พูดคุย:มัชฌิม

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มัชฌิม เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิคณิตศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ มัชฌิม หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ชื่อบทความ[แก้]

เขาใช้ชื่อนี้กันจริงๆ หรือครับ สงสัย มัชฌิม เนี่ย หรือว่ามาเฉพาะกิจ --Manop | พูดคุย 03:16, 1 กันยายน 2007 (ICT)

ในตำราผมก็เจอหลายเล่มนะครับ ในกูเกิลก็มีการใช้พอๆ กันกับค่าเฉลี่ยครับ (ลองค้นระหว่าง มัชฌิมเลขคณิต กับ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต) อาจด้วยเหตุที่ว่าค่าเฉลี่ยเรียกง่ายกว่าก็เลยติดปากมากกว่า บางคนอ่านมัชฌิม เป็นมัจฉิม --Octahedron80 14:38, 1 กันยายน 2007 (ICT)
ในกูเกิลใช้พอๆ กัน คุณคงดูมาผิดนะครับ :) --Manop | พูดคุย 14:45, 1 กันยายน 2007 (ICT)
752 กับ 895 นี่ไม่พอกันเหรอครับ --Octahedron80 14:47, 1 กันยายน 2007 (ICT)
กูเกิลยี่ห้อไหนครับเนี่ย ของผมได้ 30,000 กับ 380 --Manop | พูดคุย 01:10, 2 กันยายน 2007 (ICT)

มัชฌิม หรือ ค่าเฉลี่ย[แก้]

