พูดคุย:อสงไขย

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธงพระธรรมจักร
ธงพระพุทธศาสนาสากล
อสงไขย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิพระพุทธศาสนา และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมเรื่องทุกอย่างเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ถ้าต้องการมีส่วนร่วมโครงการ สามารถเข้าร่วมได้ที่หน้าโครงการ
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ

การคำนวณจากปริมาณเมล็ดพันธุ์ผักกาดนั้นเกิดจากการเดาแล้วครับ ในคัมภีร์พุทธศาสนาไม่ได้บอกอย่างนี้ ทำให้จำนวนปีคลาดเคลื่อนไปเยอะมาก (ลองสังเกตดูว่าที่คำนวณข้างบนนั้น ทำไมกัปหนึ่งจึงสั้นกว่าอสงไขยปี ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย) คัมภีร์พุทธศาสนากล่าวว่า มนุษย์นั้นเริ่มแรกมีอายุขัย 1 อสงไขยปี (คือ 1 ตามด้วย 0 อีก 140 ตัว) ทุกร้อยปีอายุขัยลดลงปีหนึ่ง (เพราะความเสื่อมจากศีลธรรม) จนเหลือแค่ 10 ปี แล้วเกิดมิคคสัญญี จากนั้นทุกร้อยปีอายุขัยเพิ่มขึ้นปีหนึ่ง (เพราะความเจริญขึ้นของศีลธรรม) จนกลับไปมีอายุขัยเป็นอสงไขยปีดังเดิม อายุที่ลดแล้วเพิ่มขึ้น 1 รอบนี้ เรียกว่า 1 รอบอสงไขย หรือ 1 อันตรกัป มนุษย์มีอายุขัยขึ้นๆ ลงๆ แบบนี้ 64 รอบ โลกก็จะถูกทำลายด้วยไฟ น้ำ หรือลม โลกจะถูกทำลายจนสูญสลายหายไป ใช้เวลา 64 อันตรกัป เมื่อโลกถูกทำลายไปแล้ว จักรวาลจะไม่ปรากฏ มีแต่ความเวิ้งว้างว่างเปล่า นับเวลาได้อีก 64 อันตรกัป จากนั้นก็จะมีฝนตกลงมาจนเต็มท้องจักรวาล เมื่อฝนหยุด น้ำค่อยๆ งวดแห้ง ก่อเกิดเป็นจักรวาลขึ้นใหม่ นับเวลาได้อีก 64 อันตรกัป รวมระยะเวลาการเกิดดับของจักรวาลรอบหนึ่งใช้เวลา 256 อันตรกัป หรือเรียกว่า 1 กัป หรือ 1 มหากัป --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 124.121.48.208 (พูดคุยหน้าที่เขียน)

เข้าใจว่า "อสงไขย" ไม่ได้ใช้กับเฉพาะเวลาเท่านั้น แต่สามารถใช้ได้ทั่วไป กับทั้งการนับจำนวนด้วย เปรียบได้กับอนันต์ในความหมายทางคณิตศาสตร์ --octahedron80 12:21, 28 มกราคม 2554 (ICT)

อสงไขยมหากัป?[แก้]

