มรดกป่าฝนเขตร้อนของเกาะสุมาตรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มรดกป่าฝนเขตร้อนของเกาะสุมาตรา *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
อุรังอุตังในเขตอุทยานกูนุงเลอเซอร์
พิกัด3°45′22.8″N 97°10′24.7″E / 3.756333°N 97.173528°E / 3.756333; 97.173528
ประเทศ อินโดนีเซีย
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
ประเภทมรดกทางธรรมชาติ
เกณฑ์พิจารณา(vii), (ix), (x)
อ้างอิง1167
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2547 (คณะกรรมการสมัยที่ 28)
ในภาวะอันตราย2554–ปัจจุบัน
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

มรดกป่าฝนเขตร้อนของเกาะสุมาตรา คือชื่อแหล่งมรดกโลกของประเทศอินโดนีเซียที่ตั้งอยู่บนเกาะสุมาตรา ประกอบด้วยเขตอุทยานแห่งชาติ 3 แห่งได้แก่ อุทยานแห่งชาติกูนุงเลอเซอร์ (Gunung Leuser), อุทยานแห่งชาติเกอรินจีเซอบลัต (Kerinci Seblat) และอุทยานแห่งชาติบูกิตบารีซันเซอลาตัน (Bukit Barisan Selatan)

มรดกโลก[แก้]

อุทยานแห่งชาติทั้ง 3 แห่งได้ร่วมกันขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ "มรดกของป่าฝนเขตร้อนบนเกาะสุมาตรา" ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 28 เมื่อปี พ.ศ. 2547 ที่เมืองซูโจว ประเทศจีน ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้

  • (vii) - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่าง ๆ ในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
  • (ix) - เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
  • (x) - เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะ อันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย

อ้างอิง[แก้]