ข้ามไปเนื้อหา

มันเดย์ไนท์ วอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตารางแสดงเรตติ้งรายการโทรทัศน์ ระหว่างรายการ รอว์ ของดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ กับ ไนโตร ของดับเบิลยูซีดับเบิลยู


มันเดย์ไนท์ วอร์ หรือ สงครามคืนวันจันทร์ เป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับมวยปล้ำอาชีพระหว่างสมาคมดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ กับดับเบิลยูซีดับเบิลยู เป็นการทำสงครามทางเรตติ้งรายการโทรทัศน์ ระหว่างรายการรอว์ของดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ กับไนโตรของดับเบิลยูซีดับเบิลยู ซึ่งในปี ค.ศ. 1995 หลังจากให้กำเนิดรายการศึกรอว์ 3 ปี ของดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ ก็ได้ให้กำเนิดรายการศึกไนโตร โดยสามารถเอาชนะเรตติ้งของรอว์ได้ ต่อมา ดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ ได้ปรับแผนรายการให้สามารถต่อสู้กับเรตติ้งรายการโทรทัศน์ของดับเบิลยูซีดับเบิลยูได้

ต่อมาในปี ค.ศ. 2001 มันเดย์ไนท์ วอร์ได้สิ้นสุดลงเนื่องจากวินซ์ แมคแมนเข้าซื้อกิจการสมาคมดับเบิลยูซีดับเบิลยูด้วยเงิน 3,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ และทำให้สมาคมดับเบิลยูซีดับเบิลยูสิ้นสุดลง[1]

ประวัติ

[แก้]

ก่อนเริ่มสงคราม

[แก้]

ค.ศ.1980–1987 ยุคของเคเบิล ทีวี

[แก้]
Ted Turner, owner of WTBS SuperStation.

ในช่วงเริ่มแรกของทศวรรษที่ 1980 เคเบิลทีวีได้รับความนิยมอย่างมาก และหนึ่งในรายการที่ได้รับความนิยมเช่นเดียวกันในช่วงนั้นก็คือรายการจากมวยปล้ำอาชีพ ซึ่งทำเรตติ้งเป็นอันดับที่สองของเคเบิลทีวี โดยเมื่อแอตแลนต้าทีวี หรือ WTBS เริ่มออกอากาศรายการจากสมาคม Georgia Championship Wrestling หรือ (GCW) ในช่วงทศวรรษ 1970 รายการจากสมาคม GCW ก็ได้รับความนิยมสูง ซึ่งไม่เพียงแค่ในท้องถิ่นของแอตแลนต้าเท่านั้น ยังมีชื่อเสียงระดับประเทศอีกด้วย (ซึ่งในขณะนั้นสมาคมมวยปล้ำยังมีบทบาทแค่ในท้องที่ของตนเองเท่านั้น). ซึ่งจากผลที่ได้นั้นทำให้สมาคม GCW ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธมิตรของ NWA มีอิทธิพลอย่างมากใน NWA ซึ่งก็ทำให้นักมวยปล้ำจาก GCW ครองแชมป์ของ NWA มากกว่าสมาคมอื่นๆ

โดยรายการของ GCW นั้นมีพิธีกรคือ Gordon Solie, โดยทำการบันทึกที่สตูดิโอ WTBS' ซึ่งตั้งอยู่ที่ 1050 Techwood Drive, ตรงทิศใต้ของเมือง. โดยที่ทำการบันทึกภายในสตูดิโอเล็กๆ ซึ่งเป็นรูปแบบการบันทึกรายการมวยปล้ำที่นิยมทำกันในขณะนั้น โดยรายการจะประกอบไปด้วยแมทช์การปล้ำ บทพูดเล็กๆน้อยๆ และนักมวยปล้ำจากต่างประเทศ โดยออกอากาศในหลายพื้นที่ ของสหรัฐอเมริกา เป็นรายการแรก

ในปี ค.ศ.1983, WWF ก็ได้เริ่มรายการของตัวเองในชื่อออล อเมริกัน เรสต์ลิง, โดยออกอากาศทุกวันอาทิตย์ตอนเช้า ทางช่องUSA Network.หลังจากนั้นไม่นาน WWF ก็ได้ออกอากาศรายการที่สอง คือรายการTuesday Night Titans (TNT) ทางช่องเดิม,โดยมีพิธีกรคือ วินซ์ แม็กแมน และ Lord Alfred Hayes.

