หินแปร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ควอร์ตไซต์ เป็นชนิดหนึ่งของหินแปร
หินแปร ซึ่งบิดเบี้ยวระหว่างการก่อเทือกเขาวาริสกัน ที่บัลล์เดการ์โดส แยย์ดา ประเทศสเปน

หินแปร (อังกฤษ: metamorphic rock) คือ หินที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบ ของ เนื้อหิน (Texture) จาก เดิมไปเป็นหินชนิดใหม่ใต้ผิวโลก ซึ่งได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงความดันและอุณหภูมิในสภาพที่ยังเป็นของแข็ง อาจมีส่วนประกอบใหม่มาเพิ่มหรือไม่ก็ได้ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเรียกว่า การแปรสภาพ (Metamorphism)

ชนิดของหินแปร[แก้]

หินแปรริ้วขนาน[แก้]

หมายถึงหินแปรที่แสดงลักษณะของเนื้อหินที่มีแร่เรียงตัวขนานกัน เป็นแนวไปตามทิศทางที่ตั้งได้ฉากกับทิศ ทางที่แรงเค้นกระทำ เช่น

หินชนวน[1] เป็นหินมีลักษณะเนื้อละเอียดมาก ผลึกแร่ตรวจไม่พบด้วยตาเปล่า แสดงแนวแตกเรียบแบบหินชนวน (slaty cleavage) และกะเทาะออกเป็นแผ่นเรียบบางได้ง่าย มีได้หลากสีแต่มักสี เทา ดำ เขียว แดง มีประโยชน์ในการนำมาปูทำหลังคา กระดานดำ และทางเท้า

หินชนวน เนื้อละเอียด

หินชีสต์[2] มีเม็ดปานกลางถึงหยาบ เกิดขึ้นภายใต้ความดันมหาศาลกว่าหินชนวน ประกอบด้วยแร่ไมกาเป็นหลัก บางครั้งก็มี คลอไรต์ ทัลก์ แกรไฟต์ ฮีมาไทต์ เป็นต้น ที่เรียงตัวเกือบขนานกัน เรียกว่า แนวแตกแบบหินชีสต์(schistosity)[3] บ่อยครั้งที่ปริแยกออกตามชั้นหรือแผ่นบางซึ่งคดงอและแตกหักได้ง่าย เพื่อระบุชื่อหินให้ชัดเจน จึงเรียกชื่อตามจุดเด่นของแร่ที่มองเห็นบนพื้นผิวหิน

หินฟิลไลต์[4] เป็นหินเม็ดละเอียดกว่าหินชีสต์ แต่หยาบกว่าหินชนวน ผิวที่แตกใหม่จะมีลักษณะวาวแบบไหมหรือเป็นมันเงา เนื่องจากมีแร่ไมกาเม็ดละเอียดอยู่ มักเปลี่ยนมาจากหินดินดาน ด้วยความดันมหาศาลกว่าที่หินชนวนได้รับ แต่ไม่รุนแรงเท่าที่เกิดกับหินชีสต์

หินไนส์[5] เป็นหินลายเม็ดหยาบที่เกิดจากแปรสภาพอย่างมาก มีลักษณะแร่สีอ่อน เช่น ควอตซ์ เฟลด์สปาร์ เรียงตัวเป็นแถบเป็นลายสลับกับแถบของแร่สีเข้ม เช่น แร่ไบโอไทต์ ฮอร์นเบลนด์ แถบมีการโค้งงอและบิดเบี้ยว เรียกว่า สภาพเรียงตัวแบบหินไนส์ (gneissosity)

หินไม่เป็นริ้วขนาน[แก้]

หมายถึงหินแปรที่แสดงลักษณะของเนื้อหินที่มีเม็ดแร่ขนาดเท่ากันทุกอนู ไม่มีการจัดเรียงตัว ทำให้เป็นเนื้อหินลักษณะสมานแน่น มักจะพบในหินที่ประกอบด้วยแร่ชนิดเดียวกัน เช่น

หินควอร์ตไซต์[6] เป็นหินมีความคงทนมากที่สุดชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยมวลเนื้อผลึกของเม็ดทรายที่ขนาดไล่เลี่ยกัน ประสานติดกันแนบแน่น เรียกว่า เนื้อเม็ดแปร (granoblastic) หากเกิดจากทรายแก้วบริสุทธิ์จะได้หินควอร์ตไซต์สีขาว แต่มักมีสิ่งเจือปนอาจย้อมให้หินมีสีแดง เหลืองหรือน้ำตาล

หินอ่อน เป็นหินเนื้อผลึก ค่อนข้างเม็ดหยาบ แปรสภาพมาจากหินปูนและหินโดโลไมต์ เกิดจากซากดึกดำบรรพ์โดยหินอ่อนบริสุทธิ์มีสีขาว หากมีสิ่งเจือปนจะทำให้หินอ่อนมีได้หลายสี นำมาทำหินประดับและหินก่อสร้าง ตลอดจนงานแกะสลัก

หินฮอร์เฟลส์[7] คือหินที่มีลักษณะของเนื้อหินที่เม็ดแร่ละเอียดมาก มีขนาดเท่ากัน เรียกว่า เนื้อละเอียดเดียวกัน(hornfelsic) ไม่มีการเรียงตัวของเนื้อหินและไม่สามารถมองเห็นผลึกด้วยตาเปล่าของมนุษย์