อย่าเปลี่ยนมัชฌิมเป็นค่าเฉลี่ยครับ มันคนละความหมายกัน --Octahedron80 12:24, 1 กันยายน 2007 (ICT)
ความหมายเดียวกันครับ แต่แค่มันกำกวม --Manop | พูดคุย 12:25, 1 กันยายน 2007 (ICT)
ไม่มีความหมายหลักของค่าเฉลี่ยครับ ค่าเฉลี่ยเป็นชื่อเรียกรวม มัชฌิม (mean) เป็นส่วนหนึ่งของค่าเฉลี่ย คำทับศัพท์ก็ใช้ "มัชฌิม" สำหรับมัชฌิมประเภทต่างๆ เช่น มัชฌิมเลขคณิต (arithmetic mean) และผมก็จับคู่ average ไปกับแนวโน้มสู่ส่วนกลาง (center tendency) ไปแล้ว--Octahedron80 12:29, 1 กันยายน 2007 (ICT)
เห็นราชบัณฑิตสาขาคณิตศาสตร์ให้ศัพท์บัญญัติของคำว่า mean ว่าให้ใช้ มัชฌิม หรือ ค่าเฉลี่ย ก็ได้ไม่ใช่เหรอครับ คงต้องลองอธิบายความแตกต่างระหว่างมัชฌิม กับ ค่าเฉลี่ย ให้เห็นได้ชัดเจนกว่าราชบัณฑิตดูครับจะได้รู้ว่าที่จริง 2 อันนี้มันใช้แทนกันไม่ได้ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 13:15, 1 กันยายน 2007 (ICT)
ถ้าเปลี่ยนเป็นค่าเฉลี่ยทั้งหมดมันจะกระทบต่อเนื้อหาครับ ลองอ่านมัชฌิมดูสิ ความแตกต่างก็มีการอธิบายไว้แล้ว ในการทับศัพท์ผมดูที่สาขา "คณิตศาสตร์" ครับ ไม่ใช่ "ประชากรศาสตร์" ซึ่งในสาขาคณิตศาสตร์แทนด้วยมัชฌิมทั้งหมด --Octahedron80 13:19, 1 กันยายน 2007 (ICT)
ผมว่าผมแจ้งชัดเจนนะครับผมว่าดูจาก สาขาคณิตศาสตร์ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 13:26, 1 กันยายน 2007 (ICT)
คุณลองดูนี่นะครับ ผมไม่ได้ดูแค่ mean คำเดียวนะครับ ในสาขาคณิตศาสตร์
  • arithmetic mean (A.M.) = มัชฌิมเลขคณิต (เอเอ็ม)
  • geometric mean (G.M.) = มัชฌิมเรขาคณิต (จีเอ็ม)
  • harmonic mean (H.M.) = มัชฌิมฮาร์มอนิก (เอชเอ็ม)
ไม่มีคำไหนใช้ค่าเฉลี่ยเลย ถึงมันจะใช้แทนกันได้ก็เถอะ ผมจึงต้องหลีกเลี่ยงการเอาคำที่มีความหมายกำกวมมาตั้งชื่อบทความครับ --Octahedron80 13:30, 1 กันยายน 2007 (ICT)
งงครับว่าหมายถึงอะไร แต่ผมว่าตามที่คุณ ScorpianPK พูดมาก็ตรงนะครับ แปลมาได้ทั้งสองอย่าง ส่วนเนื้อหาก็เห็นอธิบายครับ แต่กำลังรอคุณ Octahedron80 เขียนเสร็จนะครับ เผื่อจะได้ไปดูอ้างอิงตาม ส่วน มัธยฐาน กับ ฐานนิยม ผมว่าไม่มีใครเรียกว่าค่าเฉลี่ยมั้งครับ คงมีแต่เรียกกันเอง --Manop | พูดคุย 13:39, 1 กันยายน 2007 (ICT)
เรากำลังพูดถึงบทความ mean กันเปล่าครับ ผมเพียงตั้งข้อสังเกตถึงการที่ราชบัณฑิตสาขาคณิตศาสตร์บัญญัติให้คำว่า mean ใ้ช้ มัชฌิม หรือ ค่าเฉลี่ย เท่านั้นละครับ เห็นคุณออกตะยืนยันว่ามันต่างกันใช้แทนกันไม่ได้ ก็คงต้องอธิบายความต่างให้กระจ่างชัด จนเราควรละเลยสิ่งที่ราชบัณฑิตบัญญัติไว้ ซึ่งในวิกิพีเดียนี้เราใช้ศัพท์ที่ราชบัณฑิตบัญญัติเป็นหลัก และศัพท์ที่คุณเอามาให้อ่านนั้น ผมไม่รู้ว่าใครบัญญัติ แต่โดยทั่ว ๆ ไปก็ยังมีคนใช้ว่า "ค่าเฉลี่ยเลขคณิต" คับ ผมไม่ได้บอกว่าอันไหนถูกผิด แต่แค่ต้องการการอธิบายที่กระจ่างครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 13:51, 1 กันยายน 2007 (ICT)
"ศัพท์ที่คุณเอามาให้อ่านนั้น ผมไม่รู้ว่าใครบัญญัติ" -> มาจากเว็บเดียวกันแหละครับ ลองค้นดู --Octahedron80 13:54, 1 กันยายน 2007 (ICT)
งั้นคุณออกตะ ก็ยังคงใช้ศัพท์ที่ราชบัณฑิตบัญญัติใช่ไหมครับ งั้นคงจะบอกว่า mean ใช้คำว่า ค่าเฉลี่ย ไม่ได้ก็คงไม่ค่อยถูกต้องแล้วมังครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 14:01, 1 กันยายน 2007 (ICT)
