พูดคุย:ราชวงศ์ชิง

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวงศ์ชิง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประวัติศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่น่าเชื่อถือสำหรับผู้อ่าน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ราชวงศ์ชิง หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
ราชวงศ์ชิง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ บทความเฉลิมพระเกียรติ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการได้โดยการช่วยกันพัฒนาบทความ ราชวงศ์ชิง หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
ราชวงศ์ชิง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศจีนและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศจีน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ราชวงศ์ชิง หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

เรื่องๆกองธง ผมแก้จาก --ความสำเร็จที่สำคัญสิ่งหนึ่งของพระองค์คือการตั้งกองทหารแปดกองธง ซึ่งเป็นทหารชาวมองโกล มีหน้าที่ดูแลการเมืองและการทหารโดยรวม-- เป็น --ความสำเร็จที่สำคัญสิ่งหนึ่งของพระองค์คือการตั้งระบบกองธง ซึ่งเป็นระบบในการแบ่งสายการปกครองออกเป็นส่วนๆ มีประโยชน์ทั้งทางด้านการปกครองและการทหาร โดยแรกเริ่มนั้นมี 8 กองธง-- ท่อนนี้ผมมั่นใจว่าถูก เนื่องจากระบบกองธงก็คือการแบ่งคนเป็นส่วนๆ แล้วปกครองเป็นส่วนๆ นั่นเอง โดยมีการตั้งเชื้อพระวงศ์ออกไปปกครองและมีหน้าที่แตกต่างกัน

ส่วนท่อน --พระองค์ทรงนำธงจีนหลายชนิดมาใช้กับกองทหารแมนจู-- มาเป็น --พระองค์ได้ทรงตั้งกองธงแรกที่เป็นชาวฮั่นขึ้น-- อั้นนี้ก็ถูกแน่ๆ คือแต่เดิมนั้น8กองธงนั้นมีเพียงสมาชิกชาวแมนจู ต่อมาจึงเริ่มมีสมาชิกเป็นชาวฮั่นและมองโกลในภายหลัง ซึ่ง8กองธงก็แตกเป็นกองธงย่อยๆอีกโดยเฉพาะในยุคกลางๆของราชวงศ์

    ส่วนข้อมูลที่ผมแก้ไขที่เหลือ ผมไม่แน่ใจสักทีเดียว แต่คิดว่าน่าจะถูกต้องกว่าข้อมูลเดิม

มีอะไรผิดพลาดชี้แนะด้วยครับ บทความคัดสรรน่าจะสมบูรณ์กว่านี้นะครับ Kn hunter 11:34, 2 พฤษภาคม 2006 (UTC)

เนื้อหาที่ย้ายมาจากหน้าหลัก[แก้]

หมายเหตุ: ย้ายเนื้อหามาจาก ประวัติศาสตร์จีน รอการปรับรวมกับเนื้อหาหลักเดิม Markpeak 11:43, 26 เมษายน 2007 (UTC)

เมืองต่างๆต้องใช้เงินต้อนรับอย่างใหญ่โตมากมาย ศึกสงครามเพิ่มขึ้นล้วนต้องใช้เงินจำนวนมากเป็นเหตุให้ท้องพระคลังเริ่มขัดสน ตอนปลายรัชสมัยนี้โปรดขุนนางทุจริตชื่อ เหอเซิน เป็นพิเศษ เขาเป็นขุนนางแมนจูคุมการปกครองนานกว่า 20 ปี และใช้อำนาจหน้าที่เบียดบังทรัพย์สินจนกลายเป็นต้นแบบของข้าราชการสมัยนั้นกระทำตามกันแพร่หลาย งานบริหารบ้านเมืองจึงเลวร้ายลง

สาเหตุของความเสื่อมศรัทธา[แก้]

  1. เมื่อชาวแมนจูปกครอง แผ่นดินจีนเสื่อมคุณภาพลง กองทัพทหารถดถอย
  2. การปกครองหย่อนสมรรถภาพลง ข้าราชการฉ้อราษฎร์บังหลวงเพิ่ม
  3. ประชากรเพิ่มขึ้น แต่ที่ทำกินขาดแคลน เพราะชนชั้นสูงกับขุนศึกแมนจูยึดครองที่ดินของชาวฮั่นจำนวนมากตามอำเภอใจ
  4. พระเจ้าเฉียนหลงโปรดความโอฬาร ใช้ทหารทำสงครามบ่อยครั้งเป็นเหตุให้ฐานะการคลังตกต่ำ
  5. ชาวฮั่นไม่ยอมทนต่อการกดขึ่ของชาวแมนจู จึงมีความคิดกอบกู้แผ่นดินเสมอ

สงครามฝิ่น[แก้]

ช่วงต้นราชวงศ์ชิงเลือกใช้นโยบายปิดประเทศ ไม่ค้าขายกับต่างชาติ ปีค.ศ. 1757 รัชศกเฉียนหลงปีที่ 22 เริ่มเปิดทำการค้ากับต่างชาติที่เมืองก่วงโจว โดยอังกฤษเป็นชาติตะวันตกที่นำเข้าชาและไหมดิบจากจีนมากที่สุด แต่ส่งสิ่งทอกับฝ้ายให้จีนน้อยมาก จึงมีปัญหาการขาดดุลการค้ากับจีน วิธีแก้ไขของอังกฤษ คือ การส่งฝิ่นให้จีน