บริเวณที่พบหินแปรในประเทศไทย[แก้]

พื้นที่ที่พบชนิดของหินแปรต่างๆ โดยมีการจัดแบ่งบริเวณตามลักษณะของชุดลักษณ์ของการแปรสภาพ และอายุการเกิดของหินบริเวณนั้น ๆ

แบ่งออกเป็น 3 บริเวณ ได้แก่

ภาพแสดงบริเวณที่พบหินแปรในประเทศไทย

บริเวณ A[แก้]

หินแปรอายุมากสุดช่วง Precambian-Ordovician พบอยู่ทางซีกด้านตะวันตกของประเทศไทย และบางส่วนของพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก หินเดิมเป็นหินชั้นที่มีการตกตะกอนต่อเนื่องกัน และถูกแปรสภาพเพียงครั้งเดียวแบบ Abukuma facies series (HT/LP) ส่วนใหญ่พบทั้ง พวก Amphibolite และ Greenschist facies มีการลำดับชันหินต่อเนื่องขึ้นไปชั้นหินแปร Amphibolite facies สิ้นสุดที่ตอนบนสุดของอายุ Precambian และเปลี่ยนเป็น greenschist facies พอดี

เมื่ออายุหินอยู่ในช่วงของ Paleozoic ตอนล่าง ชั้นหินประกอบด้วยชั้นหินหลัก 3-4 ประเภท ตอนล่างสุดของลำดับชั้นหิน คือ หินพาราไนส์ ซึ่งมีส่วนประกอบใกล้เคียงกับ granite และ granorhyolite มักมี granite เรียงตัว pegmatite aplite และ migmatite สลับอยู่บ้างเล็กน้อย ตอนกลางของลำดับชั้นจะประกอบด้วย micaschist เป็นส่วนใหญ่ บางแห่งเป็น micaschist ทั้งหมด บางแห่งมี calc-silicate quartzite และquartzschist เข้ามาสลับปะปน ช่วงบนสุดจะเป็นลำดับชั้นของ calc-silicate และหินอ่อน บางช่วงอาจมี quartzite และquartzschistสลับอยู่บ้าง มีหิน granite แสดงการเรียงตัวของแร่เข้ามาแทรกปนอยู่หลายประเภท ซึ่งมีขนาดเม็ดแร่และส่วนประกอบต่างกัน

พอเปลี่ยนอายุของชั้นหินเป็น Lower Paleozoic เกรดของการแปรสภาพก็ลดระดับลงจาก Amphibolite facies เป็น Greenschist facies ชนิดของชั้นหินเปลี่ยนเป็น quartzite และmetalimestone สลับกันเป็นส่วนใหญ่ ต่อจากนั้นเกรดของการแปรสภาพค่อยๆลดลงจนเปลี่ยนเป็นหินชั้นธรรมดาในช่วงอายุ Sylirian-Devonian

บริเวณ B[แก้]

Suture zone ระหว่าง Shan-Thai และ Indochina หินแปรในโซนนี้พบอยู่ตอนกลางของประเทศ ทั้งภาคตะวันออกและภาคใต้ ประกอบด้วยหินแปรสภาพอย่างไพศาลหลายประเภท หลายอายุ ที่มีต้นกำเนิดจากหินภูเขาไฟอยู่มาก พบตั้งแต่หินแปร greenschist อายุ Sylurian-Devonian-Carboniferous หินแปร Blueschist ถูกแปรสภาพซ้อนทับเปลี่ยนเป็นหินแปรแบบ greenschist ของ Barrovian อายุCarboniferous-Devonian และหินแปร Dinamic อายุ Sylurian-Devonian นอกจากหินแปร Dinamicซึ่งมีการเกิดมาจากกระบวนการบดและเสียดสีกันระหว่างชั้นหิน หินแปรอื่นๆใน zone นี้ก็มักแสดงลักษณะเฉพาะ คือ การถูกบดให้เห็นอย่างแพร่หลาย และหินแปรที่พบในส่วนตะวันตกสุดของอนุทวีปอินโดไชน่า แสดงลักษณะของหินชิ้นภูเขาไฟประเภทMafic-Intermediate หินแปรในโซนนี้มีอายุอ่อนสุดอยู่ในช่วงไทรแอสสิค (Salyapongseand Fontaine, 2000) พบที่จังหวัดอุทัยธานี

บริเวณ C[แก้]

พบหินแปรสภาพอย่างไพศาลประเภท Unclassified Greenschist และมีอายุไม่อ่อนกว่ายุคไซลูเรียน ซึ่งพบในเขตจังหวัดเลย

อ้างอิง[แก้]

  1. "หินชนวน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-11-14. สืบค้นเมื่อ 2011-02-22.
  2. "หินชีสต์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-11-14. สืบค้นเมื่อ 2011-02-22.
  3. "schistosity" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-11-14. สืบค้นเมื่อ 2011-02-22.
  4. "หินฟิลไลต์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-11-14. สืบค้นเมื่อ 2011-02-22.
  5. Metamorphic Rock Gneiss[ลิงก์เสีย]
  6. "Metamorphic Rock" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-11-14. สืบค้นเมื่อ 2011-02-22.
  7. "หินฮอร์เฟลส์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-11-14. สืบค้นเมื่อ 2011-02-22.
  • กรมทรัพยากรธรณี. 2550. ธรณีวิทยาประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : กรมทรัพยากรธรณีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.