ลองอ่านมัธยฐานเพิ่มเติมไหมครับ มัธยฐานคือค่าเฉลี่ยชนิดหนึ่ง แต่มัธยฐานไม่ใช่มัชฌิม ดังนั้นค่าเฉลี่ยจึงไม่ใช่มัชฌิม และค่าเฉลี่ยเป็น superset ของทั้งมัชฌิมและมัธยฐาน --Octahedron80 14:08, 1 กันยายน 2007 (ICT)
งั้นคงต้องไปบอกราชบัณฑิตนะครับ เพราะเขาให้ใช้ได้ทั้ง 2 คำ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 14:14, 1 กันยายน 2007 (ICT)
ตอบคุณ Octahedron80 นะครับ ผมก็ไปอ่านมาแล้วครับคำว่า "มัธยฐานคือค่าเฉลี่ยชนิดหนึ่ง แต่มัธยฐานไม่ใช่มัชฌิม" ที่คุณเขียนขึ้นมา ทำไมไม่แนะนำให้ไปอ่านข้อความที่คุณไม่ได้เขียนขึ้นมาสนับสนุนความคิดคุณละครับ งง แล้วอีกอย่างคำว่า แนวโน้มสู่ศูนย์กลาง ที่กล่าวไว้ด้านต้น ที่อยู่ในหน้า ค่าเฉลี่ย (แก้ความกำกวม) มีการใช้กันจริงหรือครับ หรือว่าคุณเพิ่งบัญญัติมาใหม่ --Manop | พูดคุย 14:45, 1 กันยายน 2007 (ICT)
"ข้อความที่ผมไม่ได้เขียนขึ้นมา" เชิญดูที่วิกิอังกฤษครับ en:median แล้วดูว่าผมแปลผิดไหม ในประโยคของผม ค่าเฉลี่ยคำแรกผมหมายถึง average ส่วนมัชฌิมคำที่สองหมายถึง mean และเมื่อได้อ่านเนื้อหาแล้วจะทราบว่ามัธยฐานกับมัชฌิมมีวิธีคิดที่แตกต่างกัน จึงสรุปออกมาเป็น "median is an average, but median is not mean" ผมก็แปลเป็นไทยตามเนี้ย --Octahedron80 14:57, 1 กันยายน 2007 (ICT)
แนวโน้มสู่ส่วนกลาง (central tendency) (พิมพ์ผิดครับขอโทษ) ผมก็เอามาจากเว็บราชฯ อีกนั่นแหละ ซึ่งในวิกิอังกฤษมีการยุบรวมระหว่าง ค่าเฉลี่ย (average) กับ แนวโน้มสู่ส่วนกลาง (central tendency) เนื่องจากมีเนื้อหาที่เหมือนกัน (ไปดูได้ในหน้าพูดคุย) ผมจึงเกิดความลังเลว่า ถ้าใช้ "ค่าเฉลี่ย" เป็นชื่อบทความ จะแก้ความกำกวมกันอย่างไร สำหรับบทความไทยเพื่อจับคูระหว่าง en:mean หรือ en:average ดังนั้น ผมจึงใช้ มัชฌิม สำหรับ mean และ แนวโน้มสู่ส่วนกลาง สำหรับ average และให้ ค่าเฉลี่ย เป็นหน้าแก้ความกำกวม หวังว่าคงเข้าใจเหตุผลของผมนะครับ --Octahedron80 14:54, 1 กันยายน 2007 (ICT)
ผมว่าใส่อ้างอิงสำหรับบทความที่เป็นที่ถกเถียงกันท่าจะดีครับ อ้อ ทำไมคุณออกตะ ไม่เขียนบทความเรื่องค่าเฉลี่ยขึ้นมาใหม่เลยล่ะครับ แล้วบอกไปเลยว่ามันคืออะไร อะไรเรียกว่าค่าเฉลี่ย ประกอบด้วยอะไรบ้าง แทนที่จะสร้างเป็นหน้ากำกวม ซึ่งอ่านแล้วผมไม่เห็นว่าจะต้องแก้กำกวม เพราะชื่อมันก็ต่างกันอยู่แล้ว--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 15:11, 1 กันยายน 2007 (ICT)
ก็นั่นแหละเรียกว่าแก้กำกวม - - " ตอนแรกผมก็ทำไว้อยู่แล้ว (ค่าเฉลี่ย) แต่คุณมานพดันเปลี่ยนชื่อบทความ (ค่าเฉลี่ย (แก้ความกำกวม)) ทำให้ ค่าเฉลี่ย ไปชี้ที่ มัชฌิม แทน --Octahedron80 15:18, 1 กันยายน 2007 (ICT)
ผมว่าแก้กำกวมแบบนี้มันจะยิ่งกำกวมครับ เขียนมาเลยดีกว่าครับ ว่าค่าเฉลี่ยมันคืออะไร เพราะเท่าที่เห็นส่วนมากจะแก้กำกวมในบทความที่มีชื่อที่คล้ายกันหรือเหมือนกัน แต่กรณีนี้ ชื่อมันต่างกันอย่างชัดเจน ดังนั้น ไม่ต้องแก้กำกวมแล้วครับ เขียนเป็นบทความ ๆ หนึ่งไปเลย แล้วอธิบายให้ชัดในความเข้าใจของคุณออกตะ ค่าเฉลี่ยมันคืออะไร--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 15:23, 1 กันยายน 2007 (ICT)
เขียนอธิบายไปแล้ว การแก้กำกวมไม่จำเป็นต้องมีแต่รายชื่อหัวข้ออย่างเดียวนี่ --Octahedron80 15:33, 1 กันยายน 2007 (ICT)

