สนธิสัญญาฮะซัน-มุอาวิยะฮ์
สนธิสัญญาฮะซัน-มุอาวิยะฮ์ เป็นสนธิสัญญาสันติภาพทางการเมืองที่ลงนามระหว่างเคาะลีฟะฮ์ ฮะซัน อิบน์ อะลี กับมุอาวิยะฮ์ที่ 1 เพื่อหยุดเหตุการณ์ฟิตนะฮ์ครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 656–661) สนธิสัญญาระบุว่า ฮะซันยกตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ให้กับมุอาวิยะฮ์ด้วยเงื่อนไขบางประการ ซึ่งรวมเงื่อนไขอย่างการให้ความปลอดภัยแก่มุสลิมและห้ามฝ่ายมุอาวิยะฮ์แต่งตั้งผู้สืบทอดอำนาจ[1] ถึงกระนั้น มุอาวิยะฮ์ละเมิดเงื่อนไขสนธิสัญญา โดยเฉพาะการแต่งตั้งยะซีดเป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อจากพระองค์ ก่อให้เกิดราชวงศ์ในรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์[2]
เนื้อหา
[แก้]ต่อไปนี้คือเนื้อหาจากสนธิสัญญาระหว่างฮะซันกับมุอาวิยะฮ์:
- มุอาวิยะฮ์ควรดำเนินตามคัมภีร์ของอัลลอฮ์, ซุนนะฮ์ของท่านศาสดา[3] และพฤติกรรมของเคาะลีฟะฮ์ผู้ทรงธรรม[4][5]
- หลังจากมุอาวิยะฮ์แล้ว อำนาจควรเป็นของฮะซัน[6][7][8][9][10] และถ้ามีอุบัติเหตุใดเกิดขึ้น อำนาจนั้นจะตกเป็นของฮุซัยน์[11] มุอาวิยะฮ์ไม่มีสิทธิที่จะมอบอำนาจให้แก่ใครทั้งสิ้น[5][12][13]
- มุอาวิยะฮ์ควรหยุดสาปแช่งอะลี ซึ่งรวมถึงการอ่านกุนูตตอนละหมาดเพื่อต่อต้านเขา[14] มุอาวิยะฮ์ไม่ควรกล่าวชื่ออะลีนอกจากว่าจะมีประสงค์ดี[15][16]
- มุอาวิยะฮ์ควรแยกสิ่งที่อยู่ในหอพระคลังแห่งกูฟะฮ์ นั่นคือห้าล้าน (ดิรฮัม) มุอาวิยะฮ์ควรส่งเงินให้ฮุซัยน์หนึ่งล้านดิรฮัมทุกปี...และควรแบ่งหนึ่งล้าน (ดิรฮัม) ให้กับลูกชายที่ถูกฆ่ากับอะมีรุลมุอ์มินีนในสงครามอูฐและยุทธการที่ศิฟฟีน และควรจ่ายมันด้วยภาษีใน Dar Abjard[17][18][19][20]
- ประชาชนควรได้รับความปลอดภัยทุกที่บนผืนดินของอัลลอฮ์ มุอาวิยะฮ์ควรให้ความปลอดภัยแก่ทุกชาติพันธุ์ กลุ่มสหายของอิหม่ามอะลีควรได้รับความปลอดภัย มุอาวิยะฮ์ไม่ควรสร้างความเสียหายทั้งในที่ลับหรือเปิดเผยต่อฮะซัน ฮุซัยน์ หรืออะฮ์ลุลบัยต์ของศาสดา[5][15][16][19][21][22][23]
ผลที่ตามมา
[แก้]หลังฮะซันสละราชสมบัติ มุอาวิยะฮ์เดินทางเข้ากูฟะฮ์พร้อมกับกองทัพอย่างภาคภูมิใจ โดยกองทัพกล่าวต่อสาธารณชนว่าพระองค์ไม่ยอมรับสัญญาที่ทำกับฮะซัน[24] ฮะซันเกษียณที่มะดีนะฮ์ โดยเขาถูกห้ามไม่ให้มีส่วนร่วมทางการเมืองหรือต่อต้านมุอาวิยะฮ์[25] ฮะซันเสียชีวิตใน ค.ศ. 669 ด้วยอายุ 46 ปี[26] เชื่อกันว่ามุอาวิยะฮ์ยุยงให้วางยาพิษใส่ฮะซัน เพื่อให้ยะซีด พระราชโอรสของพระองค์ ได้สืบทอดอำนาจต่อ[27] ในรัชสมัยนั้น มุอาวิยะฮ์ข่มเหงพรรคพวกของอะลีคนสำคัญ เช่น ฮุจร์ อิบน์ อะดี เศาะฮาบะฮ์ของมุฮัมมัด ถูกประหารชีวิตใน ค.ศ. 670[28] Madelung รายงานว่า มุอาวิยะฮ์ได้จัดตั้งพิธีการสาปแช่งอะลีในละหมาดรวมเพื่อสร้างความชอบธรรมต่อการปกครองของพระองค์[29]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Donaldson (1933, pp. 66–78). Jafri (1979, pp. 91–120). Aal-Yasin
- ↑ Madelung (1997, pp. 323, 324)
- ↑ al-Hadid, Ibn Abu. Sharh Nahj al-Balagha, vol. 4. p. 6.
