มิถุนายน พ.ศ. 2351
(ค.ศ. 1808)
11 ธันวาคม พ.ศ. 2356
(ค.ศ. 1813)

ราชวงศ์บูร์บง (ฟื้นฟูครั้งแรก)[แก้]

พระเจ้าเฟรนันโดที่ 7 กลับมาครองราชย์อีกครั้ง ทรงรับพระยศ พระมหากษัตริย์แห่งกัสตียา, เลออน, อารากอน,… โดยพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระเจ้า

รูป พระนาม เสด็จขึ้นครองราชย์ สิ้นสุด ตรา
พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 7 แห่งสเปน
(สเปน: Fernando VII de España)
11 ธันวาคม พ.ศ. 2356
(ค.ศ. 1813)
29 กันยายน พ.ศ. 2376
(ค.ศ. 1833)
สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 2 แห่งสเปน
(สเปน: Isabel II de España)
29 กันยายน พ.ศ. 2376
(ค.ศ. 1833)
30 กันยายน พ.ศ. 2411
(ค.ศ. 1868) [5]

ราชวงศ์ซาวอย[แก้]

หลังการปฏิวัติสเปน ค.ศ. 1868 สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 2 แห่งสเปนถูกถอดจากราชสมบัติ มีการสถาาปนารัฐบาลเฉพาะกาลและคณะผู้สำเร็จราชการนำโดย ฟรานซิสโก เซอร์ราโน โดมิงเกซ, ซึ่งดำรงสถานะประมุขแห่งรัฐตั้งแต่ 8 ตุลาคม 1868-4 ธันวาคม 1870 ขณะที่เขาเสนอให้อัญเชิญพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ พระเจ้าอะมาเดโอที่ 1 ได้รับเลือกเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ภายใต้พระยศ พระมหากษัตริย์สเปน โดยพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระเจ้าและเจตจำนงแห่งชาติ

ราชวงศ์ซาวอยหรือซาโบยา (Savoy; Saboya) มีพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียวคือ พระเจ้าอะมาเดโอที่ 1

รูป พระนาม เสด็จขึ้นครองราชย์ สิ้นสุด ตรา
พระเจ้าอะมาเดโอที่ 1 แห่งสเปน
(สเปน: Amadeo I de España)
2 มกราคม พ.ศ. 2414
(ค.ศ. 1871)
11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2416
(ค.ศ. 1873)

สาธารณรัฐสเปนที่ 1 (1873–1874)[แก้]

สาธารณรัฐสเปนครั้งที่ 1 เริ่มต้นจากการสละราชสมบัติของพระเจ้าอะมาเดโอที่ 1, จากคณะฮิดาลโก, เมื่อพระองค์ถูกรัฐบาลหัวรุนแรงกำหนดให้ลงนามในพระราชกฤษฎีกาต่อต้านนายทหารปืนใหญ่ 11 กุมภาพันธ์ สาธารณรัฐได้รับการจัดตั้งโดยเสียงข้างมากในรัฐสภาประกอบด้วยพวกหัวรุนแรง สาธารณรัฐนิยม และประชาธิปไตยนิยม เป็นเวลา 23 เดือน

ประธานฝ่ายบริหาร[แก้]

No. รูป ตรา นาม
(ค.ศ.กำเนิด-อนิจกรรม)
สมัย พรรค
1 เอสตานิสเลา ฟิเกราส
(1819–1882)
12 กุมภาพัธ์ พ.ศ. 2416
(ค.ศ. 1873)
11 มิถุนายน พ.ศ. 2416
(ค.ศ. 1873)
พรรคสหพันธสาธารณรัฐประชาธิปไตย
2 ฟรานเซสโก ปี อี มาร์กาล
(1824–1901)
11 มิถุนายน พ.ศ. 2416
(ค.ศ. 1873)
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2416
(ค.ศ. 1873)
พรรคสหพันธสาธารณรัฐประชาธิปไตย
3 นิโกลา ซัลเมอรอน อี อลอนโซ
(1838–1908)
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2416
(ค.ศ. 1873)
7 กันยายน พ.ศ. 2416
(ค.ศ. 1873)
พรรคสหพันธสาธารณรัฐประชาธิปไตย
4 เอมิลิโอ กัสเตลาร์ อี รีโปล
(1832–1899)
7 กันยายน พ.ศ. 2416
(ค.ศ. 1873)
3 มกราคม พ.ศ. 2417
(ค.ศ. 1874)
พรรคสหพันธสาธารณรัฐประชาธิปไตย
5 ฟรานซิสโก เซอร์ราโน
ดยุคที่ 1 แห่งทอร์เร
(1810–1885)
3 มกราคม พ.ศ. 2417
(ค.ศ. 1874)
30 ธันวาคม พ.ศ. 2417
(ค.ศ. 1874)
อนุรักษ์นิยม

