มหาวรรค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คัมภีร์หลักในพระพุทธศาสนา
พระไตรปิฎกเถรวาท
๔๕ เล่ม

    พระวินัยปิฎก    
   
                                       
คัมภีร์
สุตตวิภังค์
คัมภีร์
ขันธกะ
คัมภีร์
ปริวาร
               
   
    พระสุตตันตปิฎก    
   
                                                      
คัมภีร์
ทีฆนิกาย
คัมภีร์
มัชฌิมนิกาย
คัมภีร์
สังยุตตนิกาย
                     
   
   
                                                                     
คัมภีร์
อังคุตตรนิกาย
คัมภีร์
ขุททกนิกาย
                           
   
    พระอภิธรรมปิฎก    
   
                                                           
สงฺ วิภงฺ ธา
ปุ.
กถา ยมก ปัฏฐานปกรณ์
                       
   
         

คัมภีร์มหาวรรค หรือ มหาวรรค คือหมวดหมู่หนึ่งในคัมภีร์ขันธกะ อันเป็นคัมภีร์ที่สองในพระวินัยปิฎกเถรวาท ตามการจัดแบ่งของสมาคมบาลีปกรณ์ มหาวรรค มีเนื้อหาครอบคลุมพระไตรปิฎกเล่มที่ 4-5 มีเนื้อหาว่าด้วยหลักในการประพฤติในด้านขนบธรรมเนียมเพื่ออาจาระที่เหมาะสมของพระสงฆ์ โดยรวมหลักสิกขาบทในคัมภีร์มหาวรรคเรียกว่า สิกขาบทฝ่ายอภิสมาจาร หรือ สิกขาบทนอกพระปาติโมกข์

คัมภีร์มหาวรรคทั้งหมด จัดอยู่ในหมวดขันธกะ อันเป็นส่วนที่สองในพระวินัยปิฎก คู่กับอาทิพรหมจาริยกาสิกขา ที่เป็นข้อปฏิบัติอันเป็นสิกขาบทหลัก คือพระวินัยบัญญัติ อันเป็นสิกขาบทในพระปาติโมกข์ที่จัดอยู่ในหมวดสุตตวิภังค์ โดยสิกขาบทในคัมภีร์มหาวรรคไม่ได้จัดเป็นข้อห้ามตามสิกขาบทบัญญัติในพระปาติโมกข์ ดังนั้นพระสงฆ์ผู้ล่วงละเมิดข้อห้ามในคัมภีร์มหาวรรคก็ไม่ต้องอาบัติสูงสุดถึงปาราชิก โดยต้องเพียงอาบัติทุกกฎหรือถุลลัจจัย [1]

เนื้อหาในคัมภีร์มหาวรรค นอกจากขนบธรรมเนียมของพระสงฆ์แล้ว ยังมีเนื้อหาว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ในพระพุทธประวัติจำนวนมาก เช่น ในหมวดมหาขันธกะอันเป็นหมวดย่อยในคัมภีร์มหาวรรค มีเนื้อหากล่าวถึงพระพุทธประวัติตั้งแต่ครั้งปฐมโพธิกาล จนถึงมัชฌิมโพธิกาล จัดเป็นแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของพระพุทธศาสนาในยุคแรก ๆ อีกด้วย

มหาวรรค มาคู่กับ จูฬวรรค อยู่ในหมวดหมู่คัมภีร์ขันธกะแห่งพระวินัยปิฎกเช่นเดียวกัน

การแบ่งเล่มพระไตรปิฎกในคัมภีร์มหาวรรค[แก้]

ปัจจุบัน คัมภีร์พระไตรปิฎก 45 เล่ม ตามการแบ่งของประเทศไทย จะจัดแบ่งคัมภีร์มหาวรรคออกเป็นสองตอนหรือ 2 ภาค โดยจัดให้ตอนแรก (4 ขันธกะแรก) อยู่ในเล่มที่ 4 และตอนที่สอง (6 ขันธกะหลัง) อยู่ในเล่มที่ 5

หัวข้อในคัมภีร์มหาวรรค[แก้]

  1. มหาขันธกะ ว่าด้วยเรื่องสำคัญ ๆ ต่าง ๆ เช่น พระพุทธประวัติ ข้อกำหนดอุปสมบท เป็นต้น มีทั้งหมด 67 หัวข้อย่อย
  2. อุโปสถะขันธกะ ว่าด้วยเรื่องการลงอุโบสถเพื่อแสดงอาณาปาติโมกข์ของพระสงฆ์ทั้งหมด มีทั้งหมด 39 หัวข้อย่อย
  3. วัสสูปนายิกะขันธกะ ว่าด้วยการเข้าพรรษาของพระสงฆ์ มีทั้งหมด 13 หัวข้อย่อย
  4. ปวารณาขันธกะ ว่าด้วยการปวารณา มีทั้งหมด 27 หัวข้อย่อย

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]