หลังจากที่ออกอากาศระยะเวลาหนึ่งจนมีความมั่นคงแล้ว ผสองพี่น้องบริสโก ซึ่งเป็นเจ้าของสมาคม GCW ก็ได้ทำการขายหุ้นในสมาคม ซึ่งมีสัญญาออกอากาศทางโทรทัศน์รวมอยู่ด้วยให้กับวินซ์ แม็กแมน ในวันที่ 14 กรกฎาคม 1984 (เป็นที่รู้จักอีกชื่อหนึ่งว่า "Black Saturday"), โดยทาง WWF ได้สล็อดเวลาของ GCW (โดยเวลานั้นมีชื่อโชว์ว่าWorld Championship Wrestling). ทำให้วินซ์ แม็กแมน กลายเป็นผู้ควบคุมรายการมวยปล้ำที่ออกอากาศทั้งประเทศแต่เพียงผู้เดียว

โดยช่วงเวลาออกอากาศเดิมนั้น ทางวินซ์ แม็กแมนก็นำคลิปไฮไลท์จากเฮาส์โชว์ต่างๆมากออกอากาศในชื่อ WWF Prime Time Wrestling (PTW) ไม่นานมากนัก วินซ์ แม็กแมน ก็ได้ขายสิทธิในช่วงเวลานั้นให้กับ Jim Crockett Promotions (JCP),ซึ่งมี Ted Turner เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ซึ่งจะกลายเป็นความร้าวฉานของทั้งคู่ที่มีมากต่อกันใน 16 ปี หลังจากนั้น

ในปีเดียวกันนั้นเองPTW ก็ได้ออกอากาศแทนที่ของ TNT บนช่อง USA Network, โดยเพิ่มเวลาออกอากาศเป็น 2 ชั่วโมง โดยช่วงที่น่าจดจำมากที่สุดของรายการคือการปะทะกันระหว่าง Bobby Heenan และGorilla Monsoon iซึ่งได้รับความนิยมจากแฟนๆและทำให้รายการนี้กลายเป็นรายการหลักของสมาคมในช่วงนั้น

ค.ศ.1987–1993 : วางช่วงเวลาเตรียมปะทะกันและจุดเริ่มต้นของมันเดย์ไนท์ รอว์

[แก้]

ค.ศ.1993–1994 : อีริค บิชอป เข้าสู่ WCW

[แก้]

ค.ศ.1994: ECW

[แก้]

มันเดย์ไนท์ วอร์ เริ่มต้น

[แก้]

ค.ศ.1995–1996 : จุดเริ่มต้นของมันเดย์ ไนโตร

[แก้]

ค.ศ.1996–1997 : WCW และกลุ่ม New World Order

[แก้]

ค.ศ.1996–1997 : การสู้กลับของ WWF

[แก้]

ค.ศ.1997 : เหตุการณ์ Montreal Screwjob

[แก้]

ค.ศ.1997–1998 : WWF เข้าสู่ยุค Attitude

[แก้]

ค.ศ.1998–1999: WCW เริ่มดิ้นรน

[แก้]

ค.ศ.1999–2000: WCW ยอมแพ้

[แก้]

จุดสิ้นสุด

[แก้]

ค.ศ.2001-2003: WWF/E, Inc. เข้าซื้อกิจการ WCW และ ECW

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Callis, Don (2001-03-25). "Deal leaves wrestlers out in cold". Slam! Sports.[ลิงก์เสีย]
  • Adam Kleinberg and Adam Nudelman (2005). Mysteries of Wrestling: Solved. ECW Press. ISBN 978-1550226850.
  • Dave Meltzer (1997-11-11). "Montreal Screwjob". Wrestling Observer Newsletter. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PHP)เมื่อ 2007-01-22. สืบค้นเมื่อ 2007-01-23.
  • Shawn Michaels and Aaron Feigenbaum (2005). Heartbreak and Triumph: The Shawn Michaels Story. World Wrestling Entertainment. ISBN 978-0743493802.
  • The Rise and Fall of ECW DVD chapter 36 "WWE Co-Promotion"