ราชวงศ์บูร์บง (ฟื้นฟูครั้งที่ 2)[แก้]

พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 2 กลับมาเสด็จขึ้นครองราชย์ในพระยศ พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งสเปน ระหว่างการสวรรคตของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 12 กับการเสด็จพระราชสมภพในพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 มีช่วงเวลา 7 เดือนระหว่างการทรงครรภ์ของมาเรีย คริสตินาแห่งออสเตรีย สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน เป็นประมุขแห่งรัฐในฐานะผู้สำเร็จราชการให้พระราชธิดา เมอร์เซเดส เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส, ซึ่งได้รับการประกาศเป็น "สมเด็จพระราชินีนาถในนาม" กระทั่งทราบเพศของพระหน่อในครรภ์พระนางมาเรีย คริสตินาเป็นที่แน่ชัด

รูป พระนาม เสด็จขึ้นครองราชย์ สิ้นสุด ตรา
พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 12 แห่งสเปน
(สเปน: Alfonso XII de España)
29 ธันวาคม พ.ศ. 2417
(ค.ศ. 1874)
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428
(ค.ศ. 1885)
พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 แห่งสเปน
(สเปน: Alfonso XIII de España)
17 พฤษภาคม พ.ศ. 2429
(ค.ศ. 1886)
14 มิถุนายน พ.ศ. 2474
(ค.ศ. 1931)

สาธารณรัฐสเปนที่ 2 (ค.ศ. 1931–1939)[แก้]

สาธารณรัฐสเปนที่ 2 เป็นระบอบรัฐบาลในสเปนระหว่าง 14 เมษายน 1931 เมื่อพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 ลี้ภัยออกนอกประเทศหลังจากช่วงเวลาแห่งความไม่สงบหลังจากการสิ้นอำนาจของนายพล ปริโม เด ริเบรา จอมเผด็จการเมื่อปีก่อนหน้านั้น 1 เมษายน ค.ศ. 1939 เมื่อกองกำลังคณะสาธารณรัฐ (republicanos)กองสุดท้ายยอมจำนนให้กองทัพคณะชาติ (nacionales) นำโดย ฟรันซิสโก ฟรังโก เมื่อสิ้นสุดสงครามกลางเมืองสเปน

ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ[แก้]

No. รูป ตรา นาม
(ค.ศ.กำเนิด-อนิจกรรม)
สมัย พรรค
1 นิเซโต อัลกาลา-ซาโมรา
(1877–1949)
10 ธันวาคม พ.ศ. 2474
(ค.ศ. 1931)
7 เมษายน พ.ศ. 2479
(ค.ศ. 1936)
สาธารณรัฐเสรีนิยมขวา
2 ดิเอโก มาร์ติเนซ บาร์ริโอ
(1883–1962)
รักษาการ
7 เมษายน พ.ศ. 2479
(ค.ศ. 1936)
10 พฤษภาคม พ.ศ. 2479
(ค.ศ. 1936)
สหภาพสาธารณรัฐ
Popular Front coalition
3 มานูเอล อาซัญญา
(1880–1940)
10 พฤษภาคม พ.ศ. 2479
(ค.ศ. 1936)
3 มีนาคม พ.ศ. 2482
(ค.ศ. 1939)
ซ้ายสาธารณรัฐ
Popular Front coalition
4 เซกิสมุนโด คาซาโด
(1893–1968)
รักษาการ
4 มีนาคม พ.ศ. 2482
(ค.ศ. 1939)
13 มีนาคม พ.ศ. 2482
(ค.ศ. 1939)
กองทัพสาธารณรัฐ
National Defence Council
5 โฆเซ เมียฆา
(1878–1958)
รักษาการ
13 มีนาคม พ.ศ. 2482
(ค.ศ. 1939)
27 มีนาคม พ.ศ. 2482
(ค.ศ. 1939)
กองทัพสาธารณรัฐ
National Defence Council