http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.3&i=1 <-- นนี้มีใช้คำว่า "อสงไขยแห่งมหากัป" --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Ans (พูดคุยหน้าที่เขียน) 11:50, 20 ตุลาคม 2559 (ICT)
อย่างไรก็ตาม คำว่า 4 อสงไขย กับ แสน มหากัป นั้น หมายถึง 4 อสงไขย มหากัป กับอีก แสน มหากัป. เช่นเดียวกับ คำว่า 4 ล้าน กับ แสน มหากัป ก็หมายถึง 4 ล้าน มหากัป กับอีก แสน มหากัป เช่นเดียวกัน.
ไม่มีหน่วย "อสงไขยมหากัป" ปรากรฏในคัมภีร์ใด มีแต่ "อสงไขย" และ "มหากัป" (พุทธามาตย์)
อสงไขย เฉยๆ ไม่ใช่ "หน่วย", แต่เป็นส่วนขยายของหน่วย. เมื่อกล่าวถึงระยะเวลาเป็น อสงไขย นั้นจำเป็นต้องระบุหน่วยด้วยว่า อสงไขย ของอะไร เฉกเช่นเดียวกับคำว่า ล้าน, ถ้าบอกว่าระยะเวลา 4 ล้าน เฉยๆ ก็จะไม่มีความหมายว่า 4 ล้านของอะไร. ในคัมภีร์จะมีใช้คำว่า "4 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป" ซึ่งหมายถึง {4 อสงไขยกับเศษแสน}มหากัป ซึ่ง อสงไขยที่ปรากฏในคำนี้เป็นการขยายเพื่อบอกปริมาณของหน่วย "มหากัป". แต่ผู้อ่านมักแบ่งคำหรือวลีผิด เป็น {4 อสงไขย}กับ{เศษแสนมหากัป}, ทำให้เข้าใจผิดว่า 4 อสงไขย เป็นหน่วยระยะเวลาโดดๆ ในตัวมันเอง, ซึ่งจริงๆ แล้ว ไม่ได้เป็นเช่นนั้น, แต่ "4 อสงไขย" ในคำนั้น จับคู่กับคำว่า "เศษแสน" ก่อน แล้วจึงจะไปขยายเพื่อบอกปริมาณในหน่วย "มหากัป" อีกทีหนึ่ง. --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Ans (พูดคุยหน้าที่เขียน) 13:21, 20 ตุลาคม 2559 (ICT)--Ans (พูดคุย) 13:21, 20 ตุลาคม 2559 (ICT)
ที่คุณอธิบายมานั้นไม่ตรงกับอรรถกถาจริยาปิฎกที่คุณยกมาอ้างด้วยซ้ำ เมื่อก่อนผมก็เข้าใจผิดแบบคุณนั่นแหละครับ แต่จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ โดยเฉพาะจากอรรถกถาเอง ใช้คำว่า "อสงไขย" เป็นคำนามด้วย ไม่ใช่ส่วนขยายอย่างเดียว ตามที่ในอรรถกถานั้นระบุว่า "จตุโร จ อสงฺขิเย สี่อสงไขยโดยการล่วงการคำนวณมหากัปในฐานะ ๔ แม้ในความเป็นอสงไขยกัป เพราะความเป็นกัปที่ล่วงเลยการคำนวณ. พึงทราบว่า ท่านมิได้กล่าวด้วยสังขยาวิเสสนะ" ในอรรถกถาที่คุณยกมานั้นระบุไว้ว่า

กัปทั้งหลายในระหว่างแห่งพระพุทธเจ้าเหล่านี้ คือแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าทีปังกร และแห่งพระศาสดาพระนามว่าโกณฑัญญะเป็นกัปที่นับไม่ได้โดยการคำนวณ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายกพระนามว่ามังคละ โดยพระนามอื่นจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะ กัปทั้งหลาย ในระหว่างพระพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น ก็เป็นกัปที่นับไม่ได้โดยการคำนวณ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสีผู้มียศใหญ่อื่นจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโสภิตะ กัปทั้งหลายในระหว่างพระพุทธเจ้าแม้เหล่านั้นก็เป็นกัปที่นับไม่ได้โดยการคำนวณ.
กัปทั้งหลายในระหว่างพระพุทธเจ้า แม้เหล่านั้น คือ แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่านารทะ แห่งพระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ ก็เป็นกัปที่นับไม่ได้โดยคำนวณ

สรุปคือ จากอรรถกถานั้นระบุเองว่า อสงไขย หมายถึง ช่วงเวลาที่นานเกินการคำนวณ (ด้วยมหากัป) เขาจึงบอกว่าเป็นอสงไขยแห่งมหากัป และช่วงเวลาแบบนี้มี 4 ครั้ง คือ 1. ระหว่างพระทีปังกรกับพระโกณฑัญญะ 2. ระหว่างพระโกณฑัญญะกับพระมังคละ 3. ระหว่างพระโสภิตะและพระอโนมทัสสี และ 4. ระหว่างพระนารทะกับพระปทุมุตตระ จึงเรียกว่าสี่อสงไขย เป็นอสงไขยเฉย ๆ ไม่มีหน่วยมหากัป เพราะอสงไขยในที่นี้คือเวลาที่นานคำนวณด้วยมหากัปไม่ได้ครับ--พุทธามาตย์ (พูดคุย) 17:08, 20 ตุลาคม 2559 (ICT)
ถ้าเช่นนั้น อสงไขยแห่งมหากัป ก็น่าจะเป็นการบอกว่าเป็นจำนวนของ มหากัป ในจำนวนที่มากเกินคำนวณ ดัง quote ต่อไปนี้,

