ข้ามไปเนื้อหา

ภาวะขาดการนอนหลับ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาวะขาดการนอนหลับ
สาขาวิชานิทราเวชศาสตร์
อาการความล้า, อาการบวมรอบตา, ความจำไม่ดี, อารมณ์หงุดหงิด, น้ำหนักขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนอุบัติเหตุทางรถยนต์และที่ทำงาน, น้ำหนักขึ้น, โรคหัวใจและหลอดเลือด
สาเหตุการนอนไม่หลับ, ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ, สารกระตุ้น (คาเฟอีน, แอมเฟตามีน), การรบกวนการนอนโดยสมัครใจ (โรงเรียน, งาน), ความผิดปกติทางอารมณ์
การรักษาการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม, กาเฟอีน (เพื่อกระตุ้นความตื่นตัว), ยานอนหลับ

ภาวะขาดการนอนหลับ (อังกฤษ: sleep deprivation) หรือ การนอนหลับไม่เต็มอิ่ม (อังกฤษ: insufficient sleep) เป็นภาวะที่นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ว่าเรื้อรัง (chronic) หรือเฉียบพลัน (acute)

การหลับไม่อิ่มเรื้อรัง ทำให้เกิดความล้า (fatigue), ความง่วงซึมในเวลากลางวัน (daytime sleepiness), ความซุ่มซ่าม (clumsiness) ตลอดจนน้ำหนักลด และน้ำหนักเพิ่ม[1] นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อระบบสมองและการรับรู้จดจำ[2] และจากการทดลองกับสัตว์ในห้องปฏิบัติการ พบว่า สัตว์ทดลองที่หลับไม่อิ่มติดต่อกันเป็นเวลานาน ถึงแก่ความตายในที่สุด[3]

ไม่มีมนุษย์คนใดสามารถงดเว้นการนอนหลับติดต่อกันเป็นห้วงเวลายาวนานได้ เว้นแต่ป่วยเป็นภาวะนอนไม่หลับอย่างร้ายแรงในวงศ์ตระกูล (fatal familial insomnia) นอกจากนี้ มนุษย์ก็ยังไม่สามารถเลี่ยงความง่วงได้ แม้เป็นความง่วงช่วงสั้น ๆ ก็ตาม[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Taheri S, Lin L, Austin D, Young T, Mignot E (ธันวาคม 2004). "Short sleep duration is associated with reduced leptin, elevated ghrelin, and increased body mass index". PLoS Med. 1 (3): e62. doi:10.1371/journal.pmed.0010062. PMC 535701. PMID 15602591. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 เมษายน 2006. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2021.
  2. Paula Alhola; Päivi Polo-Kantola (ตุลาคม 2007). "Sleep deprivation: Impact on cognitive performance" (Review; Full text). Neuropsychiatr Dis Treat. Dove Medical Press. 3 (5): 553–567. PMC 2656292. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2010. Although both conditions [total and partial SD] induce several negative effects including impairments in cognitive performance, the underlying mechanisms seem to be somewhat different.
  3. Rechtschaffen A, Bergmann B (กรกฎาคม–สิงหาคม 1995). "Sleep deprivation in the rat by the disk-over-water method". Behavioural Brain Research. 69 (1–2): 55–63. doi:10.1016/0166-4328(95)00020-T. The Function of Sleep
  4. Kushida, Clete Anthony (2005). Sleep deprivation. Informa Health Care. pp. 1–2. ISBN 0-8247-5949-4.