การค้าฝิ่นเฟื่องฟูอย่างมากเมื่อสถิติคนจีนติดฝิ่นเพิ่ม แม้แต่เชื้อพระวงศ์ยังชื่นชอบฝิ่น เป็นเหตุให้จีนสูญเสียเงินทองมากและสุขภาพประชากรเสื่อมโทรมจนเป็นที่เหยียดหยามของชาวอังกฤษ ข้าราชการในราชสำนักชิงแตกความเห็นเป็นสองฝ่ายทั้งต่อต้านและสนับสนุน โดยหลินเจ๋อสีว์ ผู้ตรวจการใหญ่เขตหูก่วงพยายามชี้แจงให้พระเจ้าเต้ากวงเห็นโทษรุนแรงของฝิ่น ซึ่งทำลายคนจีน ทหาร และการคลังของชาติ เขาจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้นำปราบปรามฝิ่นที่ก่วงโจว

การทำงานของหลินเจ๋อสีว์มีประสิทธิภาพสูง สร้างความเสียหายแก่พ่อค้าฝิ่นชาวอังกฤษ ทำลายสินค้าฝิ่นได้มาก จนกระทั่งเอลเลียต ผู้ตรวจการพาณิชย์อังกฤษได้ขอให้รัฐบาลอังกฤษใช้กำลังทหารปกป้องตลาดค้าฝิ่นในจีนอย่างเร่งด่วน อังกฤษจึงส่งกองทัพเรือปิดปากน้ำต้ากู อันสร้างความตื่นตระหนกแก่ราชสำนักชิง แล้วเลือกถอดถอนหลินเจ๋อสีว์ออกจากหน้มที่ปราบฝิ่นตามคำขู่ของอังกฤษ จากนั้นแต่งตั้ง ฉีซั่น ไปเจรจากับอังกฤษที่ก่วงโจว โดยยอมทำสัญญา ชวนปี๋ เพื่อยกเกาะฮ่องกง เปิดเมืองก่วงโจว ชดใช้ค่าฝิ่น พระเจ้าเต้ากวงไม่พอพระทัยกับสัญญานี้ จึงปลดฉีซั่นออกจากตำแหน่ง แล้วส่ง อี้ซาน ไปทำสงครามกับอังกฤษ ต่อมาต้องยอมแพ้เมื่อต่อต้านกองทัพอังกฤษไม่ได้และทหารอังกฤษรุกประชิดเมืองนานกิง ราชสำนักชิงจำต้องยอมรับสนธิสัญญา นานกิง กับอังกฤษเพื่อความอยู่รอดของราชวงศ์

สนธิสัญญานานกิง[แก้]

ปีค.ศ. 1846 รัชศกเต้ากวงปีที่ 22 จีนยอมทำสนธิสัญญาอัปยศฉบับแรกในประวัติศาสตร์จีนกับอังกฤษ เพื่อแลกกับความอยู่รอดของราชสำนักชิง อันมีเนื้อหาโดยสรุป คือ

  1. ยอมชดใช้ค่าฝิ่น และค่าปฏิกรรมสงคราม
  2. ยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษ
  3. เปิดเมืองก่วงโจว เซียะเหมิน ฝูโจว หนิงปัว เซี่ยงไฮ้ เป็นเมืองท่าการค้า
  4. ภาษีสินค้าทั้งขาเข้าและขาออกของพ่อค้าอังกฤษให้เป็นไปตามการเจรจาของสองฝ่าย

ปี ค.ศ. 1847 มีการลงนามในข้อตกลงและอนุสัญญานานกิงฉบับใหม่ โดยกำหนดให้อังกฤษมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คือ ชาวอังกฤษไม่อยู่ใต้กฎหมายของประเทศที่พำนักอาศัย เมื่อกระทำผิดหรือถูกฟ้อง คดีความจะถูกตัดสินพิจารณาคดีโดยกงสุลของประเทศตนเอง และอังกฤษเป็นประเทศที่ได้รับการดูแลเป็นพิเศษ มีผลคือ หากจีนให้สิทธิพิเศษด้านการค้า เดินเรือ ภาษี หรือ การคุ้มครองทางกฎหมายแก่ประเทศใด อังกฤษจักได้รับสิทธิดังกล่าวไปโดยอัตโนมัติ

ผลเสียหายจากสงครามฝิ่น[แก้]

ความพ่ายแพ้ของกองทัพจีนและการตัดสินใจอย่างไม่รอบคอบของประมุขแผ่นดิน กอปรกับความหวาดกลัวจะสูญเสียอำนาจ จึงส่งผลให้ต้องเสียดินแดนแก่ต่างชาติเป็นครั้งแรก หลายชาติเดินตามนโยบายเดียวกับอังกฤษในการบีบคั้นคนจีนและประเทศจีนเพื่อตักตวงผลประโยชน์เต็มที่ จีนต้องสูญเสียอธิปไตยด้านการค้าอย่างสิ้นเชิง จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิงคือ อายสิน จูโล ปูยี