มีเนื้อความว่า สี่อสงไขยแห่งมหากัปและแสนมหากัป พึงทราบความในบทว่า อสงฺขิเย นี้ ชื่อว่า อสงฺขิยา เพราะไม่สามารถจะนับได้. อธิบาย เกินการคำนวณ

ในระหว่างพระทศพลพระนามว่าทีปังกร และพระทศพลพระนามว่าโกณฑัญญะ โลกได้ว่างพระพุทธเจ้าไปตลอดอสงไขยหนึ่งแห่งมหากัป

เช่นนั้น แล้ว การจะบอกว่า ทั้ง 20 อสงไขย ในการบำเพ็ญเพียรนั้น หมายถึง อสงไขยแห่งมหากัป, ก็ไม่ผิดนี่ครับ.--Ans (พูดคุย) 11:59, 21 ตุลาคม 2559 (ICT)
คำว่า อสงไขยแห่งมหากัป น่ะไม่ผิดครับ ผมก็ไม่ได้มีปัญหาตรงนี้ เพราะอสงไขยในที่นี้หมายถึง นับไม่ถ้วน "อสงไขยแห่งมหากัป" จึงหมายถึง มหากัปจำนวนนับไม่ถ้วน, ไม่รู้เท่าไหร่มหากัป อสงไขยในที่นี้เป็นคำนาม ได้โดด ๆ ได้ เพราะไม่ใช่ สังขยาวิเสสนะ (ส่วนขยายจำนวน) ที่ต้องมีหน่วยมากำกับ (ตรงนี้แหละที่คุณเข้าใจผิดว่า "เป็นส่วนขยายของหน่วย. เมื่อกล่าวถึงระยะเวลาเป็น อสงไขย นั้นจำเป็นต้องระบุหน่วยด้วยว่า อสงไขย ของอะไร") คำว่า "อสงไขยมหากัป" จึงไม่มีในคัมภีร์ มีแต่ "อสงไขยแห่งมหากัป" ซึ่งหมายถึง มหากัปอันนับไม่ถ้วน ยิ่งในตัวบทบาลียิ่งเห็นชัด เพราะเขาใช้คำว่าสี่อสงไขยโดด ๆ ไม่ได้ขยายหน่วยมหากัป เช่น ข้อความว่า "มหากปฺปานํ คณนาติกฺกเมน จตุโร จ อสงฺขิเยติ" (สี่อสงไขยเพราะการล่วงการคำนวณมหากัป) อย่างไรก็ตาม เพียงอรรถกถาแปลไทยที่ผมโควตมาก็ชัดเจนแล้วนะครับ
ป.ล. รูปแบบการจัดหน้าแสดงความเห็นของคุณไม่เหมาะสม ดูไม่รู้เรื่อง ไม่ใช่แบบแผนที่ใช้กันในวิกิ ผมปรับให้เป็นมาตรฐาน ดังนั้น อย่าเปลี่ยนแปลงการจัดหน้าครับ --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 13:05, 21 ตุลาคม 2559 (ICT)
อย่ารวม ย่อหน้า ที่ผมแบ่งไว้มาเป็นย่อหน้าเดียวกันครับ, แต่ละย่อหน้าที่ผมแบ่งไว้ ผมตั้งใจแยกเป็นประเด็นย่อย เป็นประเด็นๆ ไปครับ.
การจัด indent ให้บวกเพิ่ม 1 colon ต่อหนึ่ง reply ก็เพียงพอครับ, ซึ่งคิดว่าเป็นมาตรฐานที่ wiki software ออกแบบมาเช่นนี้ --Ans (พูดคุย) 12:38, 26 มกราคม 2560 (ICT)