- ↑ Ibn Aqil. al-Nasaih al-Kafiya. p. 156.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Al-Majlisi. Bihar al-Anwar, vol. 10. p. 115.
- ↑ al-Suyūṭī, Jalāl al-Dīn al-Khuḍayrī (3 June 2014). History of the Caliphs:Tarikh Al-Khulafa. CreateSpace Independent Publishing Platform (June 3, 2014). p. 194. ISBN 978-1499770056.
- ↑ Ibn Kathir. al-Bidaya wa alNahaya, vol. 8. p. 41.
- ↑ al-Asqalani, Ahmad Shahab al-Din. al-Isaba fi Tamiiz al-Sahaba, vol. 2. pp. 12, 13.
- ↑ al-Dinawari, Ibn Qutayba. al-Imama wa al-Siyasa. p. 150.
- ↑ Wajdi, Farid. Dairat al-Marif al-Islamiya, vol. 3. p. 443.
- ↑ Ibn al-Muhanna. Umdat al-Talib. p. 52.
- ↑ Ibn Abu al-Hadid. Sharh Nahj al-Balagha, vol. 4. p. 8.
- ↑ Ibn al-Sabbagh. al-Fusw al Muhimma.
- ↑ al-Amili, Muhsin al-Amin. A'yan al-Shia, vol. 4. p. 43.
- ↑ 15.0 15.1 al-Isfahani, Abu al-Faraj. Maqatil al-Talibiyyin. p. 26.
- ↑ 16.0 16.1 al Hadid, Ibn Abu. Sharh Nahj al-Balagha, vol. 4. p. 15.
- ↑ al-Dinawari, Ibn Qutayba. al-Imama wa al-Siyasa. p. 200.
- ↑ al-Tabarī (January 1988). The History of al-Tabari Vol. 6. SUNY Press (August 1, 1987). p. 92. ISBN 978-0887067075.
- ↑ 19.0 19.1 Ibn Babawayh. Ilal al-Sharaiya. p. 81.
- ↑ Ibn Kathir. al-Bidaya wa al-Nihaya, vol. 8. p. 14.
- ↑ al-Tabarī (January 1988). The History of al-Tabari Vol. 6. SUNY Press (August 1, 1987). p. 97. ISBN 978-0887067075.
- ↑ Ibn al-Aft. al-Kamil fi al-Tarikh, vol. 3. p. 166.
- ↑ Ibn Aqil. al-Nasaih al-Kafiya. p. 115.
- ↑ Madelung (1997, pp. 323, 324, 350)
- ↑ Madelung (1997, p. 327). Jafri (1979, pp. 110, 112)
- ↑ Momen (1985, p. 28)
- ↑ Madelung (1997, p. 331). Momen (1985, p. 28). Burke et al. (2016). Jafri (1979, p. 112)
- ↑ Madelung (1997, pp. 334, 335, 337). Jafri (1979, p. 117)
- ↑ Madelung (1997, p. 334)
ข้อมูล
[แก้]- Madelung, Wilferd (1997). The Succession to Muhammad: A Study of the Early Caliphate. Cambridge University Press. ISBN 0-521-64696-0.
- Jafri, S.H.M (1979). Origins and early development of Shia Islam. London: Longman.
- Momen, Moojan (1985). An introduction to Shi'i Islam. Yale University Press. ISBN 9780853982005.
- Hinds, M. (2021). "Muawiya I". Encyclopaedia of Islam (Second ed.). Brill Reference Online.
- Madelung, Wilferd (2003). "Hasan b. Ali b. Abi Taleb". Encyclopaedia Iranica. Vol. XII/1. pp. 26–28.
- Burke, Nicole; Golas, Mitchell; Raafat, Cyrus L.; Mousavi, Aliyar (2016). "A forensic hypothesis for the mystery of al-Hasan's death in the 7th century: Mercury(I) chloride intoxication". Medicine, Science, and the Law. 56 (3): 167–171. doi:10.1177/0025802415601456. ISSN 0025-8024. PMC 4923806. PMID 26377933.
- Donaldson, Dwight M. (1933). The Shi'ite Religion: A History of Islam in Persia and Irak. Burleigh Press. pp. 66–78.
- Aal-Yasin, Radi; Translated by Jasim al-Rasheed. Sulh al-Hasan (The Peace Treaty of al-Hasan (a)). Qum: Ansariyan Publications. สืบค้นเมื่อ 30 December 2013.