สเปนภายใต้การนำของฟรังโก (ค.ศ. 1936–1975)[แก้]

1 ตุลาคม ค.ศ. 1936 นายพลฟรันซิสโก ฟรังโกได้รับการประกาศเป็นประมุขแห่งงรัฐ (Caudillo) ในส่วนของสเปนที่ปกครองโดย กองทัพคณะชาติ (nacionales) หลังสงครามกลางเมืองสเปนกำลังร้อนระอุ หลังสงครามยุติในวันที่ 1 เมษายน 1939 นายพลฟรังโกได้ปกครองสเปนทั้งหมด ค.ศ. 1947 ฟรังโกประกาศว่าจะฟื้นฟูระบอบกษัตริย์แต่ไม่อนุญาตให้ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ขณะนั้นคือ อินฟันเตฆวน เคานต์แห่งบาร์เซโลนาขึ้นสู่ราชบัลลังก์ ค.ศ. 1969 ฟรังโกประกาศให้เจ้าชายฆวน การ์โลสพระโอรสในเคานต์แห่งบาร์เซโลนาเป็นเจ้าชายแห่งสเปนจะได้รับการสืบทอดอำนาจหลังฟรังโก ถึงแก่อสัญกรรม ค.ศ. 1975 เจ้าชายฆวน การ์โลสจึงขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สเปน

No. Portrait Coat of arms Name
(Birth–Death)
Term of Office Political Party
ประมุขแห่งรัฐ (Caudillo)
30 ฟรันซิสโก ฟรังโก
(1892–1975)
1 ตุลาคม พ.ศ. 2479
(ค.ศ. 1936)
20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518
(ค.ศ. 1975)
ไม่สังกัดพรรค
(เกี่ยวโยงกับกองทัพและ
คณะชาติ)
ประธานคณะผู้สำเร็จราชการ
31 อเลฆานโดร รอดริเกซ เด วัลคาเซล
(1917–1976)
20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) คณะชาติ

ราชวงศ์บูร์บง (ฟื้นฟูครั้งที่ 3)[แก้]

รูป พระนาม เสด็จขึ้นครองราชย์ สิ้นสุด ตรา
สมเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน
(สเปน: Juan Carlos de España)
22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518
(ค.ศ. 1975)
19 มิถุนายน พ.ศ. 2557
(ค.ศ. 2014)
สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 แห่งสเปน
(สเปน: Felipe VI de España)
19 มิถุนายน พ.ศ. 2557
(ค.ศ. 2014)
ปัจจุบัน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  1. Por la Concordia de Segovia, el que sería Fernando II de Aragón adquirió poderes como cosoberano en Castilla.
  2. Por el fallecimiento de Isabel I, Fernando II (V) dejó de ser rey en Castilla y fue designado Gobernador y Administrador del reino en nombre de su hija Juana, lo que fue confirmado en las Cortes de Toro.[1]
  3. Por el testamento de su padre, Fernando II de Aragón, Juana se convirtió en reina nominal, pero varias instituciones de la Corona no la reconocían como tal. La situación quedó parada hasta que su hijo, Carlos I, juró en su nombre y en el de su madre, los distintos fueros de la Corona Aragonesa: en Aragón, el 19 de julio de 1518; en Cataluña, el 16 de abril de 1519,[2] y en Valencia, el 16 de mayo de 1528[3] con lo que ambos fueron reyes de iure.
  4. Tras acordar Concordia de Villafáfila con su suegro Fernando II, fue jurado rey en las Cortes de Valladolid.[4]
  1. แม่แบบ:Cita publicación
  2. แม่แบบ:Cita publicación
  3. แม่แบบ:Cita publicación
  4. Cortes de Valladolid
  5. Following Isabel's abdication, there was a more than two year interregnum, during which time the government sought a new monarch from abroad.