มอซิซิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มอซิซิ
Maw sit sit
หินแปร
องค์ประกอบ
คอสโมคลอร์, เจไดต์ที่มีโครเมียมเป็นองค์ประกอบสูง, แอลไบต์เฟลด์สปาร์

มอซิซิ (พม่า: မော်စစ်စစ်, อักษรโรมัน: Maw sit sit ) หรือที่เรียกว่า หยกแอลไบต์ (jade-albite) เป็นรัตนชาติที่พบได้เฉพาะในพม่าตอนเหนือ มีการระบุชนิดเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2506 โดย เอดูอาร์ท กือเบลิน (Eduard Josef Gübelin) นักอัญมณีวิทยาชาวสวิส และได้รับการตั้งชื่อตามหมู่บ้านใกล้กับที่ซึ่งพบครั้งแรกบริเวณเชิงเทือกเขาหิมาลัยในรัฐกะชีน[1]

โดยทั่วไปแล้ว มอซิซิจะมีสีเขียว โดยมีเส้นสีเขียวเข้มถึงดำเป็นลวดลายที่โดดเด่น ในทางเทคนิคมอซิซิจัดเป็นประเภทหินมากกว่าแร่ ประกอบด้วยแร่ธาตุหลายชนิด รวมทั้งคอสโมคลอร์ (kosmochlor) (หรือเรียกอีกอย่างว่ายูรีไอต์ (ureyite), NaCrSi2O6), เจไดต์ที่อุดมด้วยโครเมียมในปริมาณสูง และแอลไบต์เฟลด์สปาร์[2]

มอซิซิมีดัชนีหักเหแสงระหว่าง 1.52 ถึง 1.68[3][4] และระดับความแข็ง 6 ถึง 7 ตามมาตราโมส (Mohs) มอซิซิมีความถ่วงจำเพาะตั้งแต่ 2.45 ถึง 3.15[3] ความสะอาด (Clarity) ที่พบในมอซิซิ มีหลากหลายตั้งแต่โปร่งแสงจนถึงขุ่นทึบแสง

อ้างอิง[แก้]

  1. "Maw Sit Sit". Mindat.org.
  2. Schumann, Walter (2000). Gemstones of the World (Third ed.). Sterling. pp. 170. ISBN 0-806-99461-4.
  3. 3.0 3.1 "Maw Sit Sit". Gemdat.org.
  4. Thomas, Arthur (2008). Gemstones: Properties, Identification and Use. Cape Town, South Africa: New Holland Publishers. p. 143. ISBN 978-1-84537-602-4.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]