ภาษามลายูเนอเกอรีเซิมบีลัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษามลายูเนอเกอรีเซิมบีลัน
bahasa Melayu Negeri Sembilan
بهاس ملايو نݢري سمبيلن
baso Nogoghi
ออกเสียง[basɔ nɔgɔɣi]
ประเทศที่มีการพูดประเทศมาเลเซีย
ภูมิภาครัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน, รัฐมะละกาตอนเหนือ (อำเภออาโลร์กาจะฮ์)
จำนวนผู้พูด508,000 คน (ประชากรตามชาติพันธุ์)  (2004)[1]
ตระกูลภาษา
ออสโตรนีเซียน
รหัสภาษา
ISO 639-3zmi

ภาษามลายูเนอเกอรีเซิมบีลัน (มลายู: bahasa Melayu Negeri Sembilan; มีอีกชื่อว่า บาซอนอกอฆี หรือ บาซอนิซมีลัน) เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนที่มีผู้พูดในรัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน และอำเภออาโลร์กาจะฮ์ รัฐมะละกา ประเทศมาเลเซีย ผู้พูดภาษานี้เป็นลูกหลานผู้ตั้งถิ่นฐานชาวมีนังกาเบาจากเกาะสุมาตราที่อพยพเข้าเนอเกอรีเซิมบีลันมาเร็วสุดตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14[2] ส่วนใหญ่ถือเป็นภาษาย่อยของภาษามีนังกาเบา อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาคำศัพท์และการออกเสียง ระบุให้ภาษานี้มีความใกล้ชิดกับภาษามลายูมาตรฐานมากกว่ามีนังกาเบา[3][4]

อ้างอิง[แก้]

  1. ภาษามลายูเนอเกอรีเซิมบีลัน ที่ Ethnologue (22nd ed., 2019)
  2. Rahilah Omar; Nelmawarni (2008). "Negeri Sembilan: Rantau Minangkabau di Semenanjung Tanah Melayu". Historia: Journal of Historical Studies (ภาษามาเลย์). 9 (2): 2–30.
  3. Reniwati (2012). "Bahasa Minangkabau dan Dialek Negeri Sembilan: Satu Tinjauan Perbandingan Linguistik Historis Komparatif". Wacana Etnik: Jurnal Ilmu Sosial dan Humaniora (ภาษาอินโดนีเซีย). 3 (1): 71–86. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-04. สืบค้นเมื่อ 2022-09-06.
  4. Idris Aman; Mohammad Fadzeli Jaafar; Norsimah Mat Awal (2019). "Language and Identity: A Reappraisal of Negeri Sembilan Malay Language" (PDF). Kajian Malaysia. 37 (1): 27–49. doi:10.21315/km2019.37.1.2.

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Hendon, Rufus S. (1966). The Phonology and Morphology of Ulu Muar Malay: (Kuala Pilah District, Negri Sembilan, Malaya). Yale University Publications in Anthropology, 70. New Haven: Dept. of Anthropology, Yale University.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]