ก็เพราะมันยิ่งแก้ยิ่งกำกวมไงครับ ถึงบอกให้เขียนขึ้นมาเลยดีกว่า เพราะผมไม่กำกวมถ้าพูดถึงมัธยฐาน แต่พอมาดูหน้าแก้กำกวม เกิดงงขึ้นมาว่าเอามาแก้กำกวมทำไม ชื่อมันก็ต่างอยู่แล้ว --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 15:44, 1 กันยายน 2007 (ICT)

ผมเปลี่ยนชื่อบทความไม่ได้ครับ คุณมานพเปลี่ยนให้ด้วย (เปลี่ยนจาก "ค่าเฉลี่ย (แก้ความกำกวม)" ไปเป็น "ค่าเฉลี่ย" เฉยๆ) --Octahedron80 15:46, 1 กันยายน 2007 (ICT)
เท่าที่อ่านมาผมว่าปัญหามันอยู่ที่ ค่าเฉลี่ย(mean) กับ ค่าเฉลี่ย(average) ใช่ไหมครับ ที่ทำให้คุณออกตะเลี่ยงไปใช้มัชฌิมแทน ผมว่า ถ้าจะแก้กำกวมจริง ๆ เอาแค่ 2 ตัวนี้มาแก้ดีกว่าครับ นอกนั้น ไม่ได้กำกวมเลยครับ แยกไปเขียนในค่าเฉลี่ยได้ถ้าต้องการครับ ผมไม่ทราบข้อมูลเชิงลึกว่าทางคณิตศาสตร์นั้น mean และ average เหมือนกันไหม แต่ราชบัณฑิตบัญญัติว่าเหมือน และ central tendency นี่ราชบัณฑิตก็ไม่ได้บอกว่าเป็นอันเดียวกับ average เสียด้วย ผมว่าปัญหาทั้งหมดนี้ใส่อ้างอิงเพื่อแก้ปัญหาจะดีที่สุดครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 16:00, 1 กันยายน 2007 (ICT)
ผมเอา "แนวโน้มสู่ส่วนกลาง" ออกก่อนครับเพราะยังไม่รู้ว่ามันจะเป็นอะไร ตอนนี้ให้ ค่าเฉลี่ย จับคู่กับ average ไปก่อน เพราะมันเป็นความหมายทั่วไป (ตามลิงก์ที่ใส่ไว้) แล้วให้มัชฌิมเป็นประเภทย่อยของค่าเฉลี่ย --Octahedron80 16:30, 1 กันยายน 2007 (ICT)
ผมแก้แล้วนะครับ หวังว่าคงถูกใจทุกฝ่าย โดยมี 3 หน้า ได้แก่ (1) mean (2) average และ (3) หน้าที่คำศัพท์บัญญัติแปลแล้วใช้คำเดียวกันคือ "ค่าเฉลี่ย (แก้ความกำกวม) ตอนนี้ก็เหลือแต่ว่า ค่าเฉลี่ย จะให้เปลี่ยนทางไปที่หน้าไหน ระหว่าง (1) หรือ (3) ถ้าเป็น 3 จะได้ย้ายทับหน้านั้น
อีกเรื่องที่ผมงงว่า ที่บอกไว้ว่า คำว่าค่าเฉลี่ย มันกำกวมเลยเลี่ยงไปใช้คำอื่นแทน แต่ตามความเป็นจริงแล้วก็ไม่น่าใช้คำอื่นเพราะมันเป็นคำที่คนทั่วไปเขาใช้กัน แค่ใส่วงเล็บกำหนดไว้ก็จบแล้ว --Manop | พูดคุย 02:09, 2 กันยายน 